พิมพ์


พื้นที่แหล่งหญ้าทะเล


        แหล่งหญ้าทะเลในประเทศไทย พบกระจายอยู่ใน 19 จังหวัดชายทะเล มีพื้นที่รวมกันทั้งสิ้นประมาณ 160.582 ตารางกิโลเมตร หรือ 100,073 ไร่โดยแบ่งเป็น

        แหล่งหญ้าทะเลฝั่งอ่าวไทย 13 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึงมีพื้นที่รวมกันประมาณ 53.151 ตร.กม. หรือ 33,219.57 ไร่

        แหล่งหญ้าทะเลฝั่งอันดามัน 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง พังงา ภูก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล มีพื้นที่รวมกันประมาณ 107.431 ตร.กม. หรือ 66,852.97 ไร่

        รายละเอียดเกี่ยวกับหญ้าทะเล [เพิ่มเติม]


        กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเล ได้แก่ พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490  พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522  พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535  พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504  และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 

        แต่กฎหมายเหล่านี้มิได้เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเลโดยตรงเหมือนกับการอนุรักษ์ป่าชายเลนหรือปะการัง


        ปัจจุบันมีพื้นที่คุ้มครองแหล่งหญ้าทะเลในประเทศไทยเพียงจังหวัดเดียวคือ จังหวัดตรัง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ได้มีประกาศจังหวัดตรัง ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2535  เรื่อง กำหนดห้ามใช้เครื่องมือประมงบางชนิดทำการประมงในบริเวณแหล่งหญ้าทะเลภายในพื้นที่ที่กำหนด โดยกำหนดห้ามใช้เครื่องมือประมงประเภทต่างๆ ดังนี้



พื้นที่คุ้มครองแหล่งหญ้าทะเลในระเทศไทย

พื้นที่

ที่ตั้ง

ขนาดพื้นที่

ตร.กม.

ไร่

1. แหลมไทร

จ.ตรัง

0.989

618.26

2. บ้านปากคลอง - ปากผี

จ.ตรง

1.872

1,169.71

3. เกาะมุก

จ.ตรัง

10.759

6,724.4

4. ปากคลองเจ้าไหม

จ.ตรัง

0.566

353.69

5. เกาตะลิบง

จ.ตรัง

19.473

12,170.36

รวมขนาดพื้นที่

33.658

21,036



ที่มา : อนุวัฒน์ นทีวัฒนา,2551. พื้นที่คุ้มครองทางทะเลในประเทศไทย : เป้าหมายปี ค.ศ. 2010/2012 ภายใต้กฎหมายว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ.เอกสารเผยแพร่สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ฉบับที่ 35 กรมทรัพยากรทางทะเลและชาบฝั่ง.239 หน้า