.

สื่อออนไลน์

Search this site

ลงทะเบียน

MKH Update

สถิติการเข้าชม



พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530


ฉบับเต็ม  คลิกที่นี่


         มาตรา 4  ในพระราชบัญญัตินี้

         “ยุทธภัณฑ์” หมายความว่า อาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ สารเคมี สารชีวะ สารรังสี หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่อาจนำไปใช้ในการรบหรือการสงครามได้  ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา ๗

         “สั่งเข้ามา” หมายความว่า สั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยุทธภัณฑ์

         “นำเข้ามา” หมายความว่า นำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยุทธภัณฑ์

         “ผลิต” หมายความว่า ทำ ประกอบ ซ่อมแซม เปลี่ยนลักษณะ ผสม แปรสภาพปรุงแต่ง หรือแบ่งบรรจุซึ่งยุทธภัณฑ์

         “มี” หมายความว่า มีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยุทธภัณฑ์


         มาตรา 15  ห้ามมิให้ผู้ใดสั่งเข้ามา นำเข้ามา ผลิต หรือมีซึ่งยุทธภัณฑ์ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากปลัดกระทรวงกลาโหม

         การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง จะกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตก็ได้

         การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง


         มาตรา 17  ประเภทของใบอนุญาตมีดังนี้

         (1) ใบอนุญาตสั่งเข้ามา

         (2) ใบอนุญาตนำเข้ามา

         (3) ใบอนุญาตผลิต

         (4) ใบอนุญาตมี

         ใบอนุญาตสั่งเข้ามาให้คุ้มกันถึงผู้นำเข้ามาซึ่งยุทธภัณฑ์ตามใบอนุญาตสั่งเข้ามาด้วย


         มาตรา 25  ยานพาหนะใดที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อผ่านไปนอกราชอาณาจักร ถ้ามียุทธภัณฑ์อยู่ในยานพาหนะนั้น เจ้าของ หรือผู้ครอบครองยุทธภัณฑ์ หรือผู้ควบคุมยานพาหนะตามลำดับคนใดคนหนึ่งแล้วแต่กรณี ต้องแจ้งแก่พนักงานศุลกากร ณ ด่านแรกที่มาถึงจากนอกราชอาณาจักร เพื่อควบคุมหรือเก็บรักษายุทธภัณฑ์ไว้จนกว่ายานพาหนะนั้นจะออกไปจากราชอาณาจักร

         ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองยุทธภัณฑ์ หรือผู้ควบคุมยานพาหนะ ไม่มารับยุทธภัณฑ์คืนไปเมื่อยานพาหนะนั้นออกนอกราชอาณาจักร ให้ยุทธภัณฑ์นั้นตกเป็นของรัฐ


         มาตรา 30  ในการปฏิบัติหน้าที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้

         (1) เข้าไปในสถานที่ผลิตยุทธภัณฑ์ระหว่างเวลาทำการ เข้าไปในสถานที่เก็บยุทธภัณฑ์ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือเข้าไปในยานพาหนะที่บรรทุกยุทธภัณฑ์  ทั้งนี้ เพื่อตรวจสอบสถานที่ ยุทธภัณฑ์ ภาชนะบรรจุ สมุดบัญชี เอกสาร หรือสิ่งอื่นใดที่เกี่ยวกับยุทธภัณฑ์นั้น

         (2) นำยุทธภัณฑ์หรือสิ่งอื่นที่ผลิตจากยุทธภัณฑ์ในปริมาณเท่าที่จำเป็นไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบในกรณีที่มีเหตุสงสัย

         (3) ตรวจค้น กัก ยึด หรืออายัดยุทธภัณฑ์ ภาชนะบรรจุ สมุดบัญชี เอกสาร หรือสิ่งอื่นใดที่เกี่ยวกับยุทธภัณฑ์นั้น ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

         (4) สั่งเป็นหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสาร หรือวัตถุใด ๆ มาเพื่อประกอบการพิจารณาได้

         ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร


         มาตรา 34  ยุทธภัณฑ์ที่สั่งเข้ามา นำเข้ามา ผลิต หรือมีโดยฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่






bottom

top

Latest News

Popular


bottom