พิมพ์


รายงานคุณภาพน้ำชายฝั่งแต่ละปี 2545 - 2552


รายงานปี 2552

          คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ดี พอใช้เสื่อมโทรม และเสื่อมโทรมมาก คิดเป็นร้อยละ 5, 51, 34, 5 และ 5 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพน้ำ 2 ปีย้อนหลัง  พบว่า บริเวณที่มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมากแต่ลดลงมาอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง เกาะสีชัง และช่องแสมสาร จังหวัดชลบุรี อ่าวสะพลี หาดทุ่งวัวแล่น หาดทรายรีตอนกลาง จังหวัดชุมพร เกาะสมุย และเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี หาดหินงาม จังหวัดนครศรีธรรมราช หาดสมิหลา จังหวัดสงขลา บ้านบ่อม่วง จังหวัดตรัง บริเวณที่มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้แต่ลดลงมาอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง (ตอนท้าย) จังหวัดชลบุรี และบริเวณที่มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมแต่ลดลงมาอยู่ในเกณฑ์เสื่อม โทรมมาก ได้แก่ ปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ปากแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม และปากแม่น้ำบ้านแหลมด้านกลาง จังหวัดเพชรบุรี


water2552


ที่มา :  กรมควบคุมมลพิษ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ข่าวสารสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 50/2552.

           สืบค้นจาก http://www.pcd.go.th/public/News/GetNewsThai.cfm?task=lt2009&id=16172


รายงานปี 2551

           สถานการณ์คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งทั่วประเทศ ปี 2551 จำนวน 240 สถานีในชายฝั่งทะเล 23 จังหวัด ตรวจวัดคุณภาพน้ำทะเล ในช่วงฤดูเเล้ง (มีนาคม) โดยประเมินจากดัชนีคุณภาพน้ำทะเล พบว่ามีสถานีทีมีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ดี พอใช้ เสื่อมโทรม เเละเสื่อมโทรมมาก ร้อยละ 16, 48, 29, 6 เเละ 1 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพน้ำทะเล 3 ปีย้อนหลัง พบว่าคุณภาพน้ำทะเล ในปี 2551 โดยรวมมีเเนวโน้มดีขึ้น

water2551 


           ปี 2551พบว่าบริเวณที่มีคุณภาพน้ำทะเลดีมากอยู่ในพื้นที่ฝั่งอันดามัน เช่น หาดกะรน เกาะพีพี อ่ามาหยา พื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก เช่น เกาะเสม็ด (อ่าวทับทิม) เเละเกาะสีชัง(สถานีวิจัย , ท่าภาณุรังษี) เเละพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันตก เช่น เกาะสมุย (หาดละไม) เกาะพงัน เเละหาดสมิหลา

           สำหรับบริเวณที่มีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรมมากอยู่ในพื้นท่อ่าวไทยตอนใน ได้เเก่ ปากแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าโรงงานฟอกย้อม กม.35 ปากคลอง 12 ธันวา จังหวัดสมุทรปราการ ปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร เเละบางขุนเทียน กรุงเทพฯ โดยปัญหาที่พบยังคงเป็นปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด ฟีคอลโคลิฟอร์ม เเละเอ็นเทอโรคอกไค ปริมาณสารอาหาร (ไนเทรตเเละฟอสเฟส เเละเหล็กสูงกว่ามาตราฐานคุณภาพน้ำทะเล เละปริมาณออกซิเจนละลายต่ำกว่ามาตราฐานฯ

           สาเหตุที่ทำให้คุณภาพน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบนในมีคุณภาพเสื่อมโทรม เนื่องจากเป็นแหล่งรองรับน้ำจากเเม่น้ำสายหลักบริเวณอ่าวไทยตอนบน รวมทั้งได้รับอิทธิพลโดยตรงจากแหล่งอุตสาหกรรมเเละชุมชนบริเวณปากแม่น้ำเเละ ชายฝั่งซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีการบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมเเละเพียงพอ ทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ทั้งนี้กรมควบคุมมลพิษตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการและแก้ไขคุณภาพน้ำทะเล ให้ดีขึ้น จึงได้ดำเนินการกำหนดมาตรฐานแหล่งกำเนิดมลพิษทั้งบนบกและชายฝั่ง เช่น มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษหลายประเภทในแหล่งชุมชน อาคาร บ้านจัดสรร โรงเเรม รวมทั้งอุตสาหกรรม มาตรฐานควบคุมการระบาย น้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา กิจการแพปลา เพื่อควบคุมปริมาณสารมลพิษที่จะระบายออกสู่แหล่งน้ำ นอกจากกรมควบคุมมลพิษร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่ง เเวดล้อมประเมินคุณภาพสิ่งเเวดล้อมชายหาดเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำข้อเส นอเเนะ เเนวทาง เเละมาตรการในการแก้ไขปัญหาคุณภาพสิ่งเเวดล้อมในเเต่ละพื้นที่ เเละรณรงค์ให้ภาครัฐ เอกชน เเละชุมชนมีส่วนร่วมในการดูเลเเละรักษาชายหาด


ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม.2552.สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2551.หน้า 8-9.


รายงานปี 2550

          จากการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งทั่วประเทศ ปี 2550 พบว่ามีสถานีที่มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ดี พอใช้ เสื่อมโทรม และเสื่อมโทรมาก ร้อยละ 12, 49, 36, 2 และ 1 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพน้ำทะเล 3 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2548-2550 พบว่าคุณภาพน้ำทะเลโดยรวมมีแนวโน้มดีขึ้น โดยคุณภาพน้ำทะเลที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมและเสื่อมโทรมมากลดลงอย่างไรก็ตาม คุณภาพน้ำบริเวณปากแม่น้ำสายหลัก 3 สาย (เจ้าพระยา ท่าจีน และบางปะกง) ยังคงมีสภาพเสื่อมโทรมเหมือนปีที่ผ่านมา ส่วนปากแม่น้ำแม่กลองคุณภาพน้ำดีขึ้น


water2550

            ปี 2550 บริเวณที่มีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรมส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อ่าวไทยตอนใน ได้แก่ บริเวณปากคลอง 12 ธันวา หน้าโรงงานฟอกย้อม กม. 35 ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ปากแม่น้ำท่าจีน และปากแม่น้ำบางปะกง โดยปัญหาที่พบยังคงเป็นปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (TCB) ฟีคอลโคลิฟอร์ม (FCB) เอ็นเทอโรคอกไค ไนเตรท (NO3-) และฟอสเฟต (PO43-) มีค่าสูงกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล และปริมาณออกซิเจนละลาย (DO) ต่ำกว่ามาตรฐานฯ สาเหตุที่ทำให้คุณภาพน้ำทะเลบริเวณนี้มีคุณภาพเสื่อมโทรม เนื่องจากเป็นแหล่งรองรับน้ำเสียโดยตรงจากอุตสาหกรรมและชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีการบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมและเพียงพอ นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก (ตลาดนาเกลือ) และฝั่งอันดามัน (บริเวณหน้าหาดชาญดำริ ปากน้ำระนอง) มีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรม ส่วนพารามิเตอร์อื่นๆ พบสารแขวนลอยและโลหะหนัก (เหล็ก และสังกะสี) มีค่าสูงเกินมาตรฐานฯ ในบางพื้นที่ และบริเวณชายหาดท่องเที่ยว ปากคลอง ปากแม่น้ำ และท่าเทียบเรือ มักพบขยะและคราบน้ำมันลอยอยู่บนผิวน้ำ

ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม.2551.สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2550.หน้า 5.


รายงานปี 2549

           คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งที่ตรวจวัดอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ดี พอใช้ เสื่อมโทรม และเสื่อมโทรมมาก คิดเป็นร้อยละ 16, 50, 24, 7 และ 3 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพน้ำทะเล 3 ปีย้อนหลัง พบว่าคุณภาพน้ำทะเลโดยรวมมีแนวโน้มดีขึ้น โดยคุณภาพน้ำทะเลที่อยู่ในเกณฑ์ดีมากและดีเพิ่มขึ้น ในขณะที่คุณภาพน้ำที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมและเสื่อมโทรมมากยังอยู่ในระดับ เดิม ซึ่งได้แก่บริเวณ ปากคลอง 12 ธันวา และหน้าโรงงานฟอกย้อม กม. 35 จังหวัดสมุทรปราการ


water2549


             ปี 2549 พบว่า บริเวณที่มีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรมอยู่ในพื้นที่อ่าวไทยตอนใน ได้แก่ บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง โดยปัญหาที่พบยังคงเป็นปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด ปริมาณสารอาหารที่มีคุณค่าสูง และปริมาณออกซิเจนละลายน้ำต่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล รวมทั้งแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม และแบคทีเรียกลุ่มเอ็นเทอโรคอกไคที่มีปริมาณสูง พบค่าสูงสุดบริเวณหน้าโรงงานฟอกย้อม กม. 35 สาเหตุที่ทำให้คุณภาพน้ำทะเลบริเวณที่มีคุณภาพเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากได้รับอิทธิพลโดยตรงจากแหล่งอุตสาหกรรม ชุมชนบริเวณปากแม่น้ำ และชายฝั่ง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีการบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมและเพียงพอ นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก (บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง และปากคลองใหญ่) อ่าวไทยฝั่งตะวันตก (บริเวณปากคลองบ้านแหลม) และฝั่งอันดามัน (บริเวณปากคลองท่าจีน บ้านสิเหร่) มีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรม สำหรับภาพรวมคุณภาพน้ำทะเลทั่วประเทศ พบว่า พารามิเตอร์อื่นๆ ได้แก่ สารแขวนลอย และโลหะหนัก (สังกะสี แมงกานีส ทองแดง สารหนู และตะกั่ว) ยังตรวจพบค่าสูงเกินมาตรฐานฯ และมักพบขยะลอยอยู่บนผิวน้ำบริเวณปากคลอง ปากแม่น้ำ และท่าเทียบเรือ รวมถึงคราบน้ำมันที่ตรวจพบหลายพื้นที่


ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม.2550.สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2549.หน้า 5.


รายงานปี 2548

            คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งที่ตรวจวัดได้ ส่วนใหญ่มีแนวโน้มใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา สถานีที่น่าสังเกตคือ บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ปากคลอง 12 ธันวา และหน้าโรงงานฟอกย้อม กม. 35 พื้นที่อ่าวไทยตอนใน ยังคงมีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรม โดยปัญหาที่พบยังคงเป็นปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดมีค่าสูงกว่า มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มฟิคอลโคลิฟอร์ม และแบคทีเรีย Enterococcus sp. มีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล เนื่องจากได้รับอิทธิพลโดยตรงจากแหล่งอุตสาหกรรมชุมชนบริเวณปากแม่น้ำและอุตสาหกรรมชายฝั่ง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีการบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมและเพียงพอ

            นอกจากนี้ในพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออกบริเวณอ่าวชลบุรี ปากน้ำระยอง ปากคลองแกลง อ่าวไทยฝั่งตะวันตก บริเวณปากคลองบ้านแหลม ปากคลองบ้านบางตะบูน และฝั่งอันดามัน หาดชาญดำริปากแม่น้ำระนอง มีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรม สำหรับภาพรวมคุณภาพน้ำทะเลทั่วประเทศ พบว่า ปริมาณโลหะหนัก ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานฯ ยกเว้นแมงกานีส สังกะสี ทองแดง และเหล็ก ที่ยังตรวจพบค่าสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานฯ ทั้งนี้ยังพบขยะพลาสติกลอยอยู่บนผิวน้ำบริเวณปากคลอง ปากแม่น้ำ และท่าเทียบเรือ และมีคราบน้ำมันถูกพบลอยอยู่ทั่วไป


water2548



ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม.2549.สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2548.หน้า 10.


รายงานปี 2547

          พบว่าพื้นที่อ่าวไทยตอนใน ได้แก่ ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลอง 12 ธันวา หน้าโรงงานฟอกย้อม กม. 35 จังหวัดสมุทรปราการ และแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบริเวณที่มีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากเป็นแหล่งรองรับของเสียที่มาจากกินจกรรมต่างๆ ทั้งจากชุมชน อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ส่งผลให้ค่าออกซิเจนละลายต่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งและแบคทีเรีย กลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานฯ นอกจากนั้น ยังพบว่าพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันตก บริเวณปากคลองบ้านแหลม มีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากเป็นแหล่งรองรับของเสียที่มาจากกิจกรรมชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี ส่งผลให้แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน


water2547 


อ่าวไทยตอนใน (บริเวณปากแม่น้ำสายหลัก 4 สาย)

            แม่นํ้าสายหลัก 4 สายได้แก่ แม่นํ้าบางปะกง แม่นํ้าเจ้าพระยา แม่นํ้าแม่กลองและแม่นํ้าท่าจีน ซึ่งส่วนใหญ่มีค่าเป็นไปตามมาตรฐาน ยกเว้นออกซิเจนละลายซึ่งมีค่าตํ่ากว่ามาตรฐานที่บริเวณปากแม่นํ้าเจ้าพระยา ท่าจีน ปากคลอง 12 ธันวา หน้าโรงงานฟอกย้อม กม. 35 และบางขุนเทียน มีค่า 0.7-3.8 มิลลิกรัมต่อลิตร) โดยบริเวณหน้าโรงงานฟอกย้อม กม. 35 มีค่าตํ่าที่สุด ปริมาณสารแขวนลอยมีค่าสูงบริเวณปากแม่นํ้าสายหลัก 4 สาย โดยมีค่า 114.4-914.8 มิลลิกรัมต่อลิตร และบริเวณปากแม่นํ้าเจ้าพระยามีค่าสูงสุด ปริมาณสารอาหารมีค่าสูงมาก โดยพบปริมาณไนเตรท-ไนโตรเจนสูง บริเวณปากแม่นํ้าหลัก 4 สาย โดยมีค่า 100-1,123 ไมโครกรัมต่อลิตร และบริเวณทิศตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยามีค่าสูงสุด ไนไตรท์-ไนโตรเจนมีค่าสูงที่ปากแม่นํ้าท่าจีน เจ้าพระยา ปากคลอง 12 ธันวา หน้าโรงงานฟอกย้อม กม. 35 และบางขุนเทียน โดยมีค่า 69.4-800 ไมโครกรัมต่อลิตร และบริเวณปากแม่นํ้าท่าจีนมีค่าสูงสุด ส่วนแอมโมเนีย-ไนโตรเจนสูงเกินมาตรฐานบริเวณปากคลอง 12 ธันวา หน้าโรงงานฟอกย้อม กม. 35 บางขุนเทียน และปากแม่นํ้าท่าจีน มีค่า 1,028-1,686 ไมโครกรัมต่อลิตร และบริเวณทิศตะวันตกของแม่นํ้าท่าจีนมีค่าสูงสุด ปริมาณฟอสเฟต-ฟอสฟอรัสมีค่าสูงบริเวณปากแม่นํ้าท่าจีน ปากแม่นํ้าเจ้าพระยา ปากคลอง 12 ธันวา และบางขุนเทียน โดยมีค่า 79-253 ไมโครกรัมต่อลิตร และบริเวณทิศตะวันตกของแม่นํ้าท่าจีนมีค่าสูงสุด แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอรม์ ทั้งหมดสูงเกินมาตรฐานบริเวณปากคลอง 12 ธันวา หน้า โรงงานฟอกย้อม กม. 35 ปากแม่นํ้าท่าจีน และแม่กลอง ปากแม่นํ้าบางปะกง โดยมีค่า 1,600-54,000 หน่วย และบริเวณปากคลอง 12 ธันวา มีค่าสูงสุด สำหรับแบคทีเรียชนิด Vibrio parahaemolyticus ซึ่งสามารถทำ ให้เกิดโรคทางเดินอาหารและท้องร่วงนั้น มีค่าสูงบริเวณทิศตะวันตกของแม่นํ้าท่าจีน (380 โคโลนี/มิลลิลิตร) ปริมาณโลหะหนักพบโครเมียมสูงเกินมาตรฐานบริเวณหน้าโรงงานฟอกย้อม กม. 35 มีค่า 140 ไมโครกรัมต่อลิตร และพบแมงกานีสสูงเกินมาตรฐานบริเวณปากแม่นํ้าบางปะกง เจ้าพระยา ท่าจีน ปากคลอง 12 ธันวา หน้าโรงงานฟอกย้อม กม. 35 และบางขุนเทียน มีค่า 110-1,500 ไมโครกรัมต่อลิตร โดยบริเวณปากแม่นํ้าบางปะกงมีค่าสูงสุด และพบเหล็กสูงเกินมาตรฐานบริเวณปากแม่นํ้าบางปะกง เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง ปากคลอง 12 ธันวา และบางขุนเทียน มีค่า 370-21,850 ไมโครกรัมต่อลิตร โดยบริเวณทิศตะวันออกของแม่นํ้าบางปะกงมีค่าสูงสุด ส่วนสารไตรบิวทิลทินพบว่ามีค่าสูงบริเวณปากคลอง 12 ธันวา ที่ระยะ 500 เมตร มีค่า 34 นาโนกรัม/ลิตร และปากแม่นํ้าแม่กลอง มีค่า 43 นาโนกรัม/ลิตร


อ่าวไทยฝั่งตะวันออก

           ส่วนใหญ่มีค่าเป็นไปตามมาตรฐาน ยกเว้นออกซิเจนละลายซึ่งมีค่าตํ่ากว่ามาตรฐานที่บริเวณหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี มีค่า 3.9 มิลลิกรัมต่อลิตร และตลาดนาเกลือ จังหวัดชลบุรี บางพระ เกาะลอยศรีราชา มีค่า 3.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณสารแขวนลอยพบว่ามีค่าสูงบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง หาดบางแสน (โอเชี่ยนเวิลด์) จังหวัดชลบุรี ปากแม่นํ้าพังราด จังหวัดจันทบุรี แหลมศอก จังหวัดตราด และปากคลองใหญ่ จังหวัดตราด โดยมีค่า 401.7-580.7 มิลลิกรัมต่อลิตร และหาดบางแสน (โอเชี่ยนเวิลด์) มีค่าสูงสุด ปริมาณสารอาหารที่พบค่าสูง คือค่าไนเตรท-ไนโตรเจนมีค่าสูงบริเวณปากแม่นํ้าเวฬุ จังหวัดจันทบุรี ปากคลองใหญ่และปากแม่นํ้าตราด-แหลมศอก (บ้านปู) จังหวัดตราด โดยมีค่า 158-179 ไมโครกรัมต่อลิตร และบริเวณปากแม่นํ้าตราด-แหลมศอก (บ้านปู) มีค่าสูงสุด และปริมาณฟอสเฟต-ฟอสฟอรัส มีค่าสูงบริเวณอ่าวชลบุรี บริเวณฟาร์มหอยนางรมอ่าวชลบุรี ท่าเรือแหลมฉบังตอนท้าย จังหวัดชลบุรี บริษัทปุ๋ยบริเวณท่าเรือมาบตาพุด และหาดทรายทอง จังหวัดระยอง โดยมีค่า 105-279 ไมโครกรัมต่อลิตร และบริเวณหาดทรายทองมีค่าสูงสุด ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอรม์ ทั้งหมดสูงเกินมาตรฐานที่อ่าวชลบุรี และฟารม์ เลี้ยงหอยนางรม อ่าวชลบุรี เกาะลอยศรีราชา สะพานปลาอ่าวอุดม ท่าเรือแหลมฉบังตอนท้าย สโมสรเรือใบพัทยา จังหวัดชลบุรี ปากนํ้าระยอง ท่าเรือประมงตลาดบ้านเพ แหลมแม่พิมพ์ จังหวัดระยอง และปากคลองใหญ่ จังหวัดตราด ปากแม่นํ้าประแสร์ ปากแม่นํ้าจันทบุรี ปากแม่นํ้าเวฬุ จังหวัดจันทบุรี แหลมงอบ ปากแม่นํ้าตราด-แหลมศอก (บ้านปู) ปากคลองใหญ่ เกาะช้าง (อ่าวสลักเพชร) เกาะช้าง (อ่าวบางเบ้า) จังหวัดตราด มีค่า 1,100-350,000 หน่วย และบริเวณปากคลองใหญ่มีค่าสูงสุด ซึ่งเป็นบริเวณป่าชายเลน มีชุมชนหมูบ้านชาวประมง อู่ต่อเรือและอู่ซ่อมรถ สำหรับแบคทีเรียกลุ่ม Enterococci พบค่าสูงบริเวณแหลมงอบ จังหวัดตราด มีค่า 540 หน่วย ปริมาณโลหะหนักพบโครเมียมสูงเกินมาตรฐานบริเวณปากคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีค่า 180 ไมโครกรัมต่อลิตร ตะกั่วสูงเกินมาตรฐานบริเวณปากคลองใหญ่ จังหวัดตราด ที่ระยะ 100 เมตร มีค่า 170 ไมโครกรัมต่อลิตร และ 500 เมตร มีค่า 51 ไมโครกรัมต่อลิตร และพบทองแดงสูงเกินมาตรฐานบริเวณปากคลองใหญ่ จังหวัดตราด 100 ไมโครกรัมต่อลิตร และพบแมงกานีสสูงเกินมาตรฐานบริเวณท่าเรืออ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ปากแม่นํ้าพังราด จังหวัดจันทบุรี ปากคลองใหญ่ และปากแม่นํ้าตราด-แหลมศอก จังหวัดตราด มีค่า 110-2,000 ไมโครกรัมต่อลิตร โดยบริเวณปากคลองใหญ่มีค่าสูงสุด และพบเหล็กสูงเกินมาตรฐานบริเวณอ่าวชลบุรี ท่าเรืออ่างศิลา และเกาะลอยศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปากแม่นํ้าประแสร์ ปากแม่นํ้าพังราด และปากแม่นํ้าเวฬุ จังหวัดจันทบุรี ท่าเรือแหลมงอบ ปากคลองใหญ่ ปากแม่นํ้าตราด-แหลมศอกและปากคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีค่า 420-170,000 ไมโครกรัมต่อลิตร โดยบริเวณปากคลองใหญ่มีค่าสูงสุด ส่วนสารไตรบิวทิลทินพบว่ามีค่าสูงบริเวณท่าเรือแหลมฉบังตอนกลาง (11 นาโนกรัม/ลิตร)


อ่าวไทยฝั่งตะวันตก

            ปริมาณสารแขวนลอยมีค่าสูงบริเวณอ่าวประจวบด้านเหนือ หน้าเขาตาม่องล่าย บ้านบ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และปากคลองท่าเคย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีค่า 634.8-860.2 มิลลิกรัมต่อลิตร และบริเวณปากคลองท่าเคย มีค่าสูงสุด ปริมาณสารอาหาร พบค่าไนเตรท-ไนโตรเจนมีค่าสูงบริเวณปากคลองบ้านแหลม (ด้านกลาง) จังหวัดเพชรบุรี อ่าวประจวบฯ ตอนกลาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คลองกระแดะและปากแม่นํ้าตาปี-อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปากแม่นํ้าชุมพรและปากแม่นํ้าหลังสวน จังหวัดชุมพร ปากแม่นํ้าปัตตานี จังหวัดปัตตานี โดยมีค่า 101-1,760 ไมโครกรัมต่อลิตร และบริเวณปากคลองบ้านแหลม มีค่าสูงสุด ซึ่งเป็น บริเวณที่มีการเลี้ยงหอยแครง หอยแมลงภู่ ส่วนปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจนมีค่าสูงเกินมาตรฐาน บริเวณปากนํ้าชุมพร มีค่า 475 ไมโครกรัมต่อลิตร และคลองกระแดะ อำ เภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีค่า 680 ไมโครกรัมต่อลิตร ปริมาณฟอสเฟต-ฟอสฟอรัสมีค่าสูงบริเวณปากคลองบ้านแหลม ด้านกลาง จังหวัดเพชรบุรี มีค่า115 ไมโครกรัมต่อลิตร ปากคลองบ้านบางตะบูน ด้านเหนือ จังหวัดเพชรบุรี มีค่า 125 ไมโครกรัมต่อลิตร ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดสูงเกินมาตรฐานที่ปากคลองบ้านบางตะบูน ด้านใต้ ปากคลองบ้านแหลมบริเวณฟารม์ หอยแมลงภู่ จังหวัดเพชรบุรี ปากแม่น้ำปราณบุรี สะพานปลาหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปากแม่นํ้าชุมพร บ้านบ่อคา (อ่าวค้อ) จังหวัดชุมพร ปากคลองท่าเคย ปากแม่นํ้าตาปี คลองกระแดะ บริเวณฟาร์มเลี้ยงหอยนางรม จังหวัดสุราษฏร์ธานี โรงไฟฟ้าขนอม ปากคลองท่าสูง ปากแม่นํ้าปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และปากแม่นํ้าปัตตานี ปานาแระ ปากแม่นํ้าสายบุรี จังหวัด ปัตตานี มีค่า 1,100-54,000 หน่วย และบริเวณปากแม่นํ้าปัตตานีมีค่าสูงสุด พบปริมาณ V. parahaemolyticus สูงที่ปากคลองบ้านบางตะบูน (ด้านกลาง) มีค่า 110 โคโลนี/มิลลิลิตร ปากคลองบ้านบางตะบูน (ด้านใต้) มีค่า 40 โคโลนี/มิลลิลิตร ปากแม่นํ้าปัตตานี มีค่า 69 โคโลนี/มิลลิลิตร พบแบคทีเรียกลุม่ Enterococci มีค่าสูงบริเวณโรงแรมโซฟิเทล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีค่า 920 หน่วย หาดวังไกลกังวลมีค่า 220 หน่วย และอ่าวหาดริ้น, เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีค่า 350 หน่วย ปริมาณโลหะหนักพบว่าค่าแมงกานีสสูงเกินมาตรฐานบริเวณปากคลองบ้านบางตะบูน และปากคลองบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี หาดสามพระยา,อุทยานเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปากนํ้าชุมพร จังหวัดชุมพร ปากคลองท่าเคย ฟาร์มเลี้ยงหอยปากคลองท่าเคย ปากแม่นํ้าตาปี-อ่าวบ้านดอน และคลองกระแดะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และปากแม่นํ้าปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีค่าไมโครกรัมต่อลิตร โดยบริเวณปากคลองบ้านแหลม (ด้านกลาง) มีค่าสูงสุด และพบเหล็กมีค่าสูงเกินมาตรฐานบริเวณปากคลองบางตะบูนและปากคลองบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี อ่าวประจวบด้านใต้ หาดสามพระยาและปากคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปากแม่นํ้าชุมพรและปากแม่นํ้าหลังสวน จังหวัดชุมพร ปากคลองท่าเคย คลองกระแดะ ตลาดแม่นํ้า และคลองดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี หาดในเพลา ปากคลองท่าสูง และปากแม่นํ้าปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปากทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา และปากแม่นํ้าปัตตานี จังหวัดปัตตานีมีค่า 370-5,200 ไมโครกรัมต่อลิตร โดยบริเวณปากคลองบ้านแหลม (ด้านกลาง) มีค่าสูงสุด 160-950


ฝั่งอันดามัน

              ส่วนใหญ่มีค่าเป็นไปตามมาตรฐาน ยกเว้นปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดสูงเกินมาตรฐานที่หาดชาญดำริ (ปากแม่นํ้าระนอง) จังหวัดระนอง หาดไนยาง หาดป่าตอง หาดกะรน หาดราไวย์ และหาดไนหาน และปากคลองท่าจีน, บ้านเกาะสิเหร่ อ่าวบางโรง จังหวัดภูเก็ต หาดนพรัตน์ธารา แหลมโตนด (เกาะลันตา) บ้านศาลาด่าน (เกาะลันตา) ท่าเรืออ่าวต้นไทร หาดต้นไทร (หน้าต้นไทรวิลเลจ) หาดยาว และเกาะพีพี (หน้าพีพีคาบาน่า) จังหวัดกระบี่ หาดบ้านปากเมง และหาดสำราญ จังหวัดตรัง หาดบ้านปากปารา จังหวัดสตูล โดยมีค่า 1,100-160,000 หน่วย และบริเวณบ้านศาลาด่าน (เกาะลันตา) มีค่าสูงสุด ซึ่งเปน็ บริเวณที่มีหมูบ้านชาวประมง ท่าเทียบเรือทอ่งเที่ยว และบ้าเรือนตลอด แนวชายฝั่ง พบแบคทีเรียกลุ่ม Enterococci บริเวณบ้านศาลาด่าน (เกาะลันตา) ปริมาณ 460 หน่วย และแหลมโตนด (เกาะลันตา) ปริมาณ 170 หน่วย จังหวัดกระบี่ ปริมาณ 460 หน่วย บริเวณหาดราไวย์ (ใต้หมู่บ้านชาวเล): กลาง หาดไนหาน (ตอนกลาง) จังหวัดภูเก็ต ปริมาณ 920 หนว่ ย หาดนพรัตน์ธารา ปริมาณ 130 หน่วย และหาดปากเมง จังหวัดตรัง ปริมาณ 120 หน่วย ปริมาณโลหะหนักพบเหล็กสูงเกินมาตรฐานบริเวณหาดบางเบน จังหวัดระนอง บ้านเขาปิหลาย จังหวัดพังงา ปากคลองท่าจีนจังหวัดภูเก็ต และหาดปากแมง หาดสำ ราญ บ้านบ่อม่วง จังหวัดตรังมีค่า 310-10,000 ไมโครกรัมต่อลิตร โดยบริเวณหาดบางเบนมีค่าสูงสุด ซึ่งเป็นเขตอุทยานแห่งชาติมีหาดทรายยาวและกว้าง ทรายเป็นสีดำ ไม่มีนักท่องเที่ยวจากการเปรียบเทียบข้อมูลปี 2546 และ 2547 พบว่า คุณภาพนํ้ามีแนวโน้มเสื่อมโทรมลง โดยพิจารณาจากคุณภาพนํ้าในเกณฑ์ดีมากของร้อยละสถานีที่เก็บตัวอย่างลดลงจาก 7 เป็น 3 เกณฑ์ดีของร้อยละสถานีที่เก็บตัวอย่างลดลงจาก 61 เป็น 43 เกณฑ์เสื่อมโทรมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3 เป็น 5 และเสื่อมโทรมมากเพิ่มขึ้นจาก 0 เป็น 4 โดยปากแม่นํ้าสายหลัก 4 สาย ยังคงมีสภาพเสื่อมโทรมกว่าพื้นที่อื่นๆ ทั้งนี้ปัญหาที่พบยังคงเปน็ ปริมาณออกซิเจนละลายต่ำ และปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอรม์ทั้งหมดสูงเกินมาตรฐานคุณภาพนํ้าทะเลชาย ฝั่ง นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ที่มีปัญหาคุณภาพนํ้าเสื่อมโทรมมากที่ปากคลองบ้านแหลม (ด้านกลาง) จังหวัดเพชรบุรี โดยมีปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอรม์ทั้งหมดสูงเกินมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชาย ฝั่ง ปริมาณโลหะหนักพบแมงกานีสและเหล็กมีค่าสูงเกินมาตรฐานในหลายพื้นที่โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง บริเวณปากแม่นํ้าต่างๆ ส่วนบริเวณสถานีคลองใหญ่ จังหวัดตราด พบโครเมียม ตะกั่ว ทองแดง แมงกานีส สังกะสี และเหล็กสูงเกินมาตรฐาน ส่วนไตรบิวทิลทินมีค่าสูงในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณที่มีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ และบริเวณที่มีแหล่งอุตสาหกรรม เช่น บริเวณท่าเทียบเรือแหลมฉบัง ท่าภานุรังสี (เกาะสีชัง) ปากคลอง 12 ธันวา ปากแม่นํ้าแม่กลอง ที่มีค่าสูงกว่ามาตรฐานนอกจากนี้ มักพบขยะพลาสติกลอยอยู่บนผิวนํ้าบริเวณปากคลองขนาดเล็ก ปากแม่นํ้าและท่าเทียบเรือประมง และมีคราบนํ้ามันลอยบนผิวนํ้าบริเวณท่าเทียบเรือหรือบริเวณที่มีการสัญจรทาง นํ้าค่อนข้างมาก เช่น ท่าเรือหน้าอำเภอและท่าเรือเฟอรี่ใหม่ เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และหาดต้นไทร เกาะพีพี จังหวัดกระบี่


ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม.2548.สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศ ไทยปี 2547.หน้า 4.


รายงานปี 2546

           สถานีที่มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ดี พอใช้ และเสื่อมโทรมร้อยละ 7, 61, 29 และ 3 ตามลำดับ บริเวณที่มีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรมอยู่ในพื้นที่อ่าวไทยตอนใน ได้แก่ ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และปากคลอง 12 ธันวา (จังหวัดสมุทรปราการ) เนื่องจากเป็นแหล่งรองรับของเสียที่มาจากกิจกรรมต่างๆ บนฝั่ง ทั้งจากกิจกรรมชุมชน อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ส่งผลทำให้ค่าออกซิเจนละลายและแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณปากคลอง 12 ธันวา ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการปล่อยของเสียและสารพิษลงสู่ทะเลมากกว่าพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากมีโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ตั้งอยู่จำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการปนเปื้อนของไตรบิวทิลทิน (Tributyltin: TBT) ที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมในสีทากันเพรียง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนเพศในสัตว์น้ำ ทำให้ระบบนิเวศเสียสมดุล โดยพบว่ามีการปนเปื้อนสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานที่ US EPA และมาตรฐานกลุ่มประเทศอาเซียนกำหนด (ไม่เกินกว่า 10 นาโนกรัม/ลิตร) ในหลายพื้นที่ที่เป็นท่าเทียบเรือขนาดใหญ่

           จากการเปรียบเทียบกับข้อมูลปีที่ผ่านมาพบว่า คุณภาพน้ำมีแนวโน้มเสื่อมโทรมลง เนื่องจากคุณภาพน้ำดีมากและดี ลดลงจากร้อยละ 83 เป็น 68 คุณภาพน้ำในเกณฑ์พอใช้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11 เป็น 29 คุณภาพน้ำในเกณฑ์เสื่อมโทรมลดลงจากร้อยละ 6 เป็น 3 โดยบริเวณปากแม่น้ำสายหลัก 4 สาย ยังคงมีสภาพเสื่อมโทรมมากกว่าพื้นที่อื่นๆ แต่มีสถานีที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมลดลง โดยปัญหาที่พบยังคงเป็นปริมาณออกซิเจนละลายต่ำและปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิ ฟอร์มทั้งหมดมีค่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง (1,000 หน่วย)


 water2546


อ่าวไทยตอนใน (บริเวณปากแม่น้ำสายหลัก 4 สาย)

            ส่วนใหญ่มีค่าเป็นไปตามมาตรฐาน ยกเว้น ออกซิเจนละลายซึ่งมีค่าต่ำกว่ามาตรฐานที่บริเวณปากแม่น้ำท่าจีนและเจ้าพระยา (1.8-3.5 มิลลิกรัมต่อลิตร) และบริเวณคลอง 12 ธันวา ที่มีค่าต่ำที่สุด (0.3 มิลลิกรัม/ลิตร) แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดสูงเกินมาตรฐาน บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน และแม่กลอง (900-16,000 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร (หน่วย)) สำหรับแบคทีเรียชนิด V. parahaemolyticus ซึ่งสามารถทำให้เกิดโรคทางเดินอาหารและท้องร่วงนั้น มีค่าสูงที่ปากแม่น้ำบางปะกง (70 CFU/มิลลิลิตร)สารอาหารทั้งไนโตรเจนและฟอสฟอรัสมีค่าสูงที่ปากแม่น้ำเจ้า พระยา และท่าจีน แมงกานีสสูงเกินมาตรฐานที่บริเวณปากแม่น้ำท่าจีน (162-226 ไมโครกรัมต่อลิตร) ปากคลอง 12 ธันวา (301 ไมโครกรัมต่อลิตร) เจ้าพระยา (102 ไมโครกรัมต่อลิตร) และบางปะกง (369-547 ไมโครกรัมต่อลิตร) และพบโครเมียมเกินมาตรฐานฯ บริเวณปากคลอง 12 ธันวา (161 ไมโครกรัมต่อลิตร) ส่วนการปนเปื้อนยของ TBT พบมีค่าสูงในหลายสถานีที่ปากแม่น้ำแม่กลอง (13-22 นาโนกรัมต่อลิตร) ท่าจีน (17-23 นาโนกรัมต่อลิตร) และเจ้าพระยา (18 นาโนกรัมต่อลิตร) นอกจากนี้พบว่ามีความขุ่นสูงบริเวณปากคลอง 12 ธันวา (97 มิลลิกรัมต่อลิตร) และปากแม่น้ำบางปะกง (79-203 มิลลิกรัมต่อลิตร)


อ่าวไทยฝั่งตะวันออก

           ส่วนใหญ่มีค่าเป็นไปตามมาตรฐาน ยกเว้นค่าออกซิเจนละลายที่บริเวณปากแม่น้ำระยอง (3.1 มิลลิกรัมต่อลิตร) และท่าเรือแหลมงอบ (3.5 มิลลิกรัมต่อลิตร) ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานฯ แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดมีค่าสูงเกินมาตรฐานที่ท่าเรือแหลมฉบัง (1,700-16,000 หน่วย) แหลมงอบ จังหวัดตราด (16,000 หน่วย) แบคทีเรียชนิด Vibrio parahaemolyticus มีค่าสูงที่สุดบริเวณฟาร์มหอยนางรมอ่าวชลบุรี (1,300 CFU ต่อมิลลิลิตร) และอ่างศิลา (3,400 CFU ต่อมิลลิลิตร) ฟอสเฟตสูงบริเวณหาดทรายทอง (58.2 ไมโครกรัมต่อลิตร) แมงกานีสสูงเกินมาตรฐานบริเวณท่าเทียบเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี (581 ไมโครกรัมต่อลิตร) และปากคลองใหญ่ จังหวัดตราด (122 ไมโครกรัมต่อลิตร) เหล็กสูงเกินมาตรฐานบริเวณปากแม่น้ำเวฬุ จังหวัดจันทบุรี (2,500 ไมโครกรัมต่อลิตร) และปากคลองใหญ่ จังหวัดตราด (2,200 ไมโครกรัมต่อลิตร)

           ส่วน TBT ในน้ำทะเล พบว่ามีค่าสูงบริเวณอ่าวชลบุรี (13.2 นาโนกรัมต่อลิตร) อ่าวอุดม (45-52 นาโนกรัมต่อลิตร) ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี (12-43 นาโนกรัมต่อลิตร) และมาบตาพุด จังหวัดระยอง (15 นาโนกรัมต่อลิตร) สารแขวนลอยมีค่าสูงที่ท่าเรือแหลมฉบัง (130 มิลลิกรัมต่อลิตร) ปากแม่น้ำจันทบุรี (123 มิลลิกรัมต่อลิตร) ปากแม่น้ำเวฬุ (112 มิลลิกรัมต่อลิตร) ท่าเรือแหลมงอบ (148 มิลลิกรัมต่อลิตร) และปากคลองใหญ่ (122 มิลลิกรัมต่อลิตร) เนื่องมาจากการกัดเซาะชายฝั่งที่รุนแรง

อ่าวไทยฝั่งตะวันตก

           ส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐาน ยกเว้นแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดสูงเกินมาตรฐาน บริเวณปากคลองบ้านบางตะบูน ปากคลองบ้านแหลม (จ.เพชรบุรี) อ่าวประจวบฯ ตอนกลาง ปากคลองบางสะพานน้อย จ. ประจวบคีรีขันธ์ ปากแม่น้ำชุมพร ปากแม่น้ำหลังสวน จ.ชุมพร ตลาดแม่น้ำ เกาะสมุย อ่าวหาดริ้น เกาะพงัน ปากคลองท่าเคย ปากคลองท่าสูง จ.สุราษฎร์ธานี ปากแม่น้ำปัตตานี (2,400-16,000 หน่วย) และปากคลองบางนรา จ.นราธิวาส แบคทีเรียชนิด V. parahaemolyticus มีค่าสูง บริเวณบ้านบางตะบูน แมงกานีสสูงเกินมาตรฐานบริเวณปากคลองบ้านแหลม (268 ไมโครกรัมต่อลิตร) ปากคลองบ้านบางตะบูน (118 ไมโครกรัมต่อลิตร) ปากคลองบ้านบางสะพานน้อย (142 ไมโครกรัมต่อลิตร) และปากคลองท่าเคย (211 ไมโครกรัมต่อลิตร) เหล็กสูงเกินมาตรฐานเกือบทุกสถานีส่วน TBT ในน้ำทะเล มีการปนเปื้อนสูงมากบริเวณท่าเรือเฟอรี่เกาะสมุย (20 นาโนกรัมต่อลิตร) ปากแม่น้ำหลังสวน (15 นาโนกรัมต่อลิตร) และปากแม่น้ำปัตตานี (14 นาโนกรัมต่อลิตร) นอกจากนี้บางพื้นที่พบว่ามีสารแขวนลอยสูงมาก เช่น ปากคลองท่าเคย (195-406 มิลลิกรัมต่อลิตร) หาดสำเร็จ (235-274 มิลลิกรัมต่อลิตร)


ฝั่งอันดามัน

           ส่วนใหญ่ เป็นไปตามมาตรฐาน ยกเว้นบริเวณหาดชาญดำริ (จ.ระนอง) และหาดไนหาน (จ.ภูเก็ต) พบปริมาณออกซิเจนละลายต่ำกว่ามาตรฐาน (2.8-3.0 มิลลิกรัม/ลิตร) แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดสูงเกินมาตรฐาน (16,000 หน่วย) บริเวณหาดชาญดำริ จ.ระนอง หาดไนยาง ป่าตอง และราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านแหลมสัก จ.พังงา อ่าวต้นไทร เกาะพีพี หาดนพรัตน์ธารา จ.กระบี่ เหล็กสูงเกินมาตรฐานทุกสถานี ส่วนการปนเปื้อนของ TBT ในน้ำทะเลพบว่ามีการปนเปื้อนสูงมากบริเวณท่าเทียบเรือ อ่าวต้นไทร เกาะพีพี จ.กระบี่ (33 นาโนกรัมต่อลิตร) ส่วนปริมาณสารแขวนลอยมีค่า 3-43 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งต่ำกว่าพื้นที่อื่นๆ

ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม.2547.สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2546.หน้า 6.


รายงานปี 2545

          สถานีที่มีคุณภาพน้ำทะเลอยู่ในเกณฑ์ดีมาก 47% ดี 36% พอใช้ 11% และเสื่อมโทรม 6% แต่ยังไม่พบว่ามีสถานีที่มีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรมมาก โดยคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรมอยู่ในพื้นที่อ่าวไทยตอนใน บริเวณปากแม่น้ำสายหลัก 4 สาย บริเวณปากแม่น้ำระยอง จ. ระยอง ปากคลองบ้านแหลม ปากคลองบ้านบางตะบูน จ. เพชรบุรี และปากแม่น้ำปัตตานี จ. ปัตตานี ซึ่งปากแม่น้ำหรือปากคลองเป็นแหล่งรองรับของเสียที่มาจากกิจกรรมต่างๆ เช่น แหล่งชุมชน อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม โดยมีรายละเอียดดังนี้


water2545

อ่าวไทยตอนใน (บริเวณปากแม่น้ำสายหลัก 4 สาย)

          ส่วนใหญ่มีค่าเป็นไปตามมาตรฐาน ยกเว้น ออกซิเจนละลายซึ่งมีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน บริเวณปากแม่น้ำท่าจีนและบางขุนเทียน (3.4-3.9 มิลลิกรัมต่อลิตร) แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดสูงเกินมาตรฐาน บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน และแม่กลอง (1,300-16,000 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร (หน่วย)) และเหล็กสูงเกินมาตรฐาน บริเวณปากแม่น้ำบางปะกงและท่าจีน (324-641 ไมโครกรัมต่อลิตร)

อ่าวไทยฝั่งตะวันออก

          ส่วนใหญ่มีค่าเป็นไปตามมาตรฐาน ยกเว้น แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด ซึ่งมีค่าสูงเกินมาตรฐาน บริเวณศรีราชา ปากแม่น้ำระยองและปากคลองใหญ่ (จ.ตราด) (3,000-9,000 หน่วย) และเหล็กสูงเกินมาตรฐาน บริเวณปากคลองใหญ่ (590 ไมโครกรัมต่อลิตร) นอกจากนี้ได้ตรวจวัด Vibrio parahaemolyticus ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษในบริเวณอ่าวชลบุรี (20-30 CFU ต่อมิลลิลิตร)


อ่าวไทยฝั่งตะวันตก

          ส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐาน ยกเว้น ออกซิเจนละลายซึ่งมีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน บริเวณปากคลองบ้านแหลม (จ.เพชรบุรี) (3.4 มิลลิกรัมต่อลิตร) แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดสูงเกินมาตรฐาน บริเวณปากคลองบ้านบางตะบูน ปากคลองบ้านแหลม (จ.เพชรบุรี) ปากแม่น้ำชุมพร ปากแม่น้ำหลังสวน ปากแม่น้ำปัตตานี (2,400-16,000 หน่วย) และเหล็กสูงเกินมาตรฐาน บริเวณหาดสามพระยา (จ.ประจวบคีรีขันธ์) และปากคลองท่าเคย (จ.สุราษฎร์ธานี) (442-556 ไมโครกรัมต่อลิตร) นอกจากนี้บริเวณแหล่งเลี้ยงหอยที่สำคัญ เช่น ปากคลองบ้านแหลมมีปริมาณแบคทีเรียชนิด V. parahaemolyticus สูง (300 CFU/มิลลิลิตร)

ฝั่งอันดามัน

          ส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐาน ยกเว้นบริเวณหาดชาญดำรี (จ.ระนอง) และหาดไนหาน (จ.ภูเก็ต) พบปริมาณออกซิเจนละลายต่ำกว่ามาตรฐาน (2.8-3.0 มิลลิกรัม/ลิตร) และบริเวณบ้านแหลมสัก (จ.พังงา) พบแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดสูงเกินมาตรฐาน (16,000 หน่วย)


ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม.2546.สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2545.หน้า 4.