พิมพ์

 

 

ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวในทะเลไทย 

 

      ปะการังฟอกขาว เป็นสภาวะที่ปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลล์เดียว (Zooxanthellae) ที่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของปะการังแบบพึ่งพากัน (Symbiosis) ทำให้ปะการังอ่อนแอเพราะไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และอาจตายถ้าไม่สามารถทนต่อสภาวะนี้ได้ (สีของปะการังเกิดจากรงควัตถุของสาหร่ายเซลล์เดียว) 

      การเกิดสภาวะปะการังฟอกขาวเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการฟอกขาวเป็นวงกว้างคือ อุณหภูมืน้ำทะเลที่สูงขึ้นอย่างผิดปกติ ในอดีตมีรายงานการเกิดปะการังฟอกขาวเช่นนี้ในปี พ.ศ.2534 2538 2541 2546 2548 และ 2550

 

รายงานเบื้องต้นผลกระทบจากการเกิดปะการังฟอกขาวปี 2553 บริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต และกระบี่

โดย กลุ่มชีววิทยาและนิเวศวิทยาทางทะเลและชายฝั่ง สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน

      ในปี 2553 เป็นปีที่พบแนวปะการังเสียหายมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ เกิดจากอุณภูมิน้ำทะเลที่เริ่มสูงขึ้นจากปกติ 29 องศาเซลเซียส ได้เริ่มสูงขึ้นเป็น 30 องศาเซลเซียสตอนปลายเดือนมีนาคม ส่งผลให้เกิดสภาวะปะการังฟอกขาวเป็นพื้นที่วงกว้างคลุมทะเลทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย 

       จากการสำรวจของหลายหน่วยงาน พบว่าในแต่ละพื้นที่มีประการังฟอกขาวมากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดปะการังที่ขึ้นครอบคลุมพื้นที่นั้น (Dominant group) ปะการังเขากวางเป็นกลุ่มที่ไวต่อการฟอกขาวที่สุด ถ้าพื้นที่ใดพบปะการังชนิดนี้ปกคลุมมาก พื้นที่นั้นจะได้รับผลกระทบมากด้วย และการฟอกขาวขึ้นอยู่กับแนวชายฝั่งที่ปะการังขึ้นอยู่ แนวชายฝั่งที่ได็รับอืทธิพลจากกระแสน้ำ มีการเคลื่อนไหวของมากน้ำมาก (ด้านตะวันตกของเกาะต่างๆ ในทะเลอันดามัน) จะได้รับผลกระทบน้อยกว่าบริเวณที่การเคลื่อนไหวของมวลน้ำน้อย 

       ประมาณภาพรวมทั่วประเทศ พบว่าปะการังแต่ละแห่งฟอกขาวมากถึงร้อยละ 30-95 ปะการังเกือบทุกชนิดฟอกขาวหมด ยกเว้น 3-4 ชนิด เช่น ปะการังสีน้ำเงิน (Heliopora coerulea) ปะการังลาบดอกไม้ (Pavona decussata) และปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora)

 

สถานที่
% ปกคลุมพื้นที่ของปะการังที่มีชีวิต
% การตาย
ก่อนฟอกขาว หลังฟอกขาว
หมู่เกาะสุรินทร์      
เกาะสต็อค 35 7.4 78.9
เกาะสุรินทร์เหนือ หน้าช่องแคบ ตอนใน 50.3 3.2 93.6
เกาะสุรินทร์เหนือ อ่าวแม่ยายทิศเหนือ 80 0.1 99.9
เกาะสุรินทร์เหนือ อ่าวทรายแดง 34.7 8.4 75.8
เกาะสุรินทร์เหนือ อ่าวไม้งาม 50 12.5 75.0
เกาะสุรินทร์ใต้ ฝั่งตะวันออก(อ่าวเต่า) 73.2 11 85.0
เกาะปาชุมบา ตะวันออกเฉียงเหนือ 22 1.1 95.0
เกาะตอรินลา ตะวันออกเฉียงใต้ 22.5 4.7 79.1
เกาะตาชัย ตะวันออกเฉียงใต้ 53.9 8.6 84.0
หมู่เกาะสิมิลัน      
เกาะสิมิลัน ตะวันออก หน้าประภาคาร 57.8 6.2 89.3
เกาะสิมิลัน เวิ้งอ่าวตะวันตก 28.1 11.1 60.5
เกาะบางู ทิศใต้ 16.6 6.5 60.8
เกาะปายู ตะวันออกเฉียงเหนือ 39.8 29.5 25.9
เกาะปายู เวิ้งอ่าวตะวันตก 29.3 14.8 49.5
เกาะตาชัย ตะวันออกเฉียงใต้ 53.9 8.6 84.0
หมู่เกาะพีพีและเกาะใกล้เคียง      
อ่าวหยงกาเส็ม เกาะพีพีดอน 40 19.4 51.5
อ่าวลาน้า เกาะพีพีดอน 19.4 12.7 34.5
แหลมตง เกาะพีพีดอน 51.7 32.8 36.6
อ่าวต้นไทร ตะวันตก 61 3.1 94.9
เกาะยูง 58.9 6.8 88.5
เกาะไผ่ ตะวันออก 67.4 22 67.4
เกาะไผ่ ตะวันตกเฉียงใต้ 36.5 14.9 59.2
เกาะไข่นอก 50.2 15.8 68.5
เกาะบริวารของเกาะภูเก็ต      
เกาะแอว ตะวันตกเฉียงเหนือ 61.7 18.6 69.9
เกาะราชาใหญ่ ตะวันออกตอนบน 33.3 20.5 38.4
เกาะราชาใหญ่ ตะวันออกตอนกลาง 25.3 17.5 30.8
เกาะราชาใหญ่ อ่าวทิศเหนือ 42.3 1.4 96.7
เกาะราชาใหญ่ อ่าวตะวันตก 61 66.3

-


หมายเหตุ
: 1) แปลงสำรวจเป็นแปลงขนาดยาว 100 เมตร อยู่บนโซนลาดชัน (reef slope) ณ ความลึกที่แตกต่างกันไปในแต่ละแห่ง (เฉลี่ย 3-10 เมตร)

                2) ข้อมูลก่อนการฟอกขาว สำรวจในช่วงต้นปี 2553 (ยกเว้นกลุ่มเกาะสิมิลันสำรวจในปลายปี 2550) ข้อมูลหลังการฟอกขาวสำรวจในช่วงปลายปี 2553

ที่มา : กลุ่มชีววิทยาและนิเวศวิทยาทางทะเลและชายฝั่ง. รายงานเบื้องต้นผลกระทบจากการเกิดปะการังฟอกขาวปี 2553 บริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต และกระบี่

 

สถานการณ์ปะการังฟอกขาวโดยรวม ปี 2561
 
สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน ได้ติดตามสถานการณ์อุณหภูมิน้ำทะเลในช่วงที่มีการฟอกขาว (เมษายน-พฤษภาคม) โดยใช้ข้อมูลของ  National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) พบว่าอุณหภูมิน้ำทะเลมีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่ประมาณสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม 2561 เป็นต้นมา สาเหตุของการฟอกขาวดังกล่าวเกิดจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย ประกอบกับความล่าช้าของการเกิดลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ซึ่งปกติจะต้องเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม) ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงอยู่เป็นเวลานาน และมีปริมาณแสงที่ค่อนข้างมากในช่วงฤดูร้อนจนทำให้ปะการังเริ่มเกิดการฟอกขาวได้ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พบว่ามวลน้ำที่มีอุณหภูมิสูงทางฝั่งทะเลอันดามันได้เคลื่อนขึ้นไปทางตอนบนของอ่าวเบงกอล และมีสัญญาณบ่งชี้การเกิดมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ขึ้นในเวลาอันใกล้ ซึ่งจะทำให้น้ำทะเลมีอุณหภูมิลดลง ดังนั้นสถานการณ์ปะการังฟอกขาวในขณะนี้จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบรุนแรงแต่อย่างใด (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2561)

 

 

การประเมินผลกระทบจากปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวต่อแนวปะการังบริเวณหมู่เกาะอาดังราวี อุทยานแห่งชาติตะรุเตา

โดย ศรีสกุล ภิรมย์วรากร  Jame D. True และ ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง

       การสำรวจประเมินสภาพแนวปะการังภายหลังปรากฎการณ์ฟอกขาว ดำเนินการในระหว่างวันที่ 7 - 9 ธันวาคม 2553 ซึ่งเป็นช่วงที่อุณหภูมิน้ำทะเลลดลงจากชาวงที่ร้อนที่สุด (เมษายน - มิถุนายน) มาแล้วหลายเดือน ทำการสำรวจพื้นที่แนวปะการังทั้งหมด 10 แนว (รูปที่...) สภาพโดยรวมพบว่ามีปะการังแข็งตายจากการฟอกขาวเฉลี่ยเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่แนวปะการังทั้งหมด กลุ่มปะการังแข็งที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ กลุ่มปะการังเขากวาง โดยเฉพาะชนิดที่มีรูปทรงโต๊ะและรูปทรงกิ่ง ปะการังมีชีวิตที่พบส่วนใหญ่หยุดการฟอกขาว (มีสีกลับคืนมาแล้ว) มีเพียงร้อยละ 5 ของปะการังมีชีวิตที่เกิดการฟอกขาว ปะการังที่พบเห็นการฟอกขาวส่วนใหญ่เป็นปะการังรูปทรงก้อน เช่น ปะการังสมอง (Symphylia sp. และ Lobophyllia sp.) ปะการังสมองร่องเล็ก (Platygyra spp.) และปะการังวงแหวน (Favia spp.) เป็นต้น

        การสำรวจประเมินสภาพแนวปะการังในบริเวณหมู่เกาะอาดังราวี พบความแตกต่างในแต่ละแนวปะการัง ดังต่อไปนี้

 

แนวปะการัง
% ครอบคลุมพื้นที่และลักษณะ
ผลกระทบจากปรากฎการณ์ฟอกขาว
แนวโน้มการฟื้นตัว
ปะการังเป็น ปะการังตาย1

1. อ่าวแม่หม้าย (ทิศตะวันออกของเกาะอาดัง)

 

 

55 % 

ชนิดเด่น : ปะการังโขด (P.lutea)

ชนิดที่พบมาก : ปะการังสมอง (Lobophyllia sp.)

30 %

พื้นที่ปะการังต่ยจากการฟอกขาวเฉลี่ยโดยรวมประมาณ 20 %

 

ปะการังที่ตายจากการฟอกขาวส่วนใหญ่เป็นกลุ่มปะการังโขด และปะการังเขากวาง ปะการังที่ยังมีอาการฟอกขาวอยู่บางโคโลนีได้แก่ ปะการังสมอง และปะการังวงแหวน

มีแนวโน้มสามารถฟื้นตัวได้ตามธรรมชาติ ลักษณะแนวมีความลาดชันน้อยแต่น่าจะมีการไหลเวียนของกระแสน้ำที่ดีพอสมควร ยังพบปะการังเขากวางและปะการังที่มีอายุน้อย ในบริเวณระดับความลึกประมาณ 7-8 เมตร

2. อ่าวสอง (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะอาดัง)

 

55 %

ชนิดเด่น : ปะการังโขด (P.lutea)

ชนิดที่พบมาก : ปะการังสมอง (Lobophyllia sp.)

ชนิดที่พบทั่วไป : กลุ่มปะการังเห็ด (Fungia spp.,Herpolitha sp.) ปะการังลูกโป่ง (Physogyra sp.,Plerogyra sp.) ปะการังสมอง (Symphyllia sp.) และ Diploastrea sp.

35 %

พื้นที่ปะการังต่ยจากการฟอกขาวเฉลี่ยโดยรวมประมาณ 25 %

ปะการังตายส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณน้ำตื้นที่ความลึกไม่เกิน 4 - 5 เมตร ปะการังที่ที่จากการฟอกขาวส่วนใหญ๋เป็นปะการังสมอง ปะการะงเขากวาง ปะการังลูกฟูก และปะการังแผ่นเปลวไฟ 

ปะการังที่มีอาการฟอกขาวอยู่ได้แก่ Symphyllia sp. , Platygyra sp. และ Goniastrea sp.

มีแนวโน้มสามารถฟื้นตัวได้ตามธรรมชาติ พบปะการังที่มีอายุไม่เกิน 3 ปี ขนาดเล็กจำนวนมาก และการตายที่พบส่วนใหญ่เป็นการตายบางส่วนของโคโลนี (ส่วนที่ยังมีชีวิตมีโอกาสเจริญเติบโตต่อไป) อย่างไรก็ตามโครงสร้างสังคมปะการังแข็ง อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะบริเวณน้ำตื้นความลึกประมาณ 3-5 เมตร

3. หาดทรายขาว (ทิศตะวันออกของเกาะราวี)

30 %

ชนิดเด่น : ปะการังโขด (P.lutea) และปะการังสมอง (Lobophyllia sp.)

ชนิดที่พบมาก : ปะการังเห็ด (Fungia spp.) และปะการังลูกโป่ง (Physogyra sp.) 

ชนิดที่พบทั่วไป : ปะการังแผ่นเปลวไฟ (Pectinia sp.) และ Herpolitha sp.

55 %

พื้นที่ปะการังต่ยจากการฟอกขาวเฉลี่ยโดยรวมประมาณ 40 %

ปะการังตายส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณน้ำตื้นจนมาถึงแนวสันปะการังซึ่งเป็นบริเวณที่มีความหลากหลายของปะการังสูงกว่าในบริเวณลึก ปะการังที่ตายส่วนใหญ่เป็นกลุ่มปะการังเขากวาง ทั้งรูปทรงโต๊ะและทรงกิ่ง (ประมาณ 80% ของปะการังเขากวางทั้งหมด) ปะการังโขด และปะการังสมอง อาจฟื้นตัวได้ช้าในปะการังบางกลุ่ม เช่นกลุ่มปะการังเขากวาง และกลุ่มปะการังก้อนในครอบครัว Faviidae เพราะมีการตายสูง ทั้งสองกลุ่มนี้ต้องอาศัยตัวอ่อนปะการังจากแนวปะการังบริเวณอื่น เข้ามาลงเกาะและเติบโตต่อไป ในสภาพปัจจุบันพบปะการังขนาดโคโลนีเล็ก (อายุไม่เกิน 3 ปี) จำนวนน้อยมาก และมีปริมาณสาหร่ายค่อนข้างมาก
4. ทิศใต้ของเกาะยาง

25 %

ชนิดเด่น : ปะการังโขด (P.lutea) และ Echinopora sp.

 

10 %

พื้นที่ปะการังต่ยจากการฟอกขาวเฉลี่ยโดยรวมประมาณ 10 %

 

ได้รับผลกระทบและเกิดการตายน้อย ปะการังโขดมีการตายเพียงบางส่วน และปะการัง Echinopora sp. ยังสมบูรณ์ไม่พบการตายบางส่วน -
5. ทิศเหนือของเกาะหินงาม

50 %

ชนิดเด่น : ปะการังโขด P.lutea และ P.rus

 

25 %

พื้นที่ปะการังต่ยจากการฟอกขาวเฉลี่ยโดยรวมประมาณ 15 %

ปะการังที่ตายจากการฟอกขาว ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มปะการังเขากวาง (ประมาณ 70% ของประชากรปะการังเขากวางทั้งหมด แต่ไม่กินพื้นที่มากเพราะส่วนใหญ่เป็นปะการังเขากวางชนิดรูปทรงพุ่ม) กลุ่มปะการังสมอง (Lobophyllia sp,Symphyllia sp.) และ Portes rus, Goniastrea sp. ปะการังที่ยังมีอาการฟอกขาวอยู่ได้แก่ ปะการังวงแหวน ปะการังสมองร่องเล็ก การฟื้นตัวอาจเป็นไปได้ช้าในปะการังบางกลุ่ม เช่น กลุ่มปะการังเขากวางและกลุ่มปะการังก้อนในครอบครัว Faviidae เพราะมีการตายสูง ทั้งสองกลุ่มนี้ต้องอาศัยตัวอ่อนจากแนวปะการังอื่นเข้ามาลงเกาะและเติบโตต่อไป ส่วน Porites rus และกลุ่มปะการังสมอง แม้จะมีการตายสูงแต่ยังมีจำนวนเหลือรอดมาก ในสภาพปัจจุบันแทบไม่พบปะการังขนาดโคโลนีเล็ก (อายุไม่เกิน 3 ปี) บ่งชี้ว่าบริเวณนี้อาจมีอัตราการเพิ่มปะชากรจ่ำโดยธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้แนวโน้มกาฟื้นตัวโดยรวมต่ำ
6. ทิศใต้ของเกาะหินงาม

40 %

ชนิดเด่น : ปะการังโขด (P.lutea)

ชนิดที่พบมาก : ปะการังโขด(P.rus)

ชนิดที่พบทั่วไป : Pachyseris sp. ,Diploastrea sp. ,Hydnophora sp.

40 %

พื้นที่ปะการังต่ยจากการฟอกขาวเฉลี่ยโดยรวมประมาณ 30 %

ปะการังที่ตายจากการฟอกขาวส่วนใหญ่เป็นกลุ่มปะการังโขด และปะการังเขากวางในบริเวณน้ำตื้น มีแนวโน้มสามารถฟื้นตัวได้ตามธรรมชาติ พบปะการังมีอายุไม่เกิน 3 ปี ขนาดเล็กจำนวนมาก แม้ว่าจะมีพื้นที่ปะการังตายจากการฟอกขาวค่อนข้างสูงซึ่งส่วนใหญ่เป็นปะการังโขด แต่ยังมีจำนวนโคโลนีของปะการังโขดจำนวนมาก และการตายของปะการังเขากวางเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปะการังแต่ละชนิด (ทุกชนิดยังมีโคโลนีที่เหลือรอด)
7. ด้านทิศตะวันตกของอ่าวพัทยา หรืออ่าวบันดาหยา เกาะหลีเป๊ะ

30 %

ชนิดเด่น : ปะการังโขด (P.lutea)

 

30 %

พื้นที่ปะการังต่ยจากการฟอกขาวเฉลี่ยโดยรวมประมาณ 10 %

ปะการังที่ตายจากการฟอกขาวส่วนใหญ่เป็นปะการังเขากวาง (รูปทรงโต๊ะ) และบางส่วนของปะการังโขด อาจสามารถฟื้นตัวได้ตามธรรมชาติ เนื่องจากเป็นการตายเพียงบางส่วนของประชากร (ยังมีปะการังเขากวางแผ่นโต๊ะและปะการังเขากวางทรงพุ่มเหลือรอดจำนวนหนึ่ง)
8. ทิศเหนือของเกาะบาตวงหรือเกาะตง (ฝั่งตะวันตกของเกาะผึ้ง)

35 %

ชนิดเด่น : ปะการังโขด (P.lutea)

ชนิดที่พบมาก : ปะการังสมอง (Lobophyllia sp.) ปะการังลูกโป่ง (Physogyra sp.,Plerogyra sp.)

ชนิดที่พบทั่วไป : Herpolitha sp. และ Diploastrea sp.

50 %

พื้นที่ปะการังต่ยจากการฟอกขาวเฉลี่ยโดยรวมประมาณ 40 %

ปะการังที่ตายจากการฟอกขาวส่วนใหญ่เป็นปะการังโขดและปะการังสมอง และปะการังเขากวางรูปทรงโต๊ะและรูปทรงกิ่ง มีแนวโน้มสามารถฟื้นตัวได้ตามธรรมชาติ พบปะการังขนาดเล็กที่มีอายุไม่เกิน 3 ปีจำนวนมาก

9. ทิศใต้ของเกาะบาตวงหรือเกาะดง (เยื้องเกาะลอกวย)

 

 

50 %

ชนิดเด่น : ปะการังโขด (P.lutea) และปะการังสีน้ำเงิน (Heliopora sp.) 

ชนิดที่พบมาก : ปะการังลูกโป่ง(Plerogyra sp.) และ Psammocora sp.

 

30 %

พื้นที่ปะการังต่ยจากการฟอกขาวเฉลี่ยโดยรวมประมาณ 20 %

ปะการังที่ตายจากการฟอกขาวส่วนใหญ่เป็นกลุ่มปะการังโขด และปะการังเขากวาง (ประมาณร้อยละ 60 ของปะการังเขากวางทั้งหมด) มีแนวโน้มสามารถฟื้นตัวได้ตามธรรมชาติ พบปะการังขนาดเล็กที่มีอายุไม่เกิน 3 ปีจำนวนมาก

10. บริเวณกองหินใต้น้ำ เกาะหินซ้อน

 

 

 

30 %

ชนิดเด่น : ปะการังโขด (P.lutea)

10 %

พื้นที่ปะการังต่ยจากการฟอกขาวเฉลี่ยโดยรวมประมาณ 10 %

ปะการังที่ตายจากการฟอกขาวส่วนใหญ่เป็นกลุ่มปะการังโขด และปะการังเขากวางทรงพุ่ม เช่น Acropora humilis ทีอยู่บนหินทางด้านเกาะหินซ้อน บริเวณกองหินใต้น้ำมีการตายน้อยมาก (น้อยกว่าร้อยละ 5) สามารถฟื้นตัวได้ตามธรรมชาติ เนื่องจากในบริเวณใกล้เคียงยังพอมีปะการังมีชีวิตหลงเหลืออยู่มาก

หมายเหตุ1 ปะการังตาย ไมรวมเศษซากปะการังที่แตกหัก (fragments)