.

สื่อออนไลน์

Search this site

ลงทะเบียน

MKH Update

สถิติการเข้าชม



อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง

(Convention on the Territorial Sea and the Contiguous Zone)


ฉบับองค์การสหประชาชาติ คลิกที่นี่


    อนุสัญญาฉบับนี้ มีบทบัญญัติว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่องในทะเล ทะเลอาณาเขต สิทธิการผ่านโดยสุริต การกำหนดเส้นฐานเพื่อใช้เป็นแนวฐานของการกำหนดขอบเขตของทะเลอาณาเขต คำนิยามของ"อ่าว" "ช่องแคบ" แต่อนุสัญญาฉบับนี้ยังมิสามารถกำหนดขอบเขตของทะเลอาณาเขตที่ชัดเจนได้ แต่มีข้อยุติกำหนดให้มีขอบเขตของทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่องได้ไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล

    สาระสำคัญโดยสังเขปของอนุสัญญาฯ มีดังนี้


ทะเลอาณาเขต (Territorial Sea) และอำนาจอธิปไตย (Sovereignty) 

    อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือทะเลอาณาเขต หมายถึง อำนาจที่รัฐสมารถบังคับใช้กฎหมายภายในของตนได้โดยสมบูรณ์ เช่นเดียวกับการใช้กฎหมายบนแผ่นดินและน่านน้ำภายใน 


     “อำนาจอธิปไตยของรัฐขยายต่อออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในของรัฐ จนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่งของตนที่เรียกว่าทะเลอาณาเขต (ข้อ 1 วรรค 1)”


     “อำนาจอธิปไตยนี้ขยายไปถึงห้วงอวกาศเหนือทะเลอาณาเขต ตลอดจนพื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของทะเลอาณาเขต (ข้อ 2 วรรค 1)”


     “(ภายในบังคับแห่งบทของข้อเหล่านี้) เรือของรัฐทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นรัฐชายฝั่งหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีสิทธิการผ่านโดยสุจริตในทะเลอาณาเขต (ข้อ 14 วรรค 1)”



การผ่านโดยสุจริต (Innocent passage)


     การผ่านโดยสุจริต หมายถึง “การเดินเรือผ่านทะเลอาณาเขตโดยไม่ผ่านเข้าไปในน่านน้ำภายใน หรือจะออกจากน่านน้ำภายในไปยังทะเลหลวง (ข้อ 14 วรรค 2)”


     “การผ่าน (จะต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว) รวมถึงการหยุดเรือหรือทอดสมอที่จำเป็นต้องกระทำโดยเหตุสุดวิสัยหรือทุกขภัย (ข้อ 14 วรรค 3)”


     “การผ่านจะเป็นโดยสุจริตตราบเท่าที่ไม่เป็นการเสื่อมเสียต่อสันติภาพ ความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงของรัฐชายฝั่ง (ข้อ 14 วรรค 4)”



เขตต่อเนื่อง (Contiguous Zone)


     “เขตต่อเนื่องมิอาจขยายเกินกว่า 12 ไมล์ นับจากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต (ข้อ 24 วรรค 2)”


     “รัฐชายฝั่งอาจดำเนินการควบคุมตามความจำเป็นเพื่อป้องกันและลงโทษการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร (customs) การรัษฎากร (fiscal) การเข้าเมือง (immigration) หรือการอนามัย (sanitary) ซึ่งได้กระทำภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของตน (ข้อ 24 วรรค 1)”



เส้นฐานปกติ (Normal Baseline)


     “เส้นฐานปกติ (normal baseline) สำหรับวัดความกว้างทะเลอาณาเขต ได้แก่ แนวน้ำลดตลอดฝั่งทะเลที่ได้หมายไว้ในแผนที่ซึ่งใช้มาตราส่วนขนาดใหญ่ที่รัฐชายฝั่งยอมรับนับถือเป็นทางการ (ข้อ 3)”

     “รัฐชายฝั่งอาจกำหนดเส้นฐานในแต่ละกรณีโดยใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งที่บัญญัติไว้ เพื่อให้เหมาะสมกับเงื่อนไขที่แตกต่างกันก็ได้ (ข้อ 14)”



เส้นฐานตรง (Straight Baselines)


     “ในท้องถิ่นที่แนวฝั่งทะเลเว้าแหว่งและตัดลึกเข้ามา หรือถ้ามีเกาะเป็นแนวตามฝั่งทะเลในบริเวณที่ใกล้เคียงติดต่อกัน วิธีการลากเส้นฐานตรงเชื่อมจุดที่เหมาะสม อาจนำมาใช้ในการลากเส้นฐานสำหรับความกว้างของทะเลอาณาเขต (ข้อ 4 วรรค 1)”

    

Department of the navy. The commander's handbook on the law of naval operations, ed.July 2007.

     “การลากเส้นฐานเช่นว่านั้นจะต้องไม่หักเหไปจากแนวชายฝั่งทะเลโดยทั่วไปจนเกินสมควร (ข้อ 4 วรรค 2)”


     “ต้องไม่ลากเส้นไปยังและพื้นที่ที่อยู่ระดับน้ำขณะน้ำลด เว้นแต่จะได้สร้างประภาคารหรือสิ่งก่อตั้งที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลอย่างถาวรไว้บนที่นั้น (ข้อ 4 วรรค 3)”


     “เส้นฐานตรงต้องไม่ใช้ในทำนองปิดกั้นทะเลอาณาเขตของอีกรัฐหนึ่งจากทะเลหลวง(ข้อ 4 วรรค 5)”


     “เส้นฐานตรงจะต้องหมายไว้บนแผนที่อย่างชัดแจ้ง และโฆษณาให้ทราบตามควร(ข้อ 4 วรรค 6)”



น่านน้ำภายใน (Internal Waters)


     “น่านน้ำทางด้านแผ่นดินของเส้นฐานแห่งทะเลอาณาเขตเป็นส่วนหนึ่งของน่านน้ำภายในของรัฐ (ข้อ 5 วรรค 1)”


     “ในกรณีที่การกำหนดเส้นฐานตรง....มีผลเป็นการรวมบริเวณ ซึ่งเดิมเคยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของทะเลอาณาเขตหรือของทะเลหลวงเข้าไว้เป็นน่านน้ำภายใน สิทธิการผ่านโดยสุจริตจะยังคงมีอยู่ในน่านน้ำเหล่านั้น (ข้อ 5 วรรค 2)”



อ่าว (Bays)


     “...อ่าว คือ ส่วนเว้าที่เห็นได้ชัด ซึ่งส่วนเว้าที่เข้ามาได้สัดส่วนกับความกว้างของปากอ่าวจนทำให้มีน่านน้ำที่ล้อมรอบด้วยแผ่นดินและมิได้ประกอบเป็นเพียงความโค้งของฝั่งทะเล  อย่างไรก็ดี มิให้ถือส่วนเว้าว่าเป็นอ่าว เว้นแต่พื้นที่ของส่วนเว้านั้นจะกว้างเท่ากับ หรือกว้างกว่าพื้นที่ครึ่งวงกลมซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็นเส้นที่ลากผ่านปากทางเข้าของส่วนเว้านั้น (ข้อ 7 วรรค 2)”

Department of the navy. The commander's handbook on the law of naval operations, ed.July 2007.

     “...ในกรณีส่วนเว้ามีปากทางเข้ามากกว่าหนึ่งแห่งเนื่องจากมีเกาะอยู่ ให้ลากรูปครึ่งวงกลมบนเส้นซึ่งยาวเท่ากับผลรวมของความยาวของเส้นที่ลากพาดปากทางเข้าต่างๆนั้น (ข้อ 7 วรรค 3)"

Department of the navy. The commander's handbook on the law of naval operations, ed.July 2007.

     “เส้นที่ลากปิดอ่าวซึ่งมีความยาวไม่เกินกว่า 24 ไมล์ และน่านน้ำที่ถูกปิดกั้นอยู่ภายในเส้นนี้ถือว่าเป็นน่านน้ำภายใน (ข้อ 7 วรรค 4)”

Department of the navy. The commander's handbook on the law of naval operations, ed.July 2007.

     “ในกรณีที่เส้นปิดปากอ่าวยาวกว่า 24 ไมล์ ให้ลากเส้นฐานตรงยาว 24 ไมล์ภายในอ่าว ในทำนองที่จะปิดกั้นพื้นที่น้ำอย่างมากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ด้วยเส้นที่มีความยาวเช่นนั้น (ข้อ 7 วรรค 5)”



อ่าวประวัติศาสตร์ (Historic Bay)

    อนุสัญญาฉบับนี้มิได้กำหนดกฎเกณฑ์ของ "อ่าวประวัติศาสตร์" เป็นการเฉพาะ แต่ถือว่าเป็นอ่าวตามกฎหมายตามการถูกใช้ประโยชน์มาตลอดจนเป็นประเพณี 

    อ่าวประวัติศาสตร์จะอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์ของรัฐชายฝั่ง รัฐอื่นไม่มีสิทธิการเดินเรือผ่านโดยสุจริตในน่านน้ำดังกล่าว


ช่องแคบ (Straits)


     “การห้ามชั่วคราวซึ่งการผ่านโดยสุจริตของเรือต่างชาติผ่านช่องแคบซึ่งใช้เพื่อการเดินเรือระหว่างประเทศ ระหว่างส่วนหนึ่งของทะเลหลวงกับอีกส่วนหนึ่งของทะเลหลวง หรือทะเลอาณาเขตของรัฐต่างประเทศจะกระทำมิได้ (ข้อ 16 วรรค 4)”




ที่มา : ศรัณย์ เพ็ชรพิรุณ. 2549. สมุทรกรณี. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.



bottom

top

Latest News

Popular


bottom