พิมพ์

    สถานการณ์ปะการังปี พ.ศ.2549 - 2553    

 

 

สถานภาพปะการัง ปี พ.ศ.2549

       ประเทศไทยมีแนวปะการังคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 96,357 ไร่ ( 154.17 ตร.กม.) โดยแบ่งเป็นทางฝั่งทะเลอันดามันและช่องแคบมะละกาตอนบนประมาณ 50,812 ไร่ ( 81.3 ตร.กม.) และในฝั่งอ่าวไทยมีพื้นที่แนวปะการังทั้งหมดประมาณ 45,545 ไร่ ( 72.9 ตร.กม.) โดยฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออกพบแนวปะการังกระจายอยู่ตั้งแต่จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ส่วนทางด้านฝั่งตะวันตกและภาคใต้ฝั่งตะวันออก พบแนวปะการังในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และปัตตานี

       แนวปะการังมีการเปลี่ยนแปลงสภาพตลอดเวลา ซึ่งอาจเปลี่ยนเป็นในทางที่ดีขึ้นหรือเลวลง การเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติ เช่น พายุพัดทำลาย การอุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติ การะบาดของดาวมงกุฎหนาม หรือจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การประมงผิดวิธีในแนวปะการัง การท่องเที่ยว การลักลอบจับปลาในแนวปะการังหรือลักลอบเก็บปะการัง กิจกรรมจากบนฝั่ง การฟื้นตัวของแนวปะการังสู่สภาพเดิมส่วนใหญ่ใช้เวลานาน ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมหรือยับยั้ง รวมทั้งระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นด้วย

        กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรายงานว่า ในปี 2549 ฝั่งอ่าวไทยมีพื้นที่แนวปะการังประมาณ 45,500 ไร่ (72.8 ตร.กม.) และฝั่งทะเลอันดามันประมาณ 50,800 ไร่ (81.28 ตร.กม.) รวมพื้นที่แนวปะการังทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามันมีพื้นที่รวมประมาณ 96,300 ไร่ (154.08 ตร.กม.) พบปะการัง 18 วงศ์ 71 สกุล 388 ชนิดในพื้นที่ดังกล่าว

 

แนวปะการังอ่าวไทย

        ฝั่งทะเลอ่าวไทยมีพื้นที่ปะการังรวมทั้งหมดประมาณ 45,500 ไร่ แบ่งเป็น อ่าวไทยฝั่งตะวันออกพบแนวปะการังกระจายอยู่รอบเกาะต่างๆ ตั้งแต่จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และจังหวัดตราด มีพื้นที่รวมประมาณ 17,500 ไร่ ส่วนอ่าวไทยฝั่งตะวันตกพบปะการังบริเวณรอบเกาะ ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี พื้นที่รวม 29,500 ไร่ จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ปะการังมากที่สุดในอ่าวไทยประมาณ 24,000 ไร่

        สภาพปะการังปี 2549 แนวปะการังฝั่งตะวันออกและตะวันตกของอ่าวไทย ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ปานกลางถึงสมบูรณ์ดีมาก (ตารางที่ 1)

 

ตารางที่ 1 สถานภาพแนวปะการังฝั่งทะเลอ่าวไทย ปี 2549

ลำดับ

จังหวัด

พื้นที่ (ไร่)

พื้นที่ (ตร.กม.)

สถานภาพ

ชนิดเด่น

สาเหตุการเสื่อมโทรม

1.

ตราด

9,937

15.8992

ดีปานกลาง–ดี

ปะการังโขด, ปะการังดาวใหญ่, ปะการังเขากวาง, ปะการังโต๊ะ, ปะการังสมอง, ปะการังช่องเหลี่ยม

ตะกอนจากการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามเกาะต่างๆ น้ำเสียและตะกอน

2.

จันทบุรี

437

0.6992

ดีปานกลาง

ปะการังโขด, ปะการังดาวใหญ่, ปะการังเขาหนัง, ปะการังดอกกะหล่ำ

ความโปร่งใสของน้ำทะเลต่ำเนื่องจากอยู่ใกล้ชายฝั่ง

3.

ระยอง

628

1.0048

ดีปานกลาง-ดี

ปะการังโขด, ปะการังดาวใหญ่, ปะการังเขากวาง, ปะการังโต๊ะ, ปะการังดอกเห็ด

ปริมาณน้ำจืดและตะกอนจากแม่น้ำระยอง แม่น้ำประแสร์ กิจกรรมจากการท่องเที่ยว โดยเฉพาะเกาะเสม็ด

4.

ชลบุรี

4,687

7.4992

ดีปานกลาง-ดี

ปะการังโขด, ปะการังวงแหวน, ปะการังแผ่น, ปะการังเขากวาง

กิจกรรมจากการท่องเที่ยว เครื่องมือประมง น้ำมีปริมาณตะกอนมาก ขยะมูลฝอย

5.

ประจวบคีรีขันธ์

1,250

2

ดี

ปะการังโขด, ปะการังอ่อนหนัง, ปะการังโต๊ะ, ปะการังดอกกะหล่ำ, ปะการังอ่อนดอกเห็ด

เครื่องมือประมง

6.

ชุมพร

4,062

6.4992

ดี

ปะการังเขากวาง, ปะการังโขด, ปะการังเคลือบ, ปะการังอ่อน, ดอกไม้ทะเล, ปะการังอ่อนหนัง, ปะการังดาวใหญ่, ปะการังสมอง

จากตะกอน พายุและเครื่องมือประมง

7.

สุราษฎร์ธานี

24,187

38.6992

ปานกลาง

ปะการังเขากวาง, ปะการังโขด, ปะการังเคลือบ, ปะการังอ่อน, ปะการังไฟแผ่น, ปะการังอ่อนหนัง, ปะการังสมอง

ตะกอนจากกิจกรรมการท่องเที่ยว และการขุดลอกร่องน้ำ

8.

นครศรีธรรมราช

347

0.5552

ดีปานกลาง–ดีมาก

ปะการังเขากวาง, ปะการังช่องเล็กแบบกิ่งและแบบแผ่น, ปะการังสมอง, ปะการังดอกกะหล่ำ

เกาะกระ ไม่พบปัญหาความเสื่อมโทรม

9.

พัทลุง

 -

10.

สงขลา

 -

11.

ปัตตานี

10

0.016

ดีปานกลาง–ดีมาก

ปะการังเขากวาง, ปะการังโขด, ปะการังอ่อน

เกาะโลซินเริ่มมีปลาดาวหนามระบาด

12.

นราธิวาส

รวมพื้นที่ฝั่งอ่าวไทย

45,545

72.872

 

 

  

ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. 2550

 

แนวปะการังทะเลอันดามัน

        แนวปะการังฝั่งทะเลอันดามันส่วนใหญ่ ก่อตัวตามชายฝั่งด้านตะวันออกของเกาะต่างๆ เพราะเป็นด้านที่กำบังคลื่นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลอันดามันอยู่ในเขตทะเลลึกได้รับตะกอนฟุ้งกระจายจากพื้นทะเลน้อยกว่าในเขตน้ำตื้น จึงเหมาะแก่การพัฒนาของแนวปะการังมาก เพราะแสงส่องถึงพื้นได้ดี สามารถพบแนวปะการังได้ที่ระดับน้ำลึก 20-30 เมตร ในที่ตื้นพบกระจายที่ระดับน้ำลึก 3-10 เมตร

        สถานภาพแนวปะการังปี 2549 แนวปะการังส่วนใหญ่ทุกจังหวัดฝั่งทะเลอันดามันจัดอยู่ในสภาพสมบูรณ์ปานกลาง จังหวัดที่มีแนวโน้มสมบูรณ์ดีมากที่สุดคือจังหวัดสตูล และจังหวัดที่แนวโน้มไปทางเสื่อมโทรมมากที่สุดคือ จังหวัดพังงาและภูเก็ต (ตารางที่ 2)

 

ตารางที่ 2 สถานภาพแนวปะการังฝั่งทะเลอันดามัน ปี 2549

ลำดับ

จังหวัด

พื้นที่ (ไร่)

พื้นที่ (ตร.กม.)

สถานภาพ

ชนิดเด่น

สาเหตุการเสื่อมโทรม

1.

ระนอง

1,625

2.6

เสียหาย – ดีปานกลาง

ปะการังโต๊ะ, ปะการังโขด, ปะการังช่องเหลี่ยม, ปะการังวงแหวน, ปะการังสมอง, ปะการังดอกไม้ทะเล, ปะการังอ่อนหนัง

ตะกอนจากป่าชายเลน น้ำค่อนข้างขุ่นเพราะใกล้ชายฝั่ง

2.

พังงา

16,000

25.6

เสียหายมาก – ดีปานกลาง

ปะการังเขากวาง, ปะการังโต๊ะ, ปะการังโขด, ปะการังดอกกะหล่ำ, ปะการังนิ้วมือผิวขรุขระ, ปะการังผิวยู่ยี่, ปะการังช่องเล็ก, ปะการังดาวใหญ่

ซากปะการังถูกปกคลุมด้วยพรมทะเล (Zoanthid) และดอกไม้ทะเล (coralimoph) เกิดการฟอกขาวหลายครั้งในปี พ.ศ.2534, 2538 และ 2541 พบความเสียหายมากในปี 2538 ในอดีตมีการทิ้งสมอเรือในพื้นที่ เนื่องจากหลายๆพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และจอดเรือหลบคลื่นลม บางพื้นที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ

3.

ภูเก็ต

10,375

16.6

เสียหายมาก – ดีปานกลาง

ปะการังโขด, ปะการังดอกไม้ทะเล, ปะการังสมองร่องสั้น, ปะการังดอกใหญ่, ปะการังดอกเห็ด, ปะการังดอกจอก, ปะการังเขากวาง, ปะการังสีน้ำเงิน

ได้รับผลกระทบจากตะกอนที่เกิดจากการขุดแร่ในทะเลในช่วงปี พ.ศ.2527-2529 และปลาดาวหนามระบาดในปี พ.ศ.2538-2529 แนวปะการังได้รับผลกระทบจากตะกอนจากการพัฒนาชายฝั่ง เคยมีปัญหาการทิ้งสมอลงในแนวปะการัง ปัจจุบันมีการแก้ไขโดยใช้ทุ่นผูกเรือ บางพื้นที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ

4.

กระบี่

10,125

16.2

ดีปานกลาง

ปะการังโขด, ปะการังดาวใหญ่, ปะการังช่องเหลี่ยม, ปะการังสมอง, ปะการังสมองร่องสั้น, ปะการังโต๊ะ, ปะการังจาน

ปะการังเสียหายส่วนหนึ่งจากการฟอกขาวในปี พ.ศ.2538 และเนื่องจากบริเวณนี้มีเรือนำนักท่องเที่ยวเข้ามามาก พบว่าในบางครั้งไม่มีทุ่นผูกเรือ คาดว่าการทิ้งสมออาจมีส่วนทำให้ปะการังเสียหาย มีตะกอนแขวนลอยในน้ำและสะสมบนพื้นทะเลมาก บางพื้นที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ

5.

ตรัง

2,812

4.4992

ดีปานกลาง – ดี

ปะการังโต๊ะ, ปะการังช่องเหลี่ยม, ปะการังสมองร่องใหญ่, ปะการังโขด, ปะการังดาวใหญ่, ปะการังเขากวาง

การระเบิดปลาในอดีต ปลาดาวหนามระบาดในปี พ.ศ.2529

6.

สตูล

9,875

15.8

ดีปานกลาง

ปะการังโขด, ปะการังเขากวาง, ปะการังช่องเหลี่ยมแบบแผ่น, ปะการังดอกเห็ด, ปะการังโต๊ะ, ปะการังช่องหนาม

ปลาดาวหนามระบาดในปี พ.ศ.2529 เกิดปะการฟอกขาวในปี พ.ศ.2541 พายุพัดทำลาย เกิดความเสียหาย

รวมพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน

50,812

81.2992

 -

-

รวมพื้นที่ทั้งประเทศไทย

96,357

154.17

 

 

 

ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. 2550

 

การประเมินสถานภาพปะการัง 

ปะการังมีชีวิต (Living Coral) ปะการังตาย (Death Coral) สถานภาพ
≥ 3

1

สภาพสมบูรณ์มาก

2

1

สภาพสมบูรณ์

1

1

สภาพสมบูรณ์ปานกลาง

1

2

สภาพเสียหาย

1

≥ 3

สภาพเสียหายมาก

*การประเมินสถานภาพปะการังตามอัตราส่วนการปกคลุมที่ใกล้เคียง

  

สถานภาพปะการังปี 2553

        ปี 2553 เกิดเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวเป็นวงกว้าง จากอุณหภูมิน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การฟอกขาวเกิดขึ้นทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จากการสำรวจโดยหลายหน่วยงานพบว่าในแต่ละพื้นที่มีการฟอกขาวมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดปะการังที่ปกคลุมพื้นที่ว่าเป็นพวกที่ไวต่อการฟอกขาวเพียงใด เช่น ปะการังเขากวาง (Acropora sp.) เป็นชนิดที่ไวต่อการฟอกขาว พื้นที่ที่พบปะการังเขากวางเป็นชนิดเด่นจะได้รับผลกระทบจากการฟอกขาวมาก ลักษณะการก่อตัวแนวปะการังถือเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการฟอกขาว แนวปะการังที่ได้รับอิทธิพลจากคลื่นลมอยู่เสมอจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า เพราะเป็นด้านที่อุณหภูมิไม่สูงอยู่ตลอดเวลา เช่น ด้านตะวันตกของเกาะต่างๆในทะเลอันดามัน

        เมื่อประมาณภาพรวมทั่วประเทศ พบว่าปะการังแต่ละแห่งมีการฟอกขาวมากถึงร้อยละ 30 – 95  พบปะการังเกือบทุกชนิดฟอกขาวหมด ยกเว้นเพียง 3 – 4 ชนิดที่ทนต่อการฟอกขาวได้ เช่น ปะการังสีน้ำเงิน (Heliopora coerulea) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona decussata) และปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora)

 

 

ที่มา :

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. 2550. รายงานสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2550. สืบค้นจาก       http://www.dmcr.go.th/pr/webpage/pr_FreeMedias.htm (28 มิ.ย.54)

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. รายงานเบื้องต้นผลกระทบการเกิดปะการังฟอกขาวปี 2553. สืบค้นจากฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง   http://www.dmcr.go.th/marinecenter/coral-lesson6.php (28 มิ.ย.54)

นลินี ทองแถม. การฟื้นฟูปะการังและปัจจัยที่ควรพิจารณา. สืบค้นจาก  http://km.dmcr.go.th/index.php?          option=com_content&view=article&id=109:2009-04-30-08-53-59&catid=81:2009-02-16-07-56-26&Itemid=28 (4 ก.ค.54)

กรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่ง , 2551. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำแผนฟื้นฟูเเนวปะการัง.155 หน้า.

สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน.  2558ข.  คัมภีร์ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2558).  กรุงเทพมหานคร: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  246 หน้า.