พิมพ์

 

 

การผลิตปิโตรเลียมในทะเล ปี 2553

 

          ปี 2553 สามารถผลิตปิโตรเลียมได้ปริมาณเทียบเท่าน้ำมันดิบ 270.3 ล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับปี 2552 การผลิตที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีแหล่งผลิตใหม่ที่พัฒนาและเริ่มผลิตได้แล้ว แยกเป็นก๊าซธรรมชาติผลิตได้ 1,044,051 ล้าน ลบ.ฟุต เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3  คอนเดนเสทผลิตได้ 32.35 ล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้น 5.8  น้ำมันดิบผลิตได้ 55.48 ล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.8

           ผลผลิตปิโตรเลี่ยมส่วนใหญ่มาจากแหล่งในทะเล ผลผลิตในปี พ.ศ. 2553  ของก๊าซธรรมชาติ คอนเดนเสท และน้ำมันดิบจากแหล่งในทะเลคิดเป็นร้อยละ 94.12 , 99.52 และ 79.77 ของผลผลิตรวมของประเทศตามลำดับ

แหล่งผลิต Field

ก๊าซธรรมชาติ 

Natural gas (MMSCF)

ก๊าซธรรมชาติเหลว

Condensate (BBL)

น้ำมันดิบ

Crude oil (BBL)

เอราวัณ (Erawan)

93,050.410

4,080,709

 

บรรพต (Baanpot)

25,562.891

1,383,137

 

สตูลใต้ (South Satun)

3,095.028

62,041

 

สตูล (South Satun)

29,755.751

996,363

 

ปลาแดง (Pladang)

0

0

 

ตราด (Trat)

14,661.028

571,925

 

ปลาทอง (Platong)

732.890

455

9,889

กะพง (Kaphong)

13,012.566

 

1,839,926

สุราษฎร์ (Surat)

11,830.620

 

1,018,154

ปลาหมึก (Plamuk)

23,488.054

 

6,035,745

ยูงทอง (Yong Thong)

2,133.548

 

696,367

กุ้งเหนือ (N.Kung)

88.060

 

83,583

ฟูนาน (Funan)

33,614.787

1,887,556

 

จักรวาล (Jakrawan)

13,425.653

553,854

 

จักรวาลตะวันตก (West Jakrawan)

25,653.364

17,321

 

โกมินทร์ (Gomin)

17,064.775

116,958

 

โกมินทร์ใต้ (South Gomin)

13,690.677

802,278

 

ไพลิน (Pailin)

76,749.701

3,799,265

 

ยะลา (Yala)

34,533.903

 

4,600,583

ไพลินเหนือ (North Pailin)

80,118.149

4,389,489

 

บงกต (Bongkot)

217,629.551

7,142,479

 

อาทิตย์เหนือ (North Arthit)

39,198.908

847,468

 

อาทิตย์ (North Arthit)

143,671.480

5,542,796

 

ทานตะวัน (Tantawan)

9,709.909

 

1,408,994

ราชพฤกษ์ (Rajapreuk)

1,563.835

 

1,331,310

เบญจมาศ (Benchamas)

27,438.228

 

9,104,451

มะลิวัลย์ (Maliwan)

26,638.857

 

1,054,864

เบญจมาศเหนือ (North Benchamas)

409.511

 

628,176

จามจุรีเหนือ (North Jamjuree)

148.346

 

104,196

ชะบา (Chaba)

2,626.802

 

1,364,774

ลันตา (Lanta)

1,312.748

 

2,562,128

จัสมิน (Jasmine)

 

 

5,061,880

บานเย็น (Banyen)

 

 

1,420,190

บัวหลวง (Bualuang)

 

 

3,039,262

นางนวล (Nang Nuan)

 

 

0

สงขลา (Songkhla)

 

 

2,892,897

รวม

982,610.030

32,194,094

44,257,369

ที่มา : กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ รายงานประจำปี 2553

 

ศักยภาพผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย

แหล่งน้ำมันดิบจัสมิน
 

          แหล่งน้ำมันดิบจัสมินมีพื้นที่ผลิต 48.64 ตารางกิโลเมตร อยู่ในแปลงสำรวจ B5/27 ทางด้านเหนือของอ่าวไทย ปัจจุบันสามารถผลิตได้ถึง 16,000 บาร์เรลต่อวัน คาดว่าแหล่งน้ำมันดิบจัสมินมีปริมาณสำรองประมาณ 10 ล้านบาร์เรล ซึ่งบริษัท เพิร์ล ออยล์ กำลังยื่นขอพื้นที่ผลิตแหล่งน้ำมันดิบบานเย็นที่มีพื้นที่ต่อเนื่องมาตอนใต้ ของแหล่งน้ำมันดิบจัสมิน คาดว่าแหล่งบานเย็นมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบ 3.8 ล้านบาร์เรล นอกจากนี้ พื้นที่ใกล้เคียงกับแหล่งผลิตทั้งสองมีความเป็นไปได้สูงที่จะค้นพบโครงสร้าง กักเก็บต่อเนื่องออกไปจากด้านข้าง

แหล่งน้ำมันดิบนางนวล 

          แหล่งน้ำมันดิบนางนวลเป็นแหล่งเดียวในอ่าวไทยที่พบปิโตรเลียมในชั้นหิน Carbonate Reservoir Rocks อายุเพอร์เมียน ที่มีลักษณะเป็นโพรงถ้ำ ซึ่งแตกต่างและแก่กว่าชั้นหินกักเก็บในแหล่งปิโตรเลียมอื่นๆ ในอ่าวไทย แหล่งน้ำมันดิบนางนวลมีพื้นที่ผลิต 4 ตารางกิโลเมตร อยู่ในอ่าวไทยแปลงสำรวจ B6/27 ห่างจากฝั่งจังหวัดชุมพร 25 กิโลเมตร เดิมเป็นของบริษัท ไทย เชลล์ ซึ่งเริ่มผลิตน้ำมันดิบได้สูงถึงประมาณ 15,000 บาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2530 ต่อมาแหล่งนางนวลประสบปัญหาน้ำซึมเข้าหลุมผลิต ทำให้อัตราการผลิตลดลงและต้องหยุดผลิตในแหล่งนางนวลตอนใต้ ทำให้อัตราการผลิตเหลือเพียงประมาณ 500 บาร์เรลต่อวัน ปัจจุบัน บริษัท ปตท. สผ. สยาม จำกัด เข้ามาดำเนินการต่อจากบริษัท ไทย เชลล์ แล้วสำรวจธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์เพิ่มเติม และเจาะหลุมสำรวจนางนวล-A04 พบปิโตรเลียม มีอัตราการไหลสูงสุดประมาณ 9,100 บาร์เรลต่อวัน และกำลังเตรียมการยื่นขอพื้นที่ผลิตปิโตรเลียมเพิ่มเติมต่อเนื่องระหว่าง พื้นที่ผลิตนางนวล-เอ และนางนวล-บี

 

          นอกจากนี้ ในปี พ.ศ.2553 มีการสำรวจพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ในอ่าวไทยและเริ่มผลิตน้ำมันดิบแล้ว ได้แก่

          1. แหล่งน้ำมันดิบกุ้งเหนือ ดำเนินการโดยบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เริ่มผลิตวันที่ 1 สิงหาคม 2553 ผลิตก๊าซธรรมชาติเฉลี่ยวันละ 4.0 ล้าน ลบ.ฟุต และน้ำมันดิบเฉลี่ยวันละ 540 บาร์เรล

          2. แหล่งน้ำมันดิบสงขลา-ซี ดำเนินการโดยบริษัท นิวคอสตอล (ไทยแลนด์) จำกัด เริ่มผลิตวันที่ 7 กรกฎาคม 2553 ผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ยวันละ 1,700 บาร์เรล

 

ปริมาณสำรองปิโตรเลียม

         กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้รายงานปริมาณสำรองปิโตรเลียมของประเทศไทย ณ สิ้นปี 2553 ประกอบด้วยก๊าซธรรมชาติ 10.6 ล้านล้าน ลบ.ฟุต ก๊าซธรรมชาติเหลว 245 ล้านบาร์เรล และน้ำมันดิบ 198 ล้านบาร์เรล คิดเป็นปริมาณน้ำมันดิบรวมกันทั้งสิ้น 2,236 ล้านบาร์เรล ลดลงจากปีก่อนประมาณร้อยละ 4 หรือ  94 ล้านบาร์เรล

petroleum reserve 2010

ที่มา : กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ 2553

รายได้จากปิโตรเลียม

           รายได้จากการประกอบกิจการปิโตรเลียมซึ่งจัดเก็บโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ประกอบด้วยค่าภาคหลวงปิโตรเลียม และเงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ (Special Remuneratory Benefit, SRB)

           ปริมาณการขายปิโตรเลียมในปี 2553 จากก๊าซธรรมชาติจำนวน  0.939 ล้านล้าน ลบ.ฟุต คอนเดนเสท 29.296 ล้านบาร์เรล และน้ำมันดิบ 55.978 ล้านบาร์เรล ได้รายได้รวมมูลค่าปิโตรเลียม 365,654.39 ล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าก๊าซธรรมชาติ 163,623.32 ล้านบาท คอนเดนเสท 67,363.45 ล้านบาท และน้ำมันดิบ 134,667.62 ล้านบาท

 

1. ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม

           ในปี 2553 จัดเก็บค่าภาคหลวงปิโตรเลียมได้ 44,536.93 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 18.12  ซึ่งได้จากก๊าซธรรมชาติ 20,501.96 ล้านบาท คอนเดนเสท 8,420.43 ล้านบาท และน้ำมันดิบ 15,614.5 ล้านบาท แบ่งเป็น

           - ค่าภาคหลวงที่จัดเก็บได้จากแหล่งปิโตรเลียมในทะเลจำนวน 39,188.38  ล้านบาท นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินทั้งหมด

           - ค่าภาคหลวงที่จัดเก็บได้จากแหล่งปิโตรเลียมบนบกจำนวน  4,366.27 ล้านบาท นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินร้อยละ 40 ส่วนที่เหลือจัดสรรให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในเขตพื้นที่ปิโตรเลียม ร้อยละ 20 อบต.ในเขตพื้นที่ปิโตรเลียมร้อยละ 20  และจัดสรรให้ อบต.ทั่วประเทศและเทศบาลอื่นๆ ร้อยละ 20

2. เงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ (SRB)

            ปี 2553 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจัดเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ (SRB) จากผู้รับสัมปทาน 9 บริษัท เป็นจำนวนเงิน 1,779.77 ล้านบาท รวมที่จัดเก็บได้ตั้งแต่ปี 2547-2553 เป็นเงิน  31,571.94  ล้านบาท

            นอกจากนี้ กรมสรรพากรได้จัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในอัตราไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ของรายได้สุทธิจากการประกอบกิจการปิโตรเลียม ในปี 2553 กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีเงินได้จากการประกอบกิจการปิโตรเลียมจำนวน 59,642.48 ล้านบาท โดยบริษัทที่มีรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วและเริ่มเสียภาษีเงินได้ ตั้งแต่ปี 2528 ถึงปี 2552  มีจำนวน 26 บริษัท รวมจำนวนเงินที่จัดเก็บภาษีได้ทั้งสิ้น 448,854.76 ล้าน บาท

 

พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (Malaysia-Thailand Joint Development Area, MTJDA) 


           พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (MTJDA) เป็นบริเวณที่ประเทศไทยและมาเลเซีย อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปทับซ้อนในบริเวณอ่าวไทยตอนล่างครอบคลุมพื้นที่ 7,250 ตารางกิโลเมตร จุดศูนย์กลางพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียอยู่ห่างจากชายฝั่งจังหวัดปัตตานี 180 กิโลเมตร จากชายฝั่งจังหวัดสงขลาประมาณ 260 กิโลเมตร และจากเมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ประมาณ 150 กิโลเมตร

           รัฐบาลไทยและรัฐบาลมาเลเซียร่วมกันจัดตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (MTJDA) ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยรวมสิทธิและรับผิดชอบแทนรัฐบาลทั้งสอง ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีชีวิตในพื้นที่พัฒนาร่วม องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียมีอำนาจในการทำสัญญาให้สิทธิสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียม แก่บริษัทผู้ประกอบการได้ ภายใต้เงื่อนไขของระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract, PSC) โดยหลักการขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ทั้งค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ที่ได้มาจากกิจกรรมการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมใน พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียนั้น รัฐบาลทั้งสองจะแบ่งปันโดยเท่าเทียมกัน (50:50)

alt src=http://mrpolicy.trf.or.th/Portals/2/Resources/Petro/mtjda.gif

 

            ปัจจุบันพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ประกอบด้วยแปลงสำรวจ 3 แปลง (แปลง A-18, B-17&C-19 และแปลง B-17-01) มีบริษัทผู้ประกอบการที่ได้รับสิทธิเข้าทำสัญญากับองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ดังนี้

            1. บริษัท Hess Oil Company of Thailand (JDA) Ltd. (49.5%) Hess Oil Company of Thailand Inc. (0.5%) และ บริษัท PCJDA Ltd. จากประเทศมาเลเซีย (50%) ในแปลงสำรวจ A-18 โดยบริษัท Carigali-Hess Operating Company Sdn.Bhd (Carigali-Hess) เป็นผู้ดำเนินการ

            2. บริษัท PTTEP International Ltd. จากประเทศไทย (50%) กับ บริษัท PCJDA Ltd. จากประเทศมาเลเซีย (50%) ในแปลงสำรวจ B-17&C-19 และแปลงสำรวจ B-17-01 โดยบริษัท Carigali - PTTEP Operatng Company Sdn.Bhd. (CPOC) เป็นผู้ดำเนินงาน

            บริษัทผู้ดำเนินงานได้สำรวจพบก๊าซธรรมชาติในแปลง A-18 จำนวน 9 แหล่ง ได้แก่ แหล่งก๊าซจักรวาล แหล่งก๊าซสุริยา แหล่งก๊าซบุหลัน แหล่งก๊าซภูมี แหล่งก๊าซภูมีตะวันออก แหล่งก๊าซเซ็นจา แหล่งก๊าซสมุทรา แหล่งก๊าซสมุทราเหนือ และแหล่งก๊าซวีระ ในแปลง B-17&C-19 สำรวจพบก๊าซธรรมชาติจำนวน 9 แหล่ง ได้แก่ แหล่งก๊าซมูด้า แหล่งก๊าซมูด้าใต้ แหล่งก๊าซตาปี แหล่งก๊าซเจ็งก้า แหล่งก๊าซเจ็งก้าตะวันตก แหล่งก๊าซเจ็งก้าใต้ แหล่งก๊าซเจ็งก้าตะวันออก แหล่งก๊าซอมฤต และแหล่งก๊าซมะลิ และแปลง B-17-01 พบก๊าซธรรมชาติ 3 แหล่ง ได้แก่ แหล่งจินดา แหล่งตันจุง และแหล่งอันดาลัส

 

 

 

 

การผลิตและรายได้ปิโตรเลียมจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย

สรุปการซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 ระหว่างปี 2548-2553

year

Delivery point 1 (DP1)

Delivery point 2 (DP2)

Total Delivered (MMSCF)

Nominated (MMSCF)

Delivered (MMSCF)

Nominated (MMSCF)

Delivered (MMSCF)

2548

48,929

50,374

0

0

20,374

2549

126,811

130,047

0

0

130,047

2550

111,720

114,135

0

0

114,135

2551

161,833

166,784

16,565

17,272

184,056

2552

170,672

174,607

126,289

130,028

304,635

2553

185,150

187,940

110,134

112,778

300,718

ที่มา : กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ 2553 

สรุปการซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17 ปี 2553

year

Nominated (MMSCF)

Delivered (MMSCF)

2553

98,292

83,752

ที่มา : กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ 2553 

สรุปผลผลิตและการซื้อขายคอนเดนเสทแปลง A-18 ระหว่างปี 2548-2553

year

Condensate Production (barrel)

Total Lifted Volume (barrel)

2548

835,590

647,870

2549

1,665,300

1,763,830

2550

1,431,660

1,356,270

2551

2,123,900

2,119,440

2552

2,988,666

2,963,732

2553

2,742,134

2,817,471

ที่มา : กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ 2553 

สรุปผลผลิตและการซื้อขายคอนเดนเสทแปลง B-17 ปี 2553

year

Condensate Production (barrel)

Total Lifted Volume (barrel)

2553

2,750,501

2,695,078

ที่มา : กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ 2553 

 

รายได้จากกิจการปิโตรเลียมเขตพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย

        กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้ตรวจสอบการจัดเก็บและนำส่งรายได้จากองค์กรร่วมฯ ปี 2553 ประกอบด้วย ค่าภาคหลวงปิโตรเลียมส่วนที่เป็นกำไรและรายได้อื่น จากแปลง A-18 และ B-17 ให้รัฐบาลไทยจำนวน 390,593,509.58 เหรียญสหรัฐ หรือ 12,184,678,261.42 บาท

หน่วย : เหรียญสหรัฐ

รายการ

แปลง A-18

แปลง B-17

ค่าภาคหลวง

85,575,840.85

34,753,175.47

ปิโตรเลียมส่วนที่เป็นกำไร

172,280,619.70

85,932,711.31

การจ่ายเงินตามข้อ 5.3 ของสัญญา PSC

5,349,370.28

5,123,103.36

โบนัสจากการผลิต

0.00

350,000.00

เบ็ดเตล็ดอื่นๆ

147,785.07

830,903.54

โบนัสจากการค้นพบปิโตรเลียม

0.00

250,000.00

รวม

263,353,615.90

127,239,893.68

ที่มา : กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ 2553

 

พื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยทับซ้อนในทะเล ไทย-กัมพูชา

 

ยกเลิก MOU ไทย-กัมพูชา

          บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (MOU) ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิอธิปไตยในไหล่ทวีปทับซ้อนกันบริเวณอ่าวไทย ทางด้านตะวันออก 25,923 ตารางกิโลเมตร ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน 2544 มีเจตนารมณ์ว่า ให้ทั้งสองฝ่ายเร่งรัดการเจรจาที่จะดำเนินการจัดทำความตกลงสำหรับการพัฒนา ร่วมทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่กำหนดให้พัฒนาร่วม และตกลงแบ่งเขตทางทะเลซึ่งสามารถยอมรับได้ร่วมกันในพื้นที่ที่กำหนดให้แบ่ง เขต โดยให้ดำเนินการไปพร้อมกันในลักษณะไม่แบ่งแยก

alt src=http://mrpolicy.trf.or.th/Portals/2/Resources/Petro/thai-cam.gif

 

          เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนฯ ภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2544 ดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานร่วมกันระหว่างฝ่าย ไทยและฝ่ายกัมพูชา ประกอบไปด้วย คณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค คณะอนุกรรมการร่วมด้านเทคนิค คณะทำงานไทย-กัมพูชาว่าด้วยระบบการพัฒนาร่วม คณะทำงานไทย-กัมพูชาว่าด้วยการแบ่งเขตทางทะเล และคณะผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา โดยคณะกรรมการและคณะทำงานฯ ฝ่ายไทย มีองค์ประกอบดังนี้

alt src=http://mrpolicy.trf.or.th/Portals/2/Resources/Petro/thai-cam_committee.gif

 

          กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักในเรื่องเกี่ยวกับระบอบพัฒนา ร่วมได้เตรียมความพร้อมในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมที่เหมาะสมกับการพัฒนา ร่วม เพื่อการเจรจากับฝ่ายกัมพูชา โดยประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง

          ทั้งนี้ การประชุมคณะทำงานไทย-กัมพูชาว่าด้วยระบอบการพัฒนาร่วม (ครั้งที่ 5) เมื่อวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2550 ที่กรุงพระสีหนุวิลล์ ประเทศกัมพูชา ซึ่งฝ่ายไทยมีอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเป็นหัวหน้าคณะ ในขณะที่ฝ่ายกัมพูชามีนาย Te Duong Tara, Director General, CNPA เป็นหัวหน้าคณะนั้น บรรยากาศการประชุมเป็นไปด้วยดี

          ในปี 2551 คณะทำงานฝ่ายไทยได้จัดเตรียมท่าทีและประเด็นต่างๆ เพื่อพิจารณาประกอบความตกลงในพื้นที่พัฒนาร่วมฯ โดยกำหนดการประชุมในประเทศไทยกลางปี 2551 แต่ฝ่ายกัมพูชาได้ขอเลื่อนการประชุมออกไป และจะแจ้งให้ฝ่ายไทยทราบต่อไป

 

ที่มา : กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ. รายงานประจำปี 2553

         คลังปัญญาไทย. ประวัติการขุดเจาะหลุมปิโตรเลียมในประเทศไทยโดยสังเขป.