.

สื่อออนไลน์

Search this site

ลงทะเบียน

MKH Update

สถิติการเข้าชม


 
หญ้าทะเลในประเทศไทย

 

             หญ้าทะเลถือเป็นทรัพยากรที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญมาก ในปัจจุบันแหล่งหญ้าทะเล เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ทะเลและสัตว์น้ำ เศรษฐกิจ อันได้แก่ กุ้ง หอย ปู และปลา หญ้าทะเลยังเป็นอาหารสำคัญของพะยูนและเต่าทะเล เป็นแหล่งวางไข่ แหล่งอนุบาลตัวอ่อน และที่อยู่อาศัยของปลา กุ้ง หมึก ปูม้า หอยชนิดต่างๆ ไส้เดือนทะเล ตลอดจนสัตว์เล็กๆ นานาชนิด และเป็นแหล่งอาหาร แหล่งทำมาหากินที่สำคัญของชุมชนชายฝั่งทะเล

             แหล่งหญ้าทะเลเป็นระบบนิเวศแรกที่รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ บนแผ่นดิน ทั้งที่เกิดจากมนุษย์และเกิดตามธรรมชาติ ชุมชนส่วนใหญ่จะตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล การพัฒนาด้านเกษตรกรรมต่างๆ ทั้งเพาะปลูก และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น กุ้งทะเล ล้วนมีผลกระทบต่อพื้นที่หญ้าทะเลทั้งสิ้น แหล่งหญ้าทะเลและป่าชายเลนจึงเสมือนเป็นประตูกั้นระหว่างกิจกรรมต่างๆ บนฝั่งกับทะเล ซึ่งรวมถึงแนวปะการังด้วย

              ระบบนิเวศหญ้าทะเลมีความสำคัญในด้านเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย เลี้ยงตัวอ่อนสัตว์น้ำ และแหล่งหากินของสัตว์ทะเลนานาชนิด โดยเฉพาะปลาทะเล กลุ่มกุ้งทะเล และปูม้า ไม่เพียงเฉพาะกลุ่มสัตว์น้ำขนาดเล็กที่กล่าวถึง แต่ยังมีสัตว์น้ำขนาดใหญ่เช่นเต่าทะเล และพะยูน รวมถึงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ อันได้แก่ ปลา กุ้ง ปู และหอยหลายชนิด และยังมีส่วนช่วยในการกรองและปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วย เพราะหญ้าทะเลมีระบบรากที่คอยยึดจับเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินได้เป็นอย่างดี

              ในน่านน้ำไทย พบหญ้าทะเลรวม 12 ชนิดพันธุ์ จากจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 58 ชนิดพันธุ์ที่พบทั่วโลก ในทะเลฝั่งอันดามันพบหญ้าทะเล 11 ชนิด ขาดเพียงชนิดเดียวคือหญ้าตะกานน้ำเค็ม (Ruppia maritima)  ซึ่งพบเฉพาะทางฝั่งอ่าวไทยเท่านั้น 

 

หญ้ากุยช่ายทะเล

Halodule uninervis

หญ้ากุยช่ายเข็ม

Halodule pinifolia

http://www.iucnredlist.org/apps/redlist/details/173328/0

http://www.eol.org/pages/62639

หญ้าใบมะกรูด หรือ หญ้าอำพัน

Halophila ovalis

หญ้าเงาใบเล็ก

Halophila minor

www.habitatnews.nus.edu.sg

http://www.flickr.com/photos/guampedia/3988397577/

หญ้าเงาแคระ

Halophila beccarii

หญ้าเงาใส

Halophila decipiens

http://wondercreation.blogspot.com/2011/05/chek-jawa-on-hot-scorching-morning.html

http://www.wildsingapore.com/wildfacts/plants/seagrass/decipiens.htm

หญ้าชะเงาใบมน

Cymodocea rotundata

หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย

Cymodocea serrulata

http://wondercreation.blogspot.com/2009/12/slow-and-easy-at-tanah-merah.html

http://www.seagrasswatch.org/id_seagrass.html

หญ้าคาทะเล

Enhalus acoroides

หญ้าชะเงาเต่า

Thalassia hemprichii

http://naturescouter.blogspot.com/2008/02/team-seagrass-p-semakau.html

http://www.algaebase.org/search/species/detail/?species_id=21548

หญ้าต้นหอมทะเล

Syringodium isoetifolium

หญ้าตะกานน้ำเค็ม

Ruppia maritima

http://www.algaebase.org/search/species/detail/?species_id=21542

http://flora.nhm-wien.ac.at/Seiten-Arten/Ruppia-maritima.htm


              สามารถพบสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์อย่างเช่น เต่าทะเลบางชนิด และ พะยูน ได้ในพื้นที่หญ้าทะเลบางแห่ง สัตว์ทะเลทั้งสองชนิดนี้จะกินหญ้าทะเลเป็นอาหารโดยตรง ประชากรของเต่าทะเลและพะยูนกำลังลดลงเรื่อยๆ ซึ่งมักจะเสียชีวิตจากการติดเครื่องมือประมงบางชนิดเช่น อวนทับตลิ่ง อวนรุน อวนลอย และโป๊ะน้ำตื้นของชาวประมงโดยบังเอิญ

                ในประเทศไทยพบหญ้าทะเลได้ในหลายพื้นที่ เช่น แหล่งน้ำกร่อย หรือปากแม่น้ำที่ติดป่าชายเลน ชายฝั่งน้ำตื้นที่มีพื้นทรายหรือทรายปนโคลน และที่ลึกติดกับแนวปะการัง สภาพแหล่งหญ้าทะเลโดยทั่วไปทางฝั่งทะเลอันดามันมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าทางฝั่งอ่าวไทย มีพื้นที่ทั้งหมด 35,290 ไร่

              ฝั่งทะเลอันดามันพบหญ้าทะเลในพื้นที่ชายทะเลและเกาะต่างๆ ทุกจังหวัด ตั้งแต่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล โดยแหล่งหญ้าทะเลผืนใหญ่ที่สุดในน่านน้ำไทยคือ บริเวณเกาะตะลิบง จังหวัดตรัง 

              ส่วนทะเลฝั่งอ่าวไทยพบหญ้าทะเลทั่วไปตามจังหวัดชายฝั่งทะเล 13 จังหวัดและเกาะบางแห่ง ได้แก่ จังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส 

 

แผนที่แสดงแหล่งหญ้าทะเลในประเทศไทย

alt src=http://mrpolicy.trf.or.th/Portals/2/Resources/Seagrass/map-wh-seag-re.jpg

 

ตารางสรุปสถานภาพแหล่งหญ้าทะเล ประจำปี 2549

ตารางสรุปสถานภาพปัจจุบันของแหล่งหญ้าทะเล ประจำปี 2558      

จังหวัด /บริเวณที่พบ พื้นที่ (ไร่) พื้นที่ปกคลุม (%) สถานภาพ แนวโน้มเที่ยบกับในอดีต สาเหตุความเสื่อมโทรม ชนิดหญ้าทะเลที่พบ
ตราด

อ่าวธรรมชาติ

250

40

+++

N

ถูกคุกคามโดยมนุษย์ สาเหตุจากการประมงจากการวางอวนปู และขุดเหง้าหญ้าไปตากขายทำยาจีน

 

หญ้าคาทะเล

จันทบุรี

อ่าวคุ้งกระเบน

1,245

60

+++

N

ถูกคุกคามโดยมนุษย์สาเหตุจากการประมงคราดหอยและ วางลอบปู

หญ้ากุยช่ายทะเล    หญ้าคาทะเล 

ระยอง

อ่าวป้อม

84

35

++

+

ตะกอนจากการขุดรอกร่องน้ำและเปลือกหอยนางรมที่ชาวบ้านมาเคาะหาหอยแล้วทิ้งไว้ และเปลี่ยนแปลแปลงตามฤดูการ

 

 

 

 

 

 

หญ้ากุยช่ายทะเล

 

 

 

 

ร็อคการ์เด้น-เขา  ฆ้อ

53

25-30

++

N

เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล

วังแก้วรีสอร์ท

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

-

เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล

หาดทรายแก้ว

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

-

เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล

ปากน้ำประแส

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

-

เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล

ชลบุรี

ท่าเทียบเรือจุก เสม็ด

45

-

 -

เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล

 

 

 

 

หญ้ากุยช่ายเค็ม

 

 

 

อ่าวทุ่งโปรง

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

-

เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล

บางเสร่-หาดยาว

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

-

เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล

อ่าวเตยงาม

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

-

เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล

เพชรบุรี

บางกราน้อย- บางการใหญ่

 ไม่พบ

ไม่พบ 

ไม่พบ 

 -

แหล่งหญ้าทะเลหายไปเนื่องจากสภาพพื้นทะเลเปลี่ยนจากการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นใต้น้ำ

 

 

หญ้าตะกานน้ำเค็ม

หาดเจ้าสำราญ*

 20

17

 N

 

 
ชุมพร

ปากน้ำละแม

 2,800

45

 ++

N

 เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล

หญ้าเงาใส

สุราษฎร์ธานี   

อ่าวบ้านดอน (บางชนะ)

1,950

70

+++ 

N

 เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล

หญ้าใบพาย              หญ้าคาทะเล            หญ้าชะเงาเต่า          หญ้าใบมะกรูด          หญ้ากุยช่ายทะเล      หญ้าชะเงาใบมน

เกาะพงัน

1,900

50-90

+++

N

 บางพื้นที่ได้รับผลกระทบจากตะกอนการพัฒนาชายฝั่ง

นครศรีธรรมราช

เกาะท่าไร

95

37-42

 ++

N

 เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล

หญ้ากุยช่ายเข็ม หญ้ากุยช่ายทะเล หญ้าคาทะเล หญ้าชะเงาเต่าหญ้าใบมะกรูด

อ่าวเหล็ด*

2.7

25

N

 

 -

ระนอง

อ่าวบางเบน

 880

22-36

 N

อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงตามฤดูการ

หญ้าใบพาย              หญ้าใบมะกรูด            หญ้าคาทะเล

พังงา

อ่าวทุ่งนางดำ

2,426

30-62

++ 

 -

หญ้ากุยช่ายเข็ม หญ้ากุยช่ายทะเล หญ้าคาทะเล หญ้าเงาใส หญ้าชะเงาใบเลื่อย หญ้าชะเงาใบมน หญ้าต้นหอมทะเล หญ้าใบพาย หญ้าใบมะกรูด  

เกาะระ

88 

 -

 - 

เกาะพระทอง

2,162

 26-45

++ 

 - 

ชายฝั่งคุระบุรี

1,858

-

N

 -

ภูเก็ต

อ่าวป่าคลอก

1,569

24

N

+

 -

หญ้ากุยช่ายเข็ม  หญ้ากุยช่ายทะเล หญ้าคาทะเล หญ้าเงาใบเล็ก หญ้าชะเงาเต่า หญ้าชะเงาใบเลื่อย หญ้าชะเงาใบมน หญ้าใบพาย หญ้าใบมะกรูด 

อ่าวตั้งเขน

119

33

++

+

 -

กระบี่

แหลมไทร-    คลองศลาม้า

 2,167

 10

N

N

 เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล

หญ้าคาทะเล            หญ้าใบมะกรูด          หญ้าเงาใบเล็ก          หญ้าเงาใบพาย

ตรัง

แหลมไทร

796 

10 

N

-

 อาจเป็นการเปลี่ยนแปลง  ตามฤดูการ

 

หญ้ากุยช่ายเข็ม หญ้ากุยช่ายทะเล หญ้าคาทะเล หญ้าเงาใส หญ้าเงาใบเล็ก หญ้าชะเงาเต่า หญ้าชะเงาใบเลื่อย  หญ้าชะเงาใบมน หญ้าต้นหอมทะเล หญ้าใบพาย หญ้าใบมะกรูด  

 

เกาะตะลิบงและใกล้เคียง

13,773

10-48

N

-

 อาจเป็นการเปลี่ยนแปลง  ตามฤดูการ

เกาะสุกร

83

5

-

 น้ำขุน ตะกอนจากการ  เดินเรือเข้าออกของชาว  บ้านในพื้นที่

สตูล      

บ้านปากบารา

4

25

-

-

 การขุดรอกร่องน้ำในพื้นที่  ทำให้สภาพพื้นทะเล  เปลี่ยนไปไม่เหมาะสมต่อ  การเจริญของหญ้าทะเล

หญ้าใมกรูด หญ้ากุยช่ายทะเล หญ้ากุยช่ายเข็ม หญ้าคาทะเล หญ้าต้นหอมทะเล หญ้าชะเงาใบมน หญ้าชะเงาเต่า

 

 

เกาะลิดี

170

60

+++

N

 -

เกาะตันหยงอุมา

787

10

N

-

 พื้นทะเลเปลี่ยนแปลง  ตามสภาพธรรมชาติ

หมายเหตุ : *แหล่งหญ้าทะเลใหม่ 

 

ตารางสัญลักษณ์สถานภาพและแนวโน้มเที่บนอดีตหญ้าทะเล 

ระดับ

สถานภาพ

ระดับ

แนวโน้มเที่ยบกับอดีต

+++

สมบูรณ์มาก, ค่อนข้างสมบูรณ์

+

สมบูรณ์ขึ้น

++

สมบูรณ์ปานกลาง

-

เสื่อมโทรมลง

-

เสื่อมโทรม, ค่อนข้างเสื่อมโทรม

N

ไม่เปลี่ยนแปลง

N

สมบูรณ์ตามธรรมชาติ

   

(ดัดแปลงเพิ่มเติมจากฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง)

 

ระดับความอุดมสมบูรณ์ของหญ้าทะเลใน พ.ศ. 2555 กับ พ.ศ. 2558

เกณฑ์การประเมินพ.ศ. 2555 การปกคลุม (ร้อยละ) เกณฑ์การประเมินพ.ศ. 2558
พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2558
สมบูรณ์ดี 64.15 14.01 สมบูรณ์ดีมาก
32.61 สมบูรณ์ดี
สมบูรณ์ปานกลาง 26.98 20.29 สมบูรณ์ปานกลาง
สมบูรณ์น้อย 9.10 30.78 คงสภาพตามธรรมชาติ
2.08 เสื่อมโทรมเพราะ   ถูกรบกวน

หมายเหตุ :

เกณฑ์การประเมิน พ.ศ. 2555

- สมบูรณ์ดี ปกคลุมร้อยละ 51 - 100      

- สมบูรณ์ปานกลาง ปกคลุมร้อยละ 26-50

- สมบูรณ์น้อย ปกคลุมน้อยกว่าร้อยละ 25

เกณฑ์การประเมิน พ.ศ. 2558

- สมบูรณ์ดีมาก ปกคลุมมากกว่าร้อยละ 75 - สมบูรณ์ดี ปกคลุมร้อยละ 51-75

- สมบูรณ์ปานกลาง ปกคลุมร้อยละ 26-5  - คงสภาพตามธรรมชาติ ปกคลุมน้อยกว่าร้อยละ 25

- เสื่อมโทรมเพราะถูกรบกวน ปกคลุมน้อยกว่าร้อยละ 25 เพราะถูกรบกวนจากกิจกรรมมนุษย์

 

สาเหตุความเสื่อมโทรมของทรัพยากรแหล่งหญ้าทะเล   

สาเหตุจากธรรมชาติ

  1. เป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ช่วงปลายฤดูร้อนหญ้าทะเลส่วนเหนือพื้นจะหายไป เหลือแต่รากและส่วนใต้ดิน ส่วนใบจะแตกยอดใหม่ในช่วงหมดมรสุมตะวันออก และเจริญเติบโตเด็มที่ในช่วงปลายฤดูมรสุมตะวันตก
  2. คลื่นมรสุมรุนแรง ทำให้มีการเคลื่อนย้ายของแนวสันทรายและตะกอนธรรมชาติทับถมแนวหญ้าทะเล
  3. ผลกระทบจากปรากฏการณ์น้ำทะเลอุณหภูมิสูง เช่น ในปี 2553

สาเหตุจากมนุษย์

  1. การพัฒนาชายฝั่งทุกรูปแบบที่ทำให้มีตะกอนในน้ำทะเลเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว การสร้างสะพานที่จอดเรือ
  2. การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม บ้านเรือน และการทำนากุ้ง ทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม
  3. การทำประมงผิดกฎหมายในพื้นที่หญ้าทะเล เช่น การใช้อวนลากและอวนรุน

          กรณีศึกษา

          ชุมชนบ้านบางจัน ตำบลหลอยูง จังหวัดพังงา มีจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล หมู่บ้านดังกล่าวไม่เคยมีหญ้าทะเล แต่ชุมชนเขาอยากมี เพราะมันสอดคล้องกับวิถีชีวิตของเขาด้วยโดยส่วนใหญ่หากินทำอวนปูเป็นหลัก หมู่บ้านนี้พื้นทะเลเป็นดินโคลน ทำให้สภาพทรัพยากรในหมู่บ้านนี้ แทบจะไม่มีสัตว์น้ำ เขาต้องแล่นเรือออกไปหาที่หน้าทะเลของหมู่บ้านข้างเคียง ชื่อบ้านเจ้าขรัว ซึ่งมีหญ้าทะเลมาก มีกุ้ง มีปู มากเลย ทำให้ชาวบ้านต้องการมีหญ้าทะเลหน้าหมู่บ้าน เพื่อจะหากินในทะเลหน้าหมู่บ้านได้ ชาวบ้านจึงปลูกหญ้าทะเลเพื่อเป็นแหล่งอาศัยของปู โดยวิธีง่ายๆ คือการทดลองย้ายปลูกหญ้าทะเลแบบเร่งด่วน และปรากฏว่าเกิดความอุดมสมบูรณ์ตามมาจริง มีกุ้ง หอย ปู ปลาเพิ่มขึ้น แต่พอมาเจอสึนามิ ก็ทำให้หญ้าทะเลที่ชาวบ้านปลูกไว้เสียหาย พอสมควรและส่วนหนึ่งก็เกิดจากอวนรุนด้วย (ที่มา : www.thaingo.org)

 

           องค์กรที่เกี่ยวข้องหญ้าทะเล

  • คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 
  • กรมอุทยาน สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
  • กรมประมง
  • สมาคมหยาดฝน
  • องค์กรความร่วมมือเพื่อการพื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน
  • เครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน
  • มูลนิธิรักษ์ไทย
  • โครงการความมั่นคงทางด้านอาหารของชุมชนประมงชายฝั่งอ่าวพังงา
  • มูลนิธิกองทุนไทย
  • หน่วยงานระหว่างประเทศได้แก่ UNDP และ WWF

 

ที่มา:

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน. 2552. แนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรแหล่งหญ้าทะเล. [ออนไลน์]http://km.dmcr.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=111:2009-05-06-09-26-40&catid=91:2009-02-16-08-36-41&Itemid=28.

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. "รายงานการสำรวจและประเมินสถานภาพและศักยภาพทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง : ปะการังและหญ้าทะเล ปี 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dmcr.go.th/detailLib/2249/. สืบค้น 10 มีนาคม 2561

 

 

 

 


bottom

top

Latest News

Popular


bottom