พิมพ์

 

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

              หมาย ถึง พื้นที่ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัย เพื่อว่าสัตว์ป่าในพื้นที่ดังกล่าวจะได้มีโอกาสสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ตาม ธรรมชาติได้มากขึ้น ทำให้สัตว์ป่าบางส่วนได้มีโอกาสกระจายจำนวนออกไปในท้องที่แหล่งอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับเขตรักษาพันธุ์-สัตว์ป่า

              การกำหนดให้มีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สืบเนื่องมาจากการที่สัตว์ป่าจะสามารถดำรงชีพและสืบเชื้อสายต่อไปได้ จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ แหล่งน้ำ แหล่งอาหาร แหล่งหลบภัย ป่าไม้เป็นแหล่งกำเนิดปัจจัยดังกล่าว ซึ่งดูยิ่งจะเพิ่มความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งต่อสัตว์ป่า เมื่อป่าไม้ถูกทำลายลงสัตว์ป่าก็ต้องต่อสู้กันเพื่อแก่งแย่งแหล่งน้ำ แหล่งอาหารที่มีจำกัด ทำให้สัตว์ป่ามีสุขภาพอ่อนแอและล้มตายไปมาก ขณะเดียวกับมนุษย์มีการพัฒนาอาวุธปืนและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สำหรับการล่าสัตว์ป่าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เหล่านี้เป็นสาเหตุให้สัตว์ป่าถูกทำลายไปได้โดยง่าย ทำให้สัตว์ป่าบางชนิดปริมาณลดลงอย่างรวดเร็ว จนบางชนิดเกือบสูญพันธุ์หรือบางชนิดก็ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพยายามสงวนและรักษาป่าไม้ไว้ เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ในรูปแบบของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

 

การพิจารณา เลือกพื้นที่เพื่อการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

              อาศัยหลักการที่สำคัญในการ พิจารณาดังนี้ 

              1. เป็นบริเวณที่มีสัตว์ป่าชุกชุมและมีสัตว์ป่าชนิดที่หาได้ยาก หรือกำลังจะสูญพันธุ์อาศัยอยู่ 

              2. เป็นบริเวณที่มีแหล่งน้ำแหล่งอาหารและที่หลบภัยของสัตว์ป่าเพียงพอ 

              3. เป็นพื้นที่ป่าไม้ที่อยู่ห่างไกลจากชุมชนพอสมควร 

              4. มีสภาพป่าหลายลักษณะอยู่ในผืนเดียวกัน เป็นต้นว่ามีทั้งป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า ฯลฯ ซึ่งจะทำให้มีความหลากหลายทางพืชและสัตว์ป่าสูง 

              5. จะต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่อยู่ในกรรมสิทธิ์หรือครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายของ บุคคลใด



ประโยชน์จากการจัดตั้งเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่า

1. เป็นการป้องกันสัตว์ป่าที่หา ได้ยากมิให้ต้องสูญพันธุ์

2. สัตว์ป่าที่มีอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ได้รับความคุ้มครองและปลอดภัยทำให้สามารถสืบพันธุ์และเพิ่มจำนวนมากขึ้น สัตว์ป่าที่เพิ่มขึ้นนี้จะมีโอกาสกระจายไปยังป่าส่วนอื่น ๆ ต่อไป

3. เนื่องจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นต้นน้ำ ลำธาร แหล่งน้ำ ดิน หิน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ จะได้รับการคุ้มครองป้องกันไว้เป็นอย่างดี เป็นการรักษาป่าไม้ไว้ไม่ให้ถูกทำลาย ทำให้ป่าต้นน้ำคงอยู่เพื่อช่วยหล่อเลี้ยงแม่น้ำสายต่าง ๆ ให้มีน้ำไหลตลอดปี

4. บรรดาสัตว์ป่าในเขตรักาาพันธุ์สัตว์ป่า จะเป็นเครื่องดึงดูดให้นักทัศนาจรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าไปเที่ยว ซึ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้กว้างขวางยิ่งขึ้นและ จะนำมาซึ่งรายได้ ของประชาชนในท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย

5. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเป็นเสมือนห้องทดลองสำหรับศึกษาค้นคว้าทางวิทยา ศาสตร์แขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะสาขาชีววิทยา จึงถือได้ว่าการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยรักษา พันธุ์สัตว์ป่า ป่าไม้ แหล่งต้นน้ำลำธาร ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ภายในเขตฯ ให้คงอยู่ตลอดไปได้ รวมทั้งเป็นการช่วยสนับสนุนให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของพระราชบัญญัติสงวนและ คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และเป็นการส่งเสริมวิทยาการด้านสัตว์ป่า และชีววิทยาให้กว้างขวางก้าวหน้ายิ่งขึ้น อนาคตของงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าของประเทศส่วนหนึ่งฝากไว้กับ พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยมีส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่เป็นผู้รับผิดชอบและความ รับผิดชอบอีกส่วนหนึ่ง ที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ ความร่วมมือและให้ความสำคัญต่อป่าอนุรักษ์ในรูปของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งถือว่าเป็นสมบัติส่วนรวมของชาติและของคนไทยทุกคน

 

รายชื่อเขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่อยู่ในจังหวัดชายฝั่งทะเลของประเทศไทย

ภาคกลาง
ที่
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
จังหวัด
อำเภอ
เนื้อที่(ไร่)
1.
จันทบุรี
โป่ง น้ำร้อน มะขาม ท่าใหม่
465,602.00
2.
ชลบุรี
เมือง ชลบุรี ศรีราชา บ้านบึง
90,437.00
3.
ฉะเชิงเทรา
สนาม ชัยเขต ท่าตะเกียบ
674,352.00


สระแก้ว
วัง น้ำเย็น กิ่ง อ.วังสมบูรณ์



จันทบุรี
แก่ง หางแมว



ชลบุรี
บ่อ ทอง



ระยอง
กิ่ง อ.เขาชะเมา อ.แกลง

ภาคใต้
4.
ระนอง
กะ เปอร์
331,456.00


สุราษฎร์ ธานี
บ้าน ตาขุน

5.
สุราษฎร์ ธานี
คีรี รัฐนิคม บ้านตาขุน
722,067.00
6.
ตรัง
กิ่ง อ.นาโยง ย่านตาขาว ปะเหลียน
791,847.00


พัทลุง
เมือง พัทลุง กงหรา ตะโหมด




ปาก พะยูน



สตูล สงขลา
ทุ่ง หว้า ควนกาหลง รัตภูมิ

7.
สงขลา
รัต ภูมิ หาดใหญ่
113,721.00


สตูล
ควน กาหลง

8.
กระบี่
ปลาย พระยา อ่าวลึก เขาพนม
95,988.00


สุราษฎร์ ธานี
พระ แสง

9.
ประจวบ คีรีขันธ์
บาง สะพาน บางสะพานน้อย
415,620.00


ชุมพร
ท่า แซะ

10.
ชุมพร
ท่า แซะ
196,875.00


ระนอง
กระ บุรี

11.
นราธิวาส
ตาก ใบ สุไหงปาดี สุไหงโกลก เมือง
124,275.00
12.
สุราษฎร์ ธานี
ท่า ฉาง บ้านตาขุน คีรีรัฐมนิคม
305,000.00
13.
กระบี่ ตรัง
ลำ ทับ คลองท่อม วังวิเศษ สิเกา
97,700.00
14.
ระนอง
กระ บุรี
211,650.00


ชุมพร
เมือง ชุมพร สวี

15.
นราธิวาส
แว้ง สุคิริน
270,725.00


ยะลา
เบตง

16.
ชุมพร
พะ โต๊ะ ละแม
290,000.00


ระนอง
เมือง กะเปอร์

17.
พังงา
กะ ปง เมือง
138,712.50
รวม
5,336,027.50

ที่มา : สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า http://www.dnp.go.th/wildlifenew/department1.aspx
http://www.talontourthai.com/content/TalonTourThai-Sanctuary/sanctuary.html