.

Hot Issue

สื่อออนไลน์

Search this site

ลงทะเบียน

MKH Update

Visitor


สถานการณ์ป่าชายเลน 2504-2547

 

 จากการสำรวจพื้นที่ป่านชายเลนของประเทศไทยในปี 2504  พบว่ามีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 2,299,375 ไร่ หรือร้อยละ 0.72 ของพื้นที่ประเทศ ในระยะ 25 ปีต่อมาพื้นที่ป่าชายเลนได้ลดลงอย่างรวดเร็ว จากการสำรวจเมื่อ พ.ศ.2529 ปรากฏว่ามีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 1,227,674 ไร่ หรือลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง ต่อมาป่าชายเลนยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มอัตราการบุกรุกเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยในปี 2536 พื้นที่ป่าชายเลนคงเหลือเพียง 1,054,266 ไร่ หรือร้อยละ 0.33 ของพื้นที่ประเทศ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่ถูกทำลาย 1,245,109 ไร่ หรือร้อยละ 54.15 เมื่อเทียบกับปี 2504
 
ในช่วงหลังจากปี 2536 สถานะการณ์ป่าชายเลนเริ่มดีขึ้น  จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.2539 ปรากฏว่ามีพื้นที่ป่าชายเลนเหลือเพียงประมาณ 1,047,390 ไร่ พื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีมากทางภาคใต้ประมาณ 934,220 ไร่ หรือ 89.2 เปอร์เซ็นต์

ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นเนื่องจากได้มีนโยบายการฟื้นฟูป่าชายเลน เช่น การปลูกป่าทดแทนและการลดการบุกรุกทำลายป่ามีผลทำให้ในปี 2543 พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น 2,528 ตารางกิโลเมตร และเพิ่มเป็น 2,785 ตารางกิโลเมตร ในปี 2547 โดยมีพื้นที่เพิ่มขึ้นมากกว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (ปี 2545–2549) ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าควรมีป่าชายเลนทั้งประเทศประมาณ 2,000 ตารางกิโลเมตร (สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2550. ตารางเนื้อที่ป่าไม้จากการแปลภาพดาวเทียม จำแนกตามชนิดของป่า ภูมิภาค และจังหวัดในปี 2547. ตารางสถิติจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ. แหล่งที่มา: http:// www.nso.go.th, 29 สิงหาคม 2550.)

พื้นที่ป่าชายเลนที่ลดจำนวนลงมีสาเหตุจากการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ทั้งโดยการบุกรุกและลักลอบตัดไม้ รวมทั้งการเข้าทำประโยชน์โดยได้รับอนุญาตเพื่อประกอบกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ

                   1) การทำเหมืองแร่

                   2) การสร้างท่าเทียบเรือ

                   3) การสร้างแหล่งชุมชน และก่อสร้างสาธารณูปโภค

                   4) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

                   5) การจัดเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวชายทะเล

หากเทียบอัตราการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนรายจังหวัดในช่วงปี 2518 - 2536 พบว่าจังหวัดชลบุรีมีอัตราลดลงเฉลี่ยต่อปีมากที่สุดถึงร้อยละ 5.42 เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว


ตารางพื้นที่ป่าชายเลนของประเทศไทย (Mangrove Forest Area) ในปี พ.ศ. 2504 – 2547

ปี พ.ศ.
พื้นที่ป่าชายเลน (ไร่)
ตร.กม.
ไร่
ร้อยละของพื้นที่ประเทศ
2504
3,679
2,299,375
0.72
2518
3,127
1,954,375
0.61
2522
2,873
1,795,625
0.56
2529
1,964
1,227,675
0.38
2534
1,736
1,085,050
0.34
2536
1,687
1,054,266
0.33
2539
1,676
1,047,390
0.33
2541
1,676
1,047,244
0.33
2543
2,452
1,532,400
0.48
2547
2,658
1,661,306
0.52

ที่มา : ทะเลไทย. การแพร่กระจายป่าชายเลนในประเทศไทย. ดัดแปลงจาก past.talaythai.com/Education/42620260e/42620260e.php3

 

ตารางอัตราลดลงของพื้นที่ป่าชายเลน ระหว่างปี 2504 - 2539

ช่วงระยะเวลา อัตราลดลง (ไร่) อัตราลดลงฉลี่ยรายปี (ไร่)
2504 - 2518 (14 ปี) 345,000 24,643
2518 - 2522 (4 ปี) 158,750 39,688
2522 - 2529 (7 ปี) 567,950 81,136
2529 - 2534 (5 ปี) 142,625 28,525
2534 - 2536 (2 ปี) 30,784 15,392
2536 - 2539 (3 ปี) 6,876 2,292
2504 - 2539 (35 ปี) 1,251,985 35,771

ที่มา : ทะเลไทย. การแพร่กระจายป่าชายเลนในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก past.talaythai.com/Education/42620260e/42620260e.php3

 

ตารางพื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทย ปี 2543 และ 2552 

จังหวัด
ฝั่งทะเล
พื้นที่ป่าชายเลน (ไร่)
เปลี่ยนแปลง(ไร่)
%เปลี่ยนแปลง
2543 2552
ตราด อ่าวไทย 60,081.24 61,974.19 1,892.95 3.15
จันทบุรี อ่าวไทย 77,456.23 75,428.91 -2,027.32 -2.62
ระยอง อ่าวไทย 12,279.54 11,283.57 -995.97 -8.11
ชลบุรี อ่าวไทย 4,861.90 5,554.41 692.51 14.24
ฉะเชิงเทรา อ่าวไทย 10,476.13 7,309.34 -3,166.79 -30.23
สมุทรปราการ อ่าวไทย 6,936.48 12,524.17 5,587.69 80.56
กรุงเทพมหานคร อ่าวไทย 4,138.30 3,351.79 -786.51 -19.01
สมุทรสาตร อ่าวไทย 18,590.06 25,257.22 6,667.16 35.86
สมุทรสงคราม อ่าวไทย 14,773.72 14,272.75 -500.97 -3.39
เพชรบุรี อ่าวไทย 20,463.39 18,568.75 -1,894.64 -9.26
ประจวบคีรีขันธ์ อ่าวไทย 3,121.88 1,708.58 -1,413.30 -45.27
ชุมพร อ่าวไทย 45,291.80 32,240.11 -13,051.69 -28.82
สุราษฎร์ธานี อ่าวไทย 46,980.59 46,574.20 -406.39 -0.87
นครศรีธรรมราช อ่าวไทย 71,022.09 73,549.60 2,527.51 3.56
พัทลุง อ่าวไทย 698.60 399.98 -298.62 -42.75
สงขลา อ่าวไทย 21,910.29 7,991.95 -13,918.34 -63.52
ปัตตานี อ่าวไทย 26,990.47 21,993.68 -4,996.79 -18.51
นราธิวาส อ่าวไทย   184.49 184.49 100.00
รวมฝั่งอ่าวไทย 446,072.71 420,167.69 -25,905.02 -5.81
ระนอง อันดามัน 170,334.80 154,448.34 -15,886.46 -9.33
พังงา อันดามัน 263,983.37 275,316.68 11,333.31 4.29
ภูเก็ต อันดามัน 11,848.72 12,327.42 478.70 4.04
กระบี่ อันดามัน 221,863.40 218,185.74 -3,677.66 -1.66
ตรัง อันดามัน 228,191.01 220,975.74 -7,215.27 -3.16
สตูล อันดามัน 237,399.80 223,638.95 -13,760.85 -5.80
รวมฝั่งอันดามัน 1,133,621.10 1,104,892.87 -28,728.23 -2.53
รวมในประเทศไทยสองฝั่งทะเล 1,579,693.81 1,525,060.56 -54,633.25 -3.46

 

ที่มา : ดัดแปลงจากตารางแสดงการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลนตารางแสดงการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลน. ฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเล. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. http://www.dmcr.go.th/marinecenter/mangrove/mangrove_report.html

 

ที่มา
กลุ่มระบบงานและฐานข้อมูล กองการอนุญาต. กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. เข้าถึงได้จาก http://www.forest.go.th/permission/mangrove.html. 
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. เข้าถึงได้จาก http://www.deqp.go.th/coastline/plan/. 
มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง สถานภาพปัจจุบันของป่าชายเลน และแผนการจัดการป่าชายเลนของประเทศ. เข้าถึงได้จาก http://www.ryt9.com/s/cabt/203716/ 



bottom

top

Latest News

Popular


bottom