พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site)
พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศเป็นพื้นที่ที่กำหนดขึ้นตามเกณฑ์ของอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ (Ramsar Convention) ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ 11 แห่ง และเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในทะเลและชายฝั่งจำนวน 9 แห่ง ดังนี้
พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศบริเวณทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย
พื้นที่ | ที่ตั้ง | ขนาดพื้นที่ | |
ตร.กม. | ไร่ | ||
1. พรุควนขี้เสียนในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย | ต.ทะเลน้อย ต.พะนางตุง อ.ควนขนุน | 457 | 285,625 |
2. พื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด จ.สมุทรสงคราม | ต.บางจะเกร็ง ต.แหลมใหญ่ ต.บางแก้ว และ ต.คลองโคน | 875 | 546,875 |
3. พื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่ จ.กระบี่ | อ.เมือง จ.กระบี่ | 212.992 | 133,120 |
4. พื้นที่ชุ่มน้ำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (พรุโต๊ะแดง) | อ.ตากใบ สุไหงโก-ลก และสุไหงปาดี จ.นราธิวาส | 201 | 125,625 |
5. พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานหาดเจ้าไหม-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง-ปากแม่น้ำตรัง จ.ตรัง | ต.นาเกลือ ต.ลิบง ต.หาดสำราญ อ.สิเกา อ.ปะเหลียน อ.กันตัง จ.ตรัง | 825.192 | 515,745 |
6. พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติแหลมสน-ปากแม่น้ำกระบุรี-ปากคลองกะเปอร์ จ.ระนอง | อ.กะเปอร์ จ.ระนอง และ อ.คุระบุรี จ.พังงา | 1,084.200 | 677,625 |
7. พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จ.สุราษฎร์ธานี | ต.อ่างทอง อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี | 102 | 63,750 |
9. พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด | กิ่งอำเภอสามร้อยยอด และอำเภอกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ | 400 | 250,000 |
รวมขนาดพื้นที่ | 4,226.604 | 2,641,627.500 |
เกณฑ์สำหรับกำหนดพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar site) สำหรับขึ้นทะเบียนนพื้นชุ่มน้ำระหว่างประเทศ (Ramsar list) ได้แก่ (สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม)
1. เกณฑ์สำหรับประเมินคุณค่าของพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นตัวแทนหรือที่มีเอกลักษณ์ ได้แก่ การเป็นตัวอย่างของพื้นที่ชุ่มน้ำประเภทที่หายากในเขตชีวภูมิศาสตร์ การเป็นตัวอย่างหรือตัวแทนที่ดีของลักษณะพื้นที่ชุ่มน้ำภายในภูมิภาค การเป็นตัวอย่างของพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่สมบูรณ์ มีคุณค่าระดับชาติ มีบทบาทสำคัญทางอุทกวิทยา ชีววิทยา นิเวศวิทยา ในระบบลุ่มน้ำหรือชายฝั่งระหว่างประเทศ การเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีคุณค่าสำคัญทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมภายใต้กรอบการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
2. เกณฑ์สำหรับการใช้พืชหรือสัตว์ในการจำแนกวินิจฉัยพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญ ได้แก่ การเป็นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์สัตว์และพืชที่หายาก มีแนวโน้มสูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์ หรือเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากรสัตว์และพืชดังกล่าวหรือมากกว่าหนึ่งชนิดพันธุ์ในจำนวนที่เหมาะสม การมีคุณค่าพิเศษในการดำรงรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและระบบนิเวศในภูมิภาค การมีคุณค่าพิเศษในฐานะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ในช่วงสำคัญของวงจรชีวิต การมีคุณค่าพิเศษสำหรับชนิดพันธุ์หรือสังคมสัตว์หรือพืชเฉพาะถิ่น (endemic species)
3. เกณฑ์เฉพาะสำหรับการใช้นกน้ำในการจำแนกวินิจฉัยพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญ ได้แก่ การเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยถาวรของนกน้ำชนิดใดๆ 20,000 ตัว การเป็นถิ่นที่ยู่อาศัยประจำของนกน้ำชนิดพันธุ์ในกลุ่มสำคัญซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์หรือความหลากหลายของพื้นที่ชุ่มน้ำ การเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยประจำของนกน้ำร้อยละ 1 ของประชากรของชนิดพันธุ์
4. เกณฑ์เฉพาะสำหรับการใช้พันธุ์ปลาในการจำแนกวินิจฉัยพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญ ได้แก่ การเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสายพันธุ์ ชนิดพันธุ์ หรือวงจรชีวิตและมีสัดส่วนของปลาพื้นเมืองที่มีนัยสำคัญหรือประชากรปลาที่เป็นตัวแทนของพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือมีคุณค่าต่อความหลากหลายทางชีวภาพของโลก การเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ แหล่งเพาะพันธุ์วางไข่ แหล่งอนุบาลตัวอ่อน หรือเป็นเส้นทางอพยพของประชากรปลา
ที่มา : อนุวัฒน์ นทีวัฒนา,2551. พื้นที่คุ้มครองทางทะเลในประเทศไทย : เป้าหมายปี ค.ศ. 2010/2012 ภายใต้กฎหมายว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ.เอกสารเผยแพร่สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ฉบับที่ 35 กรมทรัพยากรทางทะเลและชาบฝั่ง.239 หน้า