.

สื่อออนไลน์

Search this site

ลงทะเบียน

MKH Update

สถิติการเข้าชม



พื้นที่กำหนดมาตรการในการทำการประมง


           พื้นที่กำหนดมาตราการในการทำการประมง จัดเป็นพื้นที่จัดการทรัพยากรประมง จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 [รายละเอียด]  ซึ่งมาตรา 32 เป็นมาตราที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้สำหรับวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการทำการประมง เพื่อประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ พื้นที่คุ้มครองที่จัดตั้งตามมาตรานี้แบ่งออกไดเป็น 3 ประเภท คือ


ประเภทที่ 1 ห้ามใช้เครื่องมือประมงบางประเภทในระหว่างฤดูวางไข่และผสมพันธุ์ของสัตว์น้ำสำคัญทางเศรษฐกิจบางชนิด ตัวอย่างเช่น

  •  ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2518

           เรื่อง ห้ามใช้อวนลากและอวนรุนในพื้นที่ประมาณ 54 ตารางกิโลเมตรนอกฝั่งจังหวัดชลบุรี ระหว่างเดือนกันยายนถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี เพราะเกาะขนาดเล็กในบริเวณนี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลวัยอ่อนหลายชนิด


  •  ประกาศกระทรวงเกษตรแลพสหกรณ์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527

           เรื่อง กำหนดพื้นที่อนุรักษ์ประมาณ 26,400 ตารางกิโเมตรในอ่าวไทย ห้ามมิให้ทำการประมงด้วยเครื่องมืออวนลากทุกชนิดทุกขนาด (ยกเว้นอวนลากคู่) อวนล้อมจับทุกชนิด (ยกเว้นอวนปลากะตักในเวลากลางวัน ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ถึง 31 มีนาคม เท่านั้น) และอวนติดตาที่มีขนาดช่องตาอวนเล็กกว่า 4.7 เซนติเมตร ตลอดแนวชายฝั่ง ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี รวมทั้งอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ถึง 15 พฤษภาคมของทุกปี มาตรการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองปลาผิวน้ำ และปลาหน้าดินหลายชนิดในฤดูวางไข่และเลี้ยงลูกวัยอ่อน เช่น ปลาทู


  •  ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2528

           เรื่อง กำหนดพื้นที่อนุรักษ์ประมาณ 18,000 ตารางกิโลเมตรในทะเลอันดามัน ห้ามมิให้ทำการประมงด้วยเครื่องมืออวนลากทุกชนิดทุกขนาด (ยกเว้นอวนลากคานถ่าง) อวนล้อมจับทุกชนิด (ยกเว้นอวนปลากะตักในเวลากลางวัน) และอวนติดตาที่มีขนาดช่องตาอวนเล็กกว่า 4.7 เซนติเมตร ตลอดแนวชายฝั่ง ตั้งแต่ปลายแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา ไปจนถึงอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ถึง 15 พฤษภาคมของทุกปี มาตรการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองปลาผิวน้ำ และปลาหน้าดินหลายชนิดในฤดูวางไข่และเลี้ยงลูกวัยอ่อน


http://www.fisheries.go.th/marine/KnowladgeCenter/knowledge/Bay/Bay.html


ประเภทที่ 2 ห้ามใช้เครื่องมือประมงบางประเภทในบางบริเวณ ตัวอย่างเช่น

  •   ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 20 กรกาคม พ.ศ. 2515

            เรื่อง กำหนดเขตห้ามใช้เครื่องมืออวนลากและอวนรุนที่ใช้ในเรือยนต์ทำการประมง โดยห้ามใช้เครื่องมือวนลาก อวนรุน ฯลฯ ทำการประมงภายในเขต 3,000 เมตร (75 เส้น) นับจากขอบน้ำตามแนวชายฝั่งขณะทำการประมง และภายในรัศมี 400 เมตร (10 เส้น) นับออกไปจากอาณาเขตที่ตั้งเตรื่องมือประจำที่ทุกชนิด

  •  ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 

            เรื่อง ห้ามมิให้ใช้คราดหอยทุกชนิดในเขต 3,000 เมตรจากชายฝั่ง ตลอดแนวชายฝั่งของไทยทั้งด้านอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน ทั้งนี้ เพราะเครื่องมือดังกล่าวทำลายแหล่งเลี้ยงตัวอ่อนของหอย

  •  ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2528

           เรื่อง ห้ามใข้เครื่องมือประมงประเภทอวนล้อมจับประกอบแสงไฟล่อ ในบริเวณนอกฝั่งจังหวัดตราดในอ่าวไทย เนื่องจากเครื่องมือดังกล่าวทำให้จับปลาขนาดเล็กได้จำนวนมาก


ประเภทที่ 3 การกำหนดที่จับสัตว์น้ำประเภทที่รักษาพันธุ์พืช [รายละเอียด]




ที่มา : อนุวัฒน์ นทีวัฒนา,2551. พื้นที่คุ้มครองทางทะเลในประเทศไทย : เป้าหมายปี ค.ศ. 2010/2012 ภายใต้กฎหมายว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ.เอกสารเผยแพร่สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ฉบับที่ 35 กรมทรัพยากรทางทะเลและชาบฝั่ง.239 หน้า



bottom

top

Latest News

Popular


bottom