คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล (อจชล. เดิม)
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้นำผลการศึกษาโครงการ “สถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของประเทศไทยกับการใช้ทะเลอย่างยั่งยืน” เสนอต่อคณะกรรมการรวมพลังขับเคลื่อนสังคมที่มี นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในขณะนั้น เป็นประธานคณะกรรมการ ข้อเสนอแนะจากโครงการที่สำคัญประการหนึ่งก็คือการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล ต่อมาคณะกรรมการดังกล่าวได้นำเรื่องเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2550 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเลรับเรื่องไปศึกษาและให้นำกลับมาเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้ศึกษาและพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรี และสรุปว่าเนื่องจากคณะกรรมการนโยบายผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลที่เสนอให้จัดตั้งนั้นมีวัตถุประสงค์และองค์ประกอบที่สอดคล้องกับคณะกรรมการอำนวยการและประสานการปฏิบัติตามนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (อปท.) ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่มีอยู่ก่อนแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนจึงเห็นควรปรับเปลี่ยนการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลไปเป็นการจัดตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้ อปท. โดยคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวมุ่งเน้นเป็นหน่วยประมวลความรู้ (Think Tank) เพื่อช่วยจัดการผลประโยชน์ทางทะเลทุกมิติในภาพรวมซึ่งเป็นการเสริมการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของ อปท.ให้มีความครบถ้วนมากยิ่งขึ้น สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้นำข้อสรุปดังกล่าวเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอ จนเกิดเป็น “คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล”
คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงาน ซึ่งรวมทั้ง อาจารย์จากมหาวิทยาลัย ข้าราชการประจำ และข้าราชการเกษียณเข้ามาทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้คณะอนุกรรมการฯ ยังได้แต่งตั้งที่ปรึกษาเพื่อให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในประเด็นที่มีความสำคัญด้านต่างๆด้วย รวมทั้งจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะด้านเพื่อดำเนินงานตามที่คณะอนุกรรมการมอบหมาย
อำนาจหน้าที่คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล (อจชล. เดิม)
ตามคำสั่งของ อปท. ที่ 1/2554 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 กำหนดให้คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. เสนอแนะและให้คำแนะนำทางวิชาการเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ แผนงาน หรือโครงการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล เพื่อความมั่นคงแห่งชาติและการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลในทุกด้านของรัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาชน เพื่อให้การปฏิบัตินโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ แผนงาน หรือโครงการนั้น เป็นไปอย่างบูรณาการสอดคล้องกัน มีการประสานงานกันและมีประสิทธิภาพ
2. ติดตามและประเมินผลในการปฏิบัติตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ แผนงาน หรือโครงการใดๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล
3. ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน หรือองค์กรประชาชนที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ แผนงาน หรือโครงการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
4. ดำเนินการศึกษารูปแบบและให้ข้อเสนอแนะในการจัดตั้งองค์กรอิสระหรือองค์กรในรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลผลประโยชน์ของชาติทางทะเลทั้งหมดอย่างบูรณาการ
5. ดำเนินการให้มีการตรากฎหมายกลางขึ้นใช้บังคับ เพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล ซึ่งกฎหมายดังกล่าวต้องไม่ซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นที่มีอยู่แล้ว
6. ดำเนินการตามที่คณะกรรมการอำนวยการและประสานการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (อปท.) หรือ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ/ประธานกรรมการอำนวยการและประสานการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล มอบหมาย
7. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานอื่นใด ตามที่ประธานมอบหมาย
องค์ประกอบคณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล (อจชล. เดิม)
คำสั่งของ อปท. ที่ 1/2554 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และคำสั่งของ อปท. ที่ 4/2554 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554 ได้กำหนดให้คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล มีองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการดังนี้
1. |
พลเรือตรี ศิริวัฒน์ ธนะเพทย์ |
ประธาน |
||
2. |
นายอนุวัฒน์ นทีวัฒนา |
รองประธาน |
||
3. |
รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นายสุรชัย นิระ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันในขณะนั้น) |
รองประธาน |
||
4. |
พลเรือเอก (ศ.พิเศษ) ถนอม เจริญลาภ (ถึงแก่กรรม) |
อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
||
5. |
ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล |
อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
||
6. |
ศ.กิตติคุณ ดร.ทวีศักดิ์ ปิยะกาญจน์ |
อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
||
7. |
ดร.เทพ เมนะเศวต |
อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
||
8. |
รศ.ดร.พิพัฒน์ ตั้งสืบกุล |
อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
||
9. |
นายจารุอุดม เรืองสุวรรณ |
อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
||
10. |
พลเรือตรี จุมพล ลุมพิกานนท์ |
อนุกรรมการ |
||
11. |
ศ.ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์ |
อนุกรรมการ |
||
12. |
เรือตรี ปรีชา เพ็ชรวงศ์ |
อนุกรรมการ |
||
13. |
ดร.อนุวัฒน์ นทีวัฒนา |
อนุกรรมการ |
||
14. |
ดร.พรชัย ด่านวิวัฒน์ |
อนุกรรมการ |
||
15. |
ดร.วิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ |
อนุกรรมการ |
||
16. |
นายโกมล จิรชัยสุทธิกุล |
อนุกรรมการ |
||
17. |
ดร.สมิท ธรรมเชื้อ |
อนุกรรมการ |
||
18. |
ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ |
อนุกรรมการ |
||
19. |
ผู้แทนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย |
อนุกรรมการ |
||
20. |
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ |
อนุกรรมการ |
||
21. |
ผู้แทนกรมยุทธศึกษาทหารเรือ |
อนุกรรมการ |
||
22. |
ผู้แทนศูนย์ประสานการปฏิบัติในการักษา ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล |
อนุกรรมการ |
||
23. |
ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงกิจการชายแดนและประเทศรอบบ้าน สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ |
อนุกรรมการ |
||
24. | ผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง | อนุกรรมการ | ||
25. | ผู้แทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ | อนุกรรมการ | ||
26. |
ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง |
อนุกรรมการ |
||
27. |
รศ.ดร. เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ |
อนุกรรมการและเลขานุการ |
||
28. |
นางพวงทอง อ่อนอุระ |
อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ |
||
29. |
ผู้แทนสำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงกิจการชายแดนและประเทศรอบบ้าน สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
|
อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
|
การดำเนินงานที่ผ่านมา
คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล ได้ดำเนินการสนับสนุนด้านความรู้และผลประโยชน์ของชาติทางทะเลต่างๆ ผลการดำเนินงานสำคัญ ดังนี้
1. ร่วมกับโครงการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล สกว. จัดประชุมเสวนาชุด “โอกาสและสิ่งท้าทายในการใช้ทะเลของประเทศไทยอยู่ตรงไหน ครั้งที่ 1 : ยุทธศาสตร์ทางทะเล” เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
2. ร่วมกับโครงการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล สกว. จัดประชุมเสวนาชุด “โอกาสและสิ่งท้าทายในการใช้ทะเลของประเทศไทยอยู่ตรงไหน ครั้งที่ 2 : การประมงและทรัพยากรมีชีวิต” เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552
3. ร่วมกับโครงการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล สกว. จัดประชุมเสวนาชุด “โอกาสและสิ่งท้าทายในการใช้ทะเลของประเทศไทยอยู่ตรงไหน ครั้งที่ 3 : การขนส่งทางทะเล” เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552
4. เข้าร่วมการเสวนาเรื่อง “สิทธิเรือประมงไทยในการผ่านน่านน้ำของรัฐชายฝั่ง ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 และการคุ้มครองของรัฐบาลไทย กรณีศึกษา : เรือ อ.ศิริชัยนาวา 18” เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552
5. ร่วมกับโครงการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล สกว. จัดประชุมเสวนาชุด “โอกาสและสิ่งท้าทายในการใช้ทะเลของประเทศไทยอยู่ตรงไหน ครั้งที่ 4 : ทรัพยากรไม่มีชีวิต” เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552
6. เข้าร่วมเป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำร่างยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศึกษาการจัดตั้งหน่วยยามฝั่ง
7. ให้ข้อคิดเห็นทางวิชาการต่อร่างยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (พ.ศ. 2553 - 2559)
8. เสนอให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ จัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับผลประโยชน์และคามมั่นคงของชาติทางทะเล และคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายและองค์กรในการรักษาผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติทางทะเล
9. เข้าร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาสอบสวนและศึกษาการลงนาม การให้สัตยาบันและการอนุวัติกฎหมาย ภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ เพื่อชี้แจงและแสดงความคิดเห็นในเรื่องการแก้ไขกฎหมายภายใน ก่อนการให้สัตยาบันในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982