อนุสัญญาด้านการประมง
(Fisheries)
กฎหมาย/ข้อตกลง | ความสำคัญ/สาระสำคัญ | สถานภาพ (ประเทศไทย) | สถานภาพ (อนุสัญญา) |
ความตกลงเพื่อส่งเสริมการควบคุมเรือประมงที่ทำการประมงในทะเล ให้ปฏิบัติตามมาตรการสากลเพื่อการอนุรักษ์และจัดการประมง พ.ศ. 2536 | สร้างความร่วมมือระหว่างรัฐในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลหลวง โดยเน้นเรื่องการควบคุมเรือ | ยังไม่ได้เป็นภาคี | |
ความตกลงว่าด้วยการปฏิบัติตามบทบัญญัติของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2525 เกี่ยวกับการอนุรักษ์และจัดการประชากรของสัตว์น้ำ ชนิดพันธุ์ที่ข้ามเขตและอพยพย้ายถิ่นไกล พ.ศ.2538 | การอนุรักษ์และจัดการประชากรของสัตว์น้ำ ชนิดพันธุ์ที่ข้ามเขต และอพยพย้ายถิ่น อยู่ระหว่างน่านน้ำอาณาเขตและชนิดพันธุ์ที่ย้ายถิ่นอยู่เสมอ | ยังไม่ได้เป็นภาคี | |
ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ.2536 (Agreement for the Establishment of the Indian Ocean Tuna Commission, 1993) | เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการอนุรักษ์ประชากรทูน่าและชนิดพันธุ์ที่คล้ายทูน่าในมหาสมุทรอินเดีย | เป็นภาคี 17 มีนาคม 2540 | |
จรรยาบรรณในเรื่องการทำประมงอย่างรับผิดชอบขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2538 (FAO Code of Conduct for Responsible Fisheries) | กำหนดหลักการและมาตรฐานที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์การจัดการ และการพัฒนาการประมงที่ครอบคลุมถึงการจับ กระบวนการแปรรูปและการค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การวิจัยทางการประมง และการผสมผสานการประมงกับการจัดการพื้นที่ชายฝั่ง | ประเทศไทยในฐานะสมาชิกของ FAO ต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณฉบับนี้ | เป็นข้อตกลงที่ประเทศสมาชิก FAO รับรองและนำไปปฏิบัติด้วยความสมัครใจไม่มีผลบังคับใช้เป็นกฏหมายระหว่างประเทศ |
แผนปฏิบัติการสากลว่าด้วยการป้องกันลดและเลิกการประมงที่ผิดกฏหมาย การประมงที่ไมปรากฏรายงาน และการประมงที่ไร้กฎเกณฑ์ (International Plan of Action on Prevent, Deter and Eliminate Illegal, Unreported and Unregulated Fishing: IPOA-IUU) | มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันยับยั้งและขจัดการทำการประมงที่ผิดกฎหมายขาดการรายงาน เเละไร้การควบคุม ซึ่งเรียกโดยรวมว่า (Illegal Unreported Unregulated Fishing หรือ IUU Fishing) โดยจะกำหนดมาตรการในการกำหนดความรับผิดของรัฐและเจ้าของธงเรือ มาตรการของรัฐชายฝั่งและของรัฐอื่นในการควบคุมเรือที่ไม่ได้ชักธงของรัฐตน มาตรการเกี่ยวกับการทำความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อกำหนดเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยและการจัดการประมง | ประเทศไทยในฐานะสมาชิกของ FAO ต้องปฏิบัติตามแผนฉบับนี้ | เป็นปฏิบัติการสากลซึ่ง FAO ได้จัดทำขึ้น มีที่มาจากจรรยาบรรณที่ประเทศสมาชิก FAO นำมาเป็นแนวทางอ้างอิงในการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติในประเด็นดังกล่าว (NPOA-IUU) ต่อไป |
แผนปฏิบัติการสากลว่าด้วยการจัดการความสามารถในการจับปลา (International Plan of Action on Management of Fishing Capacity: IPOA-CAPACITY) | มีวัตถุประสงค์ให้ปริมาณผลผลิตที่ได้จากการประมง เป็นการได้มาอย่างมีประสิทธิผล ยุติธรรมและโปร่งใส และยับยั้งการทำการประมงที่ได้มาซึ่งปริมาณผลผลิตที่มากเกินไป จนทำลายปริมาณผลผลิตทางการประมงอย่างยั่งยืน | ประเทศไทยในฐานะสมาชิกของ FAO ต้องปฏิบัติตามแผนฉบับนี้ | เป็นปฏิบัติการสากลซึ่ง FAO ได้จัดทำขึ้น มีที่มาจากจรรยาบรรณที่ประเทศสมาชิก FAO นำมาเป็นแนวทางอ้างอิงในการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติในประเด็นดังกล่าว (NPOA-IUU) ต่อไป |
แผนปฏิบัติการสากลว่าด้วยการอนุรักษ์นกทะเลจากการทำประมงเบ็ดราว (International Plan of Action on Conservation of Seabird in Long-line Fishing: IPOA-SEABIRDS) | มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณนกทะเลที่ติดเบ็ดราวโดยบังเอิญเนื่องจากการทำการประมงเบ็ดราว | ประเทศไทยในฐานะสมาชิกของ FAO ต้องปฏิบัติตามแผนฉบับนี้ | เป็นปฏิบัติการสากลซึ่ง FAO ได้จัดทำขึ้น มีที่มาจากจรรยาบรรณที่ประเทศสมาชิก FAO นำมาเป็นแนวทางอ้างอิงในการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติในประเด็นดังกล่าว (NPOA-IUU) ต่อไป |
แผนปฏิบัติการสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ปลาฉลาม (International Plan of Action on Conservation of Shark: IPOA-SHARKS) | มีวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์และการจัดการเกี่ยวกับการจับปลาฉลามที่เหมาะสม โดยให้ประเทศที่มีการทำการประมงปลาฉลามไม่ว่าด้วยเรือของรัฐตนเองหรือเรือต่างชาติก็ตาม จัดทำแผนระดับชาติเพื่อการอนุรักษ์และการจัดการปริมาณปลาฉลาม | ประเทศไทยในฐานะสมาชิกของ FAO ต้องปฏิบัติตามแผนฉบับนี้ | เป็นปฏิบัติการสากลซึ่ง FAO ได้จัดทำขึ้น มีที่มาจากจรรยาบรรณที่ประเทศสมาชิก FAO นำมาเป็นแนวทางอ้างอิงในการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติในประเด็นดังกล่าว (NPOA-IUU) ต่อไป |