อนุสัญญาด้านการขนส่งทางทะเล
(Maritime transport)
การขนส่งทางทะเลนับว่าเป็นกิจกรรมระหว่างประเทศที่สำคัญที่สุด เนื่องจาก 90% ของสินค้าที่มีการค้าขายระหว่างประเทศต้องใช้การขนส่งทางเรือ ซึ่งต้องผ่านน่านน้ำที่อยู่ในอำนาจอธิปไตยของประเทศต่างๆ เพื่อให้การขนส่งทางทะเลมีความปลอดภัยและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ประเทศต่างๆจึงตระหนักถึงความจำเป็นในการที่จะต้องมีกฏหมายระหว่างประเทศมากำกับการเดินเรือทางทะเลร่วมกัน
เพื่อให้การดำเนินการตามกฏหมายในเรื่องดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้เห็นชอบในการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบในการเดินเรือทางทะเลขึ้นคือ องค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล (Inter Governmental Maritime Consultative Organization: IMCO) เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2502 ต่อมาชื่อขององค์การได้เปลี่ยนเป็น องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO) และในปี พ.ศ.2525 ประเทศไทยสมัครเป็นสมาชิกขององค์การดังกล่าว ในปัจจุบันมีประเทศสมาชิกรวมทั้งสิ้น 158 ประเทศ โดยสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
IMO มีหน้าที่หลักคือ รับผิดชอบเกี่ยวกับอนุสัญญาและพิธีสารที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางทะเล สามารถแบ่งได้เป็น
- ความปลอดภัยทางทะเล (Maritime Safety)
- มลพิษทางทะเล (Marine Pollution)
- ความรับผิดและการชดเชยค่าเสียหาย (Liability and Compensation)
- อื่นๆ
กฎหมาย/ข้อตกลง | ความสำคัญ/สาระสำคัญ | สถานภาพ (ประเทศไทย) | สถานภาพ (อนุสัญญา) |
ความปลอดภัยทางทะเล (Maritime Safety) |
|||
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล พ.ศ.2517 (International Convention for the Safty of Life at Sea, 1974 or SOLAS) |
มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับการต่อเรือ ตลอดจนอุปกรณ์และการปฏิบัติการของเรือซึ่งจะต้องมีความปลอดภัย รัฐเจ้าของธงจะต้องรับผิดชอบในการควบคุมให้เรือของตนปฏิบัติตามข้อกำหนดของอนุสัญญา โดยการออกใบรับรองให้แก่เรือที่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่วางไว้ | ให้สัตยาบัน 18 ธันวาคม 2527 | รับรองในปี 2517 มีการปรับปรุงแก้ไขหลายครั้ง |
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ค.ศ.1979 (International Convention on Maritime Search and Rescue, 1979 or SAR) |
มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการร่วมปฏิบัติการระหว่างรัฐบาลประเทศต่างๆ และระหว่างผู้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลในทะเล โดยการจัดทำแผนการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและหน่วยย่อยต่างๆ กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติในกรณีฉุกเฉินหรือมีเหตุเตือนภัยหรือในขณะปฏิบัติการช่วยเหลือ ซึ่งรวมถึงการกำหนดให้มีผุ้บังคับการในที่เกิดเหตุ (on-scene commander) และหน้าที่ของบุคคลดังกล่าว | มีแผนที่จะเข้าเป็นภาคีี |
รับรอง 27 เมษายน 2522 มีผลบังคับใช้ 22 มิถุนายน 2528 |
มลพิษทางทะเล (Marine Pollution) |
|||
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการเตรียมการปฏิบัติการและความร่วมมือในการป้องกันและขจัดมลพิษน้ำมันพ.ศ.2533 (International Convention on Oil Pollution Preparedness Response and Cooperation, 1990 or OPRC) |
เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการขจัดคราบน้ำมันและมลพิษที่เกิดจากคราบน้ำมัน โดยการจัดทำมาตรการระดับประเทศหรือมาตรการระหว่างประเทศ | 20 เมษายน 2543 |
รับรอง 30 พฤศจิกายน 2533 มีผลบังคับใช้ 13 พฤษภาคม 2538 |
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือพ.ศ.2516 และพิธีสาร พ.ศ. 2521 (International Convention for the Prevention of Pollution from Ships, MARPOL 73/78) |
เป็นมาตรการเพื่อป้องกันมลภาวะจากเรือและกำหนดให้เรือบรรทุกน้ำมันขนาดตั้งแต่ 20,000 dwt ต้องมี Segregated Ballast Tanks (SBT) | ให้สัตยาบันแล้ว | มีผลบังคับใช้ 2 กุมภาพันธ์ 2551 |
อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันมลพิษทางทะเลเนื่องจากการทิ้งวัสดุเหลือใช้และวัสดุอย่างอื่น ค.ศ.1972 (Convention on the Marine Pollution by Dumping of Wastes and Other Matters, 1992 or LDC) |
ควบคุมป้องกันมลภาวะอันเกิดจากการทิ้งวัสดุที่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมในทะเล จากเรืออากาศยานฐานลอยน้ำหรือสิ่งก่อสร้างลอยน้ำใดๆ | ยังไม่ให้สัตยาบัน | 30 สิงหาคม 2518 |
พิธีสารว่าด้วยการเตรียมการปฏิบัติการและความร่วมมือในการป้องกันและขจัดมลพิษจากสารพิษและสารอันตราย พ.ศ. 2543 |
กำหนดกรอบสำหรับความร่วมมือในการต่อสู้กับการเกิดมลพิษทางทะเลที่เกิดจากสารพิษหรือสารอันตราย โดยกำหนดให้เรือมีแผนฉุกเฉินต่อต้านมลพิษในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่เกียวกับ HNS | ยังไม่ให้สัตยาบัน |
15 มีนาคม 2543 มีผลบังคับใช้ 14 มิถุนายน 2550 |
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยระบบกันเพรียงของเรือ (International Convention on the Control of Harmful Anti-fouling Systems on Ships (AFS), 2001 |
การห้ามหรือจำกัดการใช้สารอันตรายที่ใช้ในสีกันเพรียงที่ใช้กับเรือ และเพื่อจัดทำกลไกเพื่อป้องกันการใช้สารอันตรายในระบบกันเพรียงของเรือ | ยังไม่ให้สัตยาบัน |
รับรอง 5 ตุลาคม 2544 มีผลบังคับใช้ 17 กันยายน 2551 |
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดการน้ำอับเฉาและตะกอน |
การป้องกันการลดและการยุติการกระจายของสัตว์น้ำที่มีอันตรายและก่อให้เกิดโรค ด้วยการควบคุมและจัดการน้ำอับเฉาเรือและตะกอนของน้ำอับเฉา | ยังไม่ให้สัตยาบัน |
รับรอง 13 กุมภาพันธ์ 2547 ยังไม่มีผลบังคับใช้ |
ความรับผิดและการชดเชยค่าเสียหาย (Liability and Compensation) |
|||
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งเพื่อความเสียหายจากมลพิษน้ำมัน พ.ศ.2512 (International Convention on Civil Liability for Oil Pollution Damage,1992 or CLC) |
ให้บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากมลพิษน้ำมันเนื่องจากอุบัติเหตุทางทะเลได้รับการชดเชยค่าเสียหาย | อยู่ในระหว่างดำเนินการเข้าเป็นภาคีี | รับรองเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2505 |
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนระหว่างประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหายจากมลพิษของน้ำมัน (International Convention on the Establishment of an International Fund for Compensation for oil Pollution Damage, 1992-FUND) |
จัดตั้งกองทุนระหว่างประเทศเพื่อชดเชยค่าเสียหายจากมลพิษของน้ำมันในกรณีที่เงินชดเชยจากอนุสัญญา CLC ไม่เพียงพอหรือไม่สามารถจ่ายได้ | อยู่ในระหว่างดำเนินการเข้าเป็นภาคี | รับรองเมื่อ 18 ธันวาคม 2514 |
อื่นๆ |
|||
อนุสัญญาเพื่อการปราบปรามการกระทำอันมิชอบต่อความปลอดภัยในการเดินเรือ ค.ศ.1988 (Convention for the Suppression of Unlawful Acts Against the Safety of Maritime Navigations, 1988 or SUA) |
มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรการลงโทษที่เหมาะสมต่อบุคคลที่กระทำการอันมิชอบด้วยกฎหมายแก่เรือ ซึ่งรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ - การยึดเรือโดยใช้กำลังประทุษร้าย - การกระทำที่รุนแรงต่อบุคคลที่อยู่บนเรือและ - การจัดวางหรือติดตั้งอุปกรณ์บนเรือซึ่งอาจทำลายหรือทำให้เรือเกิดความเสียหาย |
มีแผนที่จะเข้าเป็นภาคี |