แนวปะการังในประเทศไทย
สถานภาพปะการังทั่วประเทศไทย ปี 2558
ปัจจัยสำคัญในการฟื้นฟูแนวปะการัง
แนวปะการังเป็นระบบนิเวศที่มีความซับซ้อน และเป็นบริเวณที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดในทะเล ทรัพยากรสัตว์น้ำนานาชนิดจากแนวปะการังถูกนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ทั้งโดยตรงและโดยทางอ้อม ความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการังดึงดูดให้มีการใช้ประโยชน์จากแนวปะการังมากขึ้น ทั้งในด้านการประมง และการท่องเที่ยว ซึ่งมีความสำคัญมากทางเศรษฐกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลเพื่ออุตสาหกรรมและเกษตรกรรมก็ส่งผลกระทบต่อระบบ นิเวศแนวปะการังด้วย แนวปะการังในประเทศไทยมีแนวโน้มจะมีความเสื่อมโทรมมากขึ้นทั้งสาเหตุที่เกิด จากปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น พายุ คลื่นสึนามิ การฟอกขาวของปะการัง (coral bleaching) การโผล่พ้นน้ำในช่วงเวลาที่น้ำลงต่ำมาก การไหลของน้ำจืดลงสู่ทะเล การแย่งพื้นที่โดยสาหร่ายและพรมทะเล และจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การระเบิดปลา การทิ้งสมอเรือในแนวปะการัง การดำน้ำ เรือชนหรือเกยตื้น การเหยียบย่ำและการเก็บสิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง เครื่องมือประมง การขุดร่องน้ำ ขยะ น้ำมัน สารอาหาร ฯลฯ จึงต้องมีการประเมินสถานภาพแนวปะการัง เพื่อกำหนดวิธีการที่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการด้านการใช้ประโยชน์ อนุรักษ์ และฟื้นฟูต่อไป
http://www.wowsumitra.com/tour_details.php?id=82
แนวปะการังมีการเปลี่ยนแปลงสภาพตลอดเวลา ซึ่งอาจเปลี่ยนเป็นในทางที่ดีขึ้นหรือเลวลง การเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติ เช่น พายุพัดทำลาย การอุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติ การะบาดของดาวมงกุฎหนาม หรือจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การประมงผิดวิธีในแนวปะการัง การท่องเที่ยว การลักลอบจับปลาในแนวปะการังหรือลักลอบเก็บปะการัง กิจกรรมจากบนฝั่ง การฟื้นตัวของแนวปะการังสู่สภาพเดิมส่วนใหญ่ใช้เวลานาน ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมหรือยับยั้ง รวมทั้งระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นด้วย
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรายงานว่า ในปี 2549 ฝั่งอ่าวไทยมีพื้นที่แนวปะการังประมาณ 45,500 ไร่ (72.8 ตร.กม.) และฝั่งทะเลอันดามันประมาณ 50,800 ไร่ (81.28 ตร.กม.) รวมพื้นที่แนวปะการังทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามันมีพื้นที่รวมประมาณ 96,300 ไร่ (154.08 ตร.กม.) พบปะการัง 18 วงศ์ 71 สกุล 388 ชนิดในพื้นที่ดังกล่าว สถานการณ์ปะการัง พ.ศ. 2549 - 2553
แนวปะการังของประเทศไทย ในปี 2558 มีการแพร่กระจายบริเวณชายฝั่งและเกาะแก่งต่างๆ ในอ่าวไทย คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 75,590 ไร่ (120.9 ตร.กม.) และทะเลอันดามัน คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 73,365 ไร่ (117.4 ตร.กม.) รวมทั้งสองฝั่งเป็นพื้นที่ประมาณ 148,955 ไร่ (238.3 ตร.กม.) และได้ทำการสำรวจสภาพปะการัง ในพื้นที่ทั้งหมด 47,736 ไร่ (ตารางที่ 1 และ 2)
ชนิดปะการังที่มีรายงานการพบในประเทศไทย รวม 18 วงศ์ 71 สกุล 273 ชนิด โดยในฝั่งทะเลอ่าวไทยพบ 240 ชนิด และฝั่งทะเลอันดามันพบ 269 และชนิดปะการังเด่นที่พบในทะเลประเทศไทย เช่น ปะการังเขากวาง (Acropora spp.) และปะการังโขด (Porites lutea) และอื่นๆ เป็นต้น ดังรูปที่แสดงด้านล่าง
ที่มา: http://www.nemotour.com/knowledge/coral.htm
สถานการณ์ปะการัง พ.ศ. 2549 - 2553
การประเมินสถานภาพปะการัง
ปะการังมีชีวิต(Living Coral) |
ปะการังตาย(Death Coral) |
สถานภาพ |
≥ 3 |
1 |
สภาพสมบูรณ์มาก |
2 |
1 |
สภาพสมบูรณ์ |
1 |
1 |
สภาพสมบูรณ์ปานกลาง |
1 |
2 |
สภาพเสียหาย |
1 |
≥ 3 |
สภาพเสียหายมาก |
*การประเมินสถานภาพปะการังตามอัตราส่วนการปกคลุมที่ใกล้เคียง
สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ประเมินสถานภาพของปะการัง โดยใช้อัตราส่วนระหว่างการปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต และปะการังไม่มีชีวิต ซึ่งแบ่งช่วงสำรวจออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2541 ช่วงที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2551 และช่วงที่ 3 ระหว่างปี พ.ศ. 2554-2558 มีรายละเอียดดังนี้
ปะการังในประเทศไทยในช่วง พ.ศ. 2554 - 2558 มีแนวโน้มเสียหายและเสียหายมากเพิ่มขึ้น โดย พบสัดส่วนความเสียหายประมาณร้อยละ 28.3 และเสียหายมากถึงร้อยละ 50 ในขณะที่สัดส่วนสมบูรณ์ดี และสมบูรณ์มากคิดเป็นร้อยละ 3.7 และ 2 ตามลำดับ
ดัดแปลงจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน, 2558ข
ฝั่งทะเลอ่าวไทยมีพื้นที่ปะการังรวมทั้งหมดประมาณ 75,590 ไร่ และมีการสำรวจในบริเวณฝั่งอ่าวไทยทั้งหมด 34,070 ไร่ โดยแบ่งเป็น อ่าวไทยตะวันออก 7,853 ไร่ อ่าวไทยตอนกลาง 25,558 ไร่ และอ่าวไทยตอนล่าง 659 ไร่ (ตารางที่ 1)
สภาพปะการังปี 2558 แนวปะการังฝั่งตะวันออกและตะวันตกของอ่าวไทย ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ปานกลาง-เสียหายมาก (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 สถานภาพแนวปะการังฝั่งทะเลอ่าวไทย ปี 2558
จังหวัด | พื้นที่ (ไร่) | ปริมาณครอบคลุมพื้นที่ (%) | สถานภาพ | ชนิดเด่น | ||||
ปะการังมีชีวิต | ปะการังตาย | ทราย | หิน | อื่นๆ | ||||
อ่าวไทยตะวันออก | ||||||||
ชลบุรี | 1,627 | |||||||
เกาะครามหาดหน้าบ้าน | 6.1 | 61.8 | 31.9 | 0.0 | 0.2 | เสียหายมาก | ปะการังโขด ปะการังช่องหนาม ปะการังเขากวางโต๊ะ | |
เกาะครามอ่าวพุดซาวัน | 8.7 | 44.7 | 46.6 | 0.0 | 0.0 | เสียหายมาก | ||
เกาะครามน้อยตะวันตก | 28.3 | 56.4 | 14.5 | 0.0 | 0.8 | เสียหาย | ||
เกาะอีร้าด้านตะวันออก | 15.4 | 62.3 | 18.2 | 3.2 | 0.9 | เสียหายมาก | ||
ระยอง | 808 | |||||||
เกาะเสม็ดอ่าวพร้าว | 28.7 | 41.4 | 23.2 | 0.0 | 6.7 | สมบูรณ์ปานกลาง | ปะการังโขด ปะการังดอกไม้ ปะการังดอกเห็ด | |
เกาะเสม็ดอ่าวลูกโยน | 34.1 | 48.0 | 15.9 | 0.0 | 2.0 | สมบูรณ์ปานกลาง | ||
เกาะเสม็ดอ่าวลุงดำ | 33.7 | 61.4 | 4.9 | 0.0 | 0.0 | เสียหาย | ||
เกาะเสม็ดอ่าวกิ่วนอก | 43.7 | 47.2 | 7.3 | 0.0 | 1.8 | สมบูรณ์ปานกลาง | ||
เกาะกุฎีตะวันตก | 45.8 | 37.9 | 15.0 | 0.0 | 1.3 | สมบูรณ์ปานกลาง | ||
เกาะกุฎีตะวันออก | 39.8 | 41.9 | 17.4 | 0.0 | 0.9 | สมบูรณ์ปานกลาง | ||
ตราด | 5,418 | |||||||
เกาะกูดอ่าวสับปะรด | 3,247 | 9.5 | 58.7 | 30.4 | 0.7 | 0.7 | เสียหายมาก | ปะการังโขด ปะการังลายดอกไม้ ปะการังช่องดาว ปะการังดาวใหญ่ ปะการังสมองใหญ่ ปะการังรังผึ้ง |
เกาะกูดอ่าวกล้วย | 6.8 | 58.0 | 34.6 | 0.0 | 0.6 | เสียหายมาก | ||
เกาะกูดอ่าวพร้าว | 20.7 | 63.9 | 14.6 | 0.0 | 0.8 | เสียหายมาก | ||
เกาะกูดอ่าวง่ามโข่ | 23.3 | 45.3 | 22.2 | 9.2 | 0.0 | เสียหาย | ||
เกาะไม้ซี้เล็กด้านใต้ | 2.8 | 46.9 | 47.6 | 2.7 | 0.0 | เสียหายมาก | ||
เกาะกระดานด้านใต้ | 2,171 | 2.1 | 71.2 | 26.7 | 0.0 | 0.1 | เสียหายมาก | |
อ่าวไทยตอนกลาง | ||||||||
ประจวบคีรีขันธ์ | 819 | |||||||
เกาะทะลุอ่าวกรวด | 787 | 78.9 | 10.3 | 0.4 | 0.0 | 10.3 | สมบูรณ์ดีมาก | ปะการังโขด ปะการังช่องแบบเคลือบ ปะการังดอกไม้ ปะการังแผ่นเปลวไฟ ปะการังกาแลคซี่ ปะการังช่องเหลี่ยม ปะการังช่องเล็กแบบเคลือบ |
เกาะสีงข์ ด้านเหนือ | 32 | 55.8 | 38.4 | 0.0 | 0.0 | 5.9 | สมบูรณ์ปานกลาง | |
ชุมพร | 214 | |||||||
เกาะรังกาจิว | 24 | 75.8 | 16.2 | 4.9 | 0.0 | 3.1 | สมบูรณ์ดีมาก | ปะการังโขด ปะการังลายดอกไม้ ปะการังดาวช่องเหลี่ยม ปะการังช่องเหลี่ยม ปะการังกาแลคซี่ ปะการังวงแหวน ปะการังถ้วยสมอง ปะการังผิวยู๋ยี่ ปะการังดอกไม้ทะเลแบบกึ่งก้อน ปะการังลูกโป่งใหญ่ ปะการังดอกกะหล่ำ ปะการังเขากวาง |
เกาะสาก | 22 | 73.0 | 16.4 | 0.0 | 0.0 | 2.6 | สมบูรณ์ดีมาก | |
เกาะอีแรด | 60 | 87.9 | 4.0 | 0.0 | 0.0 | 11.1 | สมบูรณ์ดีมาก | |
เกาะละวะ | 60 | 66.2 | 11.3 | 0.0 | 0.0 | 22.0 | สมบูรณ์ดีมาก | |
เกาะง่ามใหญ่ | 24 | 16.5 | 63.7 | 10.0 | 9.4 | 0.0 | เสียหายมาก | |
เกาะง่ามน้อย | 8 | 50.9 | 40.8 | 2.9 | 3.3 | 2.2 | สมบูรณ์ปานกลาง | |
เกาะทะลุ | 16 | 80.9 | 5.7 | 0.0 | 4.6 | 8.8 | สมบูรณ์ดีมาก | |
สุราษฎร์ธานี | 24,525 | |||||||
เกาะเต่า | 1,993 | ปะการังผิวยู่ยี่ ปะการังเขากวาง ปะการังโขด ปะการังลายดอกไม้ ปะการังเขากวาง ปะการังช่องเล็กแบบเคลือบ ปะการังดาวใหญ่ ปะการังถ้วยสมอง ปะการังวงแหวน ปะการังสมองใหญ่ ปะการังรังผึ้ง ปะการังช่องเล็กแบบเคลือบ ปะการังดอกไม้ทะเลแบบกึ่งก้อน ปะการังวงแหวน ปะการังลูกโป่งเล็ก ปะการังถ้วยหนาม ปะการังสมองร่องยาว ปะการังช่องเหลี่ยม | ||||||
อ่าวหินวง | 51.8 | 31.9 | 7.3 | 0.0 | 9.0 | สมบูรณ์ดี | ||
อ่าวกล้วยเถื่อน | 67.2 | 26.6 | 0.0 | 2.0 | 4.2 | สมบูรณ์ดีมาก | ||
อ่าวลึก | 62.4 | 21.8 | 0.0 | 3.6 | 12.2 | สมบูรณ์ดีมาก | ||
เกาะพะงัน | 7,993 | |||||||
อ่าวกง | 28.1 | 70.4 | 0.0 | 0.0 | 1.5 | เสียหายมาก | ||
อ่าวแม่หาด | 65.7 | 29.0 | 1.2 | 0.0 | 4.1 | สมบูรณ์ดี | ||
หาดยาว | 29.4 | 68.7 | 1.1 | 0.0 | 0.8 | เสียหาย | ||
อ่าววกตุ่ม | 54.1 | 45.4 | 0.0 | 0.0 | 0.5 | สมบูรณ์ปานกลาง | ||
บ้านค่าย | 46.6 | 48.3 | 0.0 | 0.0 | 5.1 | สมบูรณ์ปานกลาง | ||
แหลมริ้น | 57.9 | 57.9 | 38.5 | 0.0 | 3.6 | สมบูรณ์ดี | ||
เกาะกงนุ้ย | 73.3 | 73.3 | 17.3 | 0.0 | 9.4 | สมบูรณ์ดีมาก | ||
เกาะสมุย | 13,777 | |||||||
บ้านบางปอ | 51.6 | 44.2 | 0.0 | 0.0 | 4.2 | สมบูรณ์ปานกลาง | ||
แหลมสอ | 39.4 | 42.8 | 7.9 | 0.0 | 9.9 | สมบูรณ์ปานกลาง | ||
แหลมหนัน | 68.8 | 23.3 | 0.0 | 0.0 | 7.9 | สมบูรณ์ดีมาก | ||
หาดเฉวงเกาะมัดหลัง | 58.5 | 36.2 | 0.0 | 0.0 | 5.3 | สมบูรณ์ดีมาก | ||
เกาะแม่เกาะตะวันออก | 229 | 72.8 | 21.3 | 0.7 | 0.0 | 5.1 | สมบูรณ์ดีมาก | |
เกาะแม่เกาะตะวันตก | 34.9 | 63.5 | 0.0 | 0.0 | 4.6 | เสียหายมาก | ||
เกาะแม่เกาะตะวันตกเฉียงใต้ | 53.1 | 44.3 | 0.0 | 0.0 | 2.6 | สมบูรณ์ปานกลาง | ||
เกาะวัวตาหลับ | 533 | |||||||
อ่าวทองหลาง | 49.2 | 25.4 | 7.5 | 0.0 | 17.9 | สมบูรณ์ดี | ||
อ่าวตาโต๊ะ | 58.6 | 34.3 | 2.1 | 0.0 | 5.0 | สมบูรณ์ดี | ||
อ่าวตาช้วง | 57.7 | 39.6 | 0.0 | 0.0 | 2.7 | สมบูรณ์ปานกลาง | ||
อ่าวบ่อน้ำ | 29.5 | 68.2 | 0.0 | 0.0 | 2.3 | เสียหาย | ||
อ่าวไทยตอนล่าง | ||||||||
นครศรีธรรมราช | 412 | |||||||
เกาะกระใหญ่ตะวันออก | 59.9 | 18.5 | 10.9 | 10.7 | 0.0 | สมบูรณ์ดีมาก | ปะการังจาน ปะการังเขากวางแบบกิ่ง | |
เกาะกระใหญ่ตะวันตก | 91.0 | 7.8 | 0.0 | 1.2 | 0.0 | สมบูรณ์ดีมาก | ||
ระหว่างเกาะกระกลาง และเกาะกระเล็ก | 100.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | สมบูรณ์ดีมาก | ||
เกาะกระเล็กด้านใต้ | 88.4 | 11.2 | 0.0 | 0.3 | 0.0 | สมบูรณ์ดีมาก | ||
สงขลา | 167 | |||||||
เกาะหนู | 71 | 13.2 | 17.2 | 28.5 | 29.5 | 11.6 | สมบูรณ์ปานกลาง | ปะการังก้อน ปะการังจาน ปะการังแผ่น ปะการังโขด |
เกาะแมว | 61 | 21.9 | 19.2 | 19.9 | 33.9 | 5.1 | สมบูรณ์ปานกลาง | |
เกาะขาม | 35 | 58.3 | 17.4 | 15.4 | 5.2 | 3.7 | สมบูรณ์ดีมาก | |
ปัตตานี | 80 | |||||||
เกาะโลซิน | 80 | 51.8-94.7 | 0.51-30.2 | 0-7.4 | 0-22.58 | 0-6.9 | สมบูรณ์ดี-ดีมาก | ปะการังเขากวางแบบกิ่ง ปะการังโขด ปะการังดอกกะหล่ำ |
ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ฝั่งทะเลอันดามันมีพื้นที่ปะการังรวมทั้งหมดประมาณ 73,365 ไร่ และมีการสำรวจในบริเวณฝั่งอันดามันทั้งหมด 13,666 ไร่ (ตารางที่ 2) แนวปะการังฝั่งทะเลอันดามันส่วนใหญ่ ก่อตัวตามชายฝั่งด้านตะวันออกของเกาะต่างๆ เพราะเป็นด้านที่กำบังคลื่นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลอันดามันอยู่ในเขตทะเลลึกได้รับตะกอนฟุ้งกระจายจากพื้นทะเลน้อยกว่าในเขตน้ำตื้น จึงเหมาะแก่การพัฒนาของแนวปะการังมาก เพราะแสงส่องถึงพื้นได้ดี สามารถพบแนวปะการังได้ที่ระดับน้ำลึก 20-30 เมตร ในที่ตื้นพบกระจายที่ระดับน้ำลึก 3-10 เมตร
สถานภาพแนวปะการังปี 2558 แนวปะการังส่วนใหญ่ทุกจังหวัดฝั่งทะเลอันดามันจัดอยู่ในสภาพสมบูรณ์ปานกลาง จังหวัดที่มีแนวโน้มสมบูรณ์ดีมากที่สุดคือจังหวัดสตูล และจังหวัดที่แนวโน้มไปทางเสื่อมโทรมมากที่สุดคือ ภูเก็ต
ตารางที่ 2 สถานภาพแนวปะการังฝั่งทะเลอันดามัน ปี 2558
จังหวัด | พื้นที่ (ไร่) | ปริมาณครอบคลุมพื้นที่ (%) | สถานภาพ | ชนิดเด่น | ||||
ปะการังมีชีวิต | ปะการังตาย | ทราย | หิน | อื่นๆ | ||||
ภูเก็ต | 1,040 | |||||||
อ่าวกะตะ | 93 | 28.4 | 71.6 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | เสียหาย | ปะการังดาวใหญ่ ปะการังดาวเล็ก ปะการังสีน้ำเงิน ปะการังช่องเล็ก ปะการังโขด ปะการังช่องเหลี่ยม ปะการังวงแหวน ปะการังดอกไม้ทะเล ปะการังลายดอกไม้ ปะการังเห็ด ปะการังลายลูกฝูก ปะการังลูกโป่งเล็ก ปะการังถ้วยสมอง ปะการังรังผึ่ง ปะการังกลีบดอกไม้ |
อ่าวกะตะน้อย | 87 | 29.9 | 70.1 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | เสียหาย | |
เกาะแวว | 13 | 39.1 | 60.2 | 0.7 | 0.0 | 0.0 | สมบูรณ์ปานกลาง | |
อาวบางเทา | 213 | 31.5 | 66.8 | 1.7 | 0.0 | 0.0 | เสียหาย | |
อ่าวปาตองเหนือ | 239 | 48.4 | 51.6 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | สมบูรณ์ปานกลาง | |
อ่าวป่าตองใต้ | 395 | 25.4 | 74.6 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | เสียหายมาก | |
ตรัง | 4,644 | |||||||
เกาะรอกใน | 1,344 | 52.8 | 39.0 | 7.8 | 0.0 | 0.0 | สมบูรณ์ปานกลาง | ปะการังดาวใหญ่ ปะการังใบร่องหนาม ปะการังสมองร่องใหญ่ ปะการังถ้วยสมอง ปะการังโขด ปะการังดอกไม้ ปะการังดอกกะหล่ำ ปะการังช่องเหลี่ยม ปะการังแหวน ปะการังดอกไม้ทะเล ปะการังกาแล็กซี่ ปะการังดาวเล็ก ปะการังเคลือบหนาม ปะการังลายดอกไม้ ปะการังเห็ด |
เกาะกระดาน | 781 | 49.1 | 38.6 | 12.3 | 0.0 | 0.0 | สมบูรณ์ปานกลาง | |
เกาะมุกต์ | 361 | 39.6 | 60.4 | - | 0.0 | 0.0 | สมบูรณ์ปานกลาง | |
เกาะตะลิบง | 1,057 | 33.2 | 55.3 | 11.5 | 0.0 | 0.0 | เสียหาย | |
เกาะไหง | 1,031 | 47.1 | 51.8 | 1.1 | 0.0 | 0.0 | สมบูรณ์ปานกลาง | |
สตูล | 7,982 | |||||||
เกาะราวี | 2,430 | 47.7 | 23.7-43.1 | 9.1-28.5 | 0.0 | 0.2 | สมบูรณ์ปานกลาง-ดี | ปะการังโขด ปะการังผิวยู่ยี่ ปะการังดาวใหญ่ ปะการังรังผึ่ง ปะการังลายดอกไม้ ปะการังถ้วยสมอง ปะการังเขากวาง ปะการังช่องเล็ก ปะการังวงแหวน ปะการังหนามขนุน ปะการังดาวเล็ก ปะการังลูกโป่งเล็ก ปะการังช่องเหลี่ยม ปะการังสีน้ำเงิน ปะการังเห็ด ปะการังดอกกะหล่ำ |
เกาะอาดัง | 2,816 | 37.9-64.1 | 32.4-48.4 | 3.5-16.9 | 0.0 | 0.0 | สมบูรณ์ปานกลาง-ดี | |
เกาะหลีเป๊ะ | 1,205 | 42.5-66.0 | 23.9-35.4 | 10.1-22.1 | 0.0 | 0.0 | สมบูรณ์ปานกลาง-ดีมาก | |
เกาะบูตัง | 823 | 64.2 | 31.8 | 4.0 | 0.0 | 0.0 | สมบูรณ์ดี | |
เกาะหินงาม | 68 | 75.8 | 22.2 | 2.0 | 0.0 | 0.0 | สมบูรณ์ดีมาก | |
เกาะบิสซี่ | 367 | 54.9 | 17.3 | 27.8 | 0.0 | 0.0 | สมบูรณ์ดีมาก | |
เกาะตาลัง | 22 | 57.2 | 13.5 | 29.3 | 0.0 | 0.0 | สมบูรณ์ดีมาก |
ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว ปี 2553
ปี 2553 เกิดเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวเป็นวงกว้าง จากอุณหภูมิน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การฟอกขาวเกิดขึ้นทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จากการสำรวจโดยหลายหน่วยงานพบว่าในแต่ละพื้นที่มีการฟอกขาวมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดปะการังที่ปกคลุมพื้นที่ว่าเป็นพวกที่ไวต่อการฟอกขาวเพียงใด เช่น ปะการังเขากวาง (Acropora sp.) เป็นชนิดที่ไวต่อการฟอกขาว พื้นที่ที่พบปะการังเขากวางเป็นชนิดเด่นจะได้รับผลกระทบจากการฟอกขาวมาก ลักษณะการก่อตัวแนวปะการังถือเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการฟอกขาว แนวปะการังที่ได้รับอิทธิพลจากคลื่นลมอยู่เสมอจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า เพราะเป็นด้านที่อุณหภูมิไม่สูงอยู่ตลอดเวลา เช่น ด้านตะวันตกของเกาะต่างๆในทะเลอันดามัน
เมื่อประมาณภาพรวมทั่วประเทศ พบว่าปะการังแต่ละแห่งมีการฟอกขาวมากถึงร้อยละ 30 – 95 พบปะการังเกือบทุกชนิดฟอกขาวหมด ยกเว้นเพียง 3 – 4 ชนิดที่ทนต่อการฟอกขาวได้ เช่น ปะการังสีน้ำเงิน (Heliopora coerulea) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona decussata) และปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora)
การฟื้นฟูปะการัง คือการทำให้แนวปะการังกลับมามีสภาพความอุดมสมบูรณ์และสามารถเอื้อประโยชน์ในแง่ต่าง ๆ ให้กับสิ่งมีชีวิตในทะเลรวมไปถึงมนุษย์ การฟื้นฟูสามารถดำเนินการได้หลายวิธี ได้แก่
1. การป้องกันและลดปัจจัยสาเหตุของการเสื่อมโทรมของแนวปะการัง ได้แก่ การจัดการพื้นที่แนวปะการัง เช่น การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์ให้มีความเหมาะสมตามลักษณะพื้นที่ การผูกทุ่นเพื่อจอดเรือแทนการทิ้งสมอ การควบคุมไม่ให้มีน้ำเสีย ขยะ และตะกอนลงสู่ทะเลหรือแนวปะการัง วิธีเหล่านี้เป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดในการป้องกันและรักษาแนวปะการังไว้
2. การฟื้นฟูปะการังที่ดำเนินการกับแนวปะการังโดยตรง แบ่งได้เป็น
2.1 การฟื้นฟูทางกายภาพ (Physical restoration) เป็นการปรับปรุงสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการฟื้นตัวของปะการัง ได้แก่
- การปรับพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปให้เหมาะสมต่อการฟื้นตัวตามธรรมชาติของปะการัง เช่น การที่นักดำน้ำร่วมกันพลิกปะการังที่ล้มคว่ำให้กลับสู่สภาพที่จะเจริญเติบโตได้ต่อไปตามธรรมชาติ การเก็บขยะในแนวปะการัง นับเป็นการฟื้นฟูรูปแบบหนึ่งที่ทำให้ปะการังสามารถดำรงชีวิตและเติบโตต่อไปได้ตามธรรมชาติ
- การสร้างพื้นที่ลงเกาะให้กับปะการัง ในรูปของปะการังเทียมโดยใช้วัสดุต่าง ๆ เช่น หิน เซรามิค คอนกรีต นอกจากนี้การใช้ปะการังเทียมอาจมีวัตถุประสงค์นอกเหนือไปจากการเพิ่มพื้นที่ลงเกาะสำหรับปะการัง ได้แก่ การเป็นแหล่งอาศัยสัตว์น้ำอื่น ๆ การทำประมงพื้นบ้าน ป้องกันเครื่องมือประเภทอวนลาก เป็นแหล่งดำน้ำเพื่อลดการใช้ประโยชน์ของนักดำน้ำในแนวปะการังธรรมชาติ
ในบางครั้งการฟื้นฟูทางกายภาพเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอที่จะทำให้การฟื้นตัวของแนวปะการังเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการฟื้นฟูทางชีวภาพต่อไป
2.2 การฟื้นฟูทางชีวภาพ (Biological restoration) เป็นการฟื้นฟูที่ตัวปะการังโดยตรง ซึ่งวิธีที่ดำเนินการในปัจจุบัน ได้แก่การย้ายปะการังบางส่วนจากแหล่งที่มีความสมบูรณ์ไปยังบริเวณที่ต้องการฟื้นฟู โดยมีหลักสำคัญคือต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริเวณที่เป็นแหล่งพันธุ์ (donor reef area) ซึ่งการฟื้นฟูวิธีนี้ในประเทศไทยมีวิธีดำเนินการหลากหลายรูปแบบ
ปัจจัยสำคัญในการฟื้นฟูแนวปะการัง
1. ความเหมาะสมของพื้นที่และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการพัฒนาของแนวปะการัง
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ได้แก่ บริเวณที่มีน้ำใส มีแสงส่องถึงในปริมาณพอเหมาะ มีความเค็มคงที่ในช่วง 30-36 ส่วนในพันส่วน (ppt) อุณหภูมิน้ำทะเลอยู่ในช่วง 25-30 องศาเซลเซียส กระแสน้ำและคลื่นลมไม่รุนแรงเกินไป มีพื้นทะเลมั่นคงพอที่ปะการังจะลงเกาะ หลายพื้นที่ชายฝั่งของไทย ปะการังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แต่ไม่สามารถพัฒนาเป็นแนวปะการังได้ ดังนั้นการฟื้นฟูแนวปะการังจึงต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมของพื้นที่และสิ่งแวดล้อมบริเวณนั้นเป็นอันดับแรก โดยทั่วไปมักเป็นบริเวณที่เคยมีแนวปะการังอยู่ก่อนแล้วแต่เกิดความเสื่อมโทรมลงด้วยสาเหตุต่าง ๆ
แนวปะการังน้ำตื้นชายฝั่งส่วนใหญ่ที่มักได้รับผลกระทบจากตะกอนตามธรรมชาติ แต่แนวปะการังเหล่านี้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมบริเวณชายฝั่งและพัฒนาเติบโตต่อไปได้ และยังเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ แต่อาจมีสภาพไม่สวยงามเท่ากับแนวปะการังที่อยู่ในบริเวณที่ไกลจากชายฝั่งซึ่งได้รับอิทธิพลจากตะกอนน้อยกว่า แนวปะการังหลายบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากตะกอนชายฝั่งเหล่านี้ถือว่าเป็นสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติที่อาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าฟื้นฟู
2. สาเหตุและแก้ไขสาเหตุความเสื่อมโทรมของแนวปะการัง
การฟื้นฟูแนวปะการังอย่างยั่งยืน ต้องแก้ไขที่ต้นเหตุความเสื่อมโทรมของแนวปะการังในบริเวณที่จะฟื้นฟู โดยเฉพาะบริเวณที่แนวปะการังเสื่อมโทรมจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งเกิดการเสื่อมโทรมอย่างต่อเนื่องทำให้สิ่งแวดล้อมบริเวณนั้นเสียหายอย่างมาก จนยากที่จะฟื้นฟูได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น การชะล้างตะกอนจากชายฝั่งจากการเปิดหน้าดิน การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ง การปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเล การนำเรือผ่านเข้าออกในแนวปะการัง การทิ้งสมอลงในแนวปะการัง หากแก้ไชสาเหตุของปัญหาได้การฟื้นฟูแนวปะการังในบริเวณนั้นก็จะประสบความสำเร็จ
3. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองปะการังอยู่หลายฉบับ ทั้งการคุ้มครองตัวปะการังมีชีวิตและซากปะการัง กฎหมายคุ้มครองพื้นที่และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับแนวปะการังในบางพื้นที่ การดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับปะการังควรต้องคำนึงถึงเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ด้วย โดยเฉพาะพื้นที่อุทยานแห่งชาติเนื่องจากการฟื้นฟูปะการังไม่ได้อยู่ในข้อยกเว้นเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย
4. ความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่
ความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการฟื้นฟูแนวปะการัง เนื่องจากการฟื้นฟูปะการังเป็นกิจกรรมที่ใช้ทั้งแรงงาน เวลา และงบประมาณในการฟื้นฟูสูง การได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ทำให้การฟื้นฟูประสบความสำเร็จได้ง่ายการการดำเนินการผ่ายเดียว โดยเฉพาะการฟื้นฟูปะการังโดยชุมชนที่ตระหนักถึงความสำคัญของแนวปะการังในพื้นที่ของตนและมีศักยภาพในการดำเนินการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง เช่น การร่วมกันดูแลสภาพแวดล้อม การสอดส่องไม่ให้มีกิจกรรมที่การทำลายปะการังเกิดในพื้นที่ ไปจนถึงการร่วมดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูปะการัง การดูแลพื้นที่ฟื้นฟู และร่วมกันวางแผนจัดการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่ดำเนินการฟื้นฟูปะการัง
5. วิธีการที่เหมาะสมในการฟื้นฟูปะการังในแต่ละพื้นที่
สภาพแวดล้อมแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำและพื้นท้องทะเล ชนิด จำนวนและที่มาตัวอ่อนปะการังที่มีอยู่ในมวลน้ำที่แตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่และฤดูกาล เป็นต้น ดังนั้นการฟื้นฟูปะการังจึงควรปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือวิธีการให้ความเหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ ภายใต้พื้นฐานทางวิชาการ แม้ในต่างประเทศเองก็ยอมรับว่าการฟื้นฟูโดยการปลูกปะการังยังสามารถทำได้ในระดับการศึกษาวิจัยเท่านั้น เนื่องจากใช้งบประมาณ กำลังคน เวลามาก และไม่มีสิ่งที่จะรับประกันความสำเร็จในระยะยาว
6. การประเมินความสำเร็จของการดำเนินงาน
การประเมินความสำเร็จในการฟื้นฟูแนวปะการังควรกำหนดขอบเขตและเป้าหมายของการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมและสามารถตรวจวัดได้ เช่น การกำหนดขอบเขตพื้นที่ดำเนินการ ความแตกต่างของพื้นที่ฟื้นฟูกับบริเวณใกล้เคียงที่ไม่ได้ทำการฟื้นฟูภายในระยะเวลาต่าง ๆ อาจพิจารณาจากอัตรารอดของปะการังแต่ละพื้นที่ โครงสร้างสังคมสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้น องค์ประกอบชนิดของสัตว์น้ำที่เปลี่ยนแปลงไป รูปแบบการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ ฯลฯ ควรกำหนดช่วงเวลาการสำรวจทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการฟื้นฟูในระยะเวลาต่างๆ และมีการติดตามข้อมูลเป็นครั้งคราวอย่างต่อเนื่อง
การฟื้นฟูที่ดำเนินการกับปะการังโดยตรง ไม่ใช่วิธีการหลักในการแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของแนวปะการัง แต่ควรเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะทำเพื่อให้ได้แนวปะการังกลับคืนมา
ที่มา :
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. 2550. รายงานสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2550. สืบค้นจาก http://www.dmcr.go.th/pr/webpage/pr_FreeMedias.htm (28 มิ.ย.54)
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. รายงานเบื้องต้นผลกระทบการเกิดปะการังฟอกขาวปี 2553. สืบค้นจากฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง http://www.dmcr.go.th/marinecenter/coral-lesson6.php (28 มิ.ย.54)
กรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่ง , 2551. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำแผนฟื้นฟูเเนวปะการัง.155 หน้า.
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. ระบบฐานข้อมูลกลางและมาตรฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. "ปะการัง" [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: http://km.dmcr.go.th/th/c_3. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2561
นลินี ทองแถม. การฟื้นฟูปะการังและปัจจัยที่ควรพิจารณา. สืบค้นจาก http://km.dmcr.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=109:2009-04-30-08-53-59&catid=81:2009-02-16-07-56-26&Itemid=28 (4 ก.ค.54)