หญ้าทะเลถือเป็นทรัพยากรที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญมาก ในปัจจุบันแหล่งหญ้าทะเล เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ทะเลและสัตว์น้ำ เศรษฐกิจ อันได้แก่ กุ้ง หอย ปู และปลา หญ้าทะเลยังเป็นอาหารสำคัญของพะยูนและเต่าทะเล เป็นแหล่งวางไข่ แหล่งอนุบาลตัวอ่อน และที่อยู่อาศัยของปลา กุ้ง หมึก ปูม้า หอยชนิดต่างๆ ไส้เดือนทะเล ตลอดจนสัตว์เล็กๆ นานาชนิด และเป็นแหล่งอาหาร แหล่งทำมาหากินที่สำคัญของชุมชนชายฝั่งทะเล
แหล่งหญ้าทะเลเป็นระบบนิเวศแรกที่รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ บนแผ่นดิน ทั้งที่เกิดจากมนุษย์และเกิดตามธรรมชาติ ชุมชนส่วนใหญ่จะตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล การพัฒนาด้านเกษตรกรรมต่างๆ ทั้งเพาะปลูก และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น กุ้งทะเล ล้วนมีผลกระทบต่อพื้นที่หญ้าทะเลทั้งสิ้น แหล่งหญ้าทะเลและป่าชายเลนจึงเสมือนเป็นประตูกั้นระหว่างกิจกรรมต่างๆ บนฝั่งกับทะเล ซึ่งรวมถึงแนวปะการังด้วย
ระบบนิเวศหญ้าทะเลมีความสำคัญในด้านเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย เลี้ยงตัวอ่อนสัตว์น้ำ และแหล่งหากินของสัตว์ทะเลนานาชนิด โดยเฉพาะปลาทะเล กลุ่มกุ้งทะเล และปูม้า ไม่เพียงเฉพาะกลุ่มสัตว์น้ำขนาดเล็กที่กล่าวถึง แต่ยังมีสัตว์น้ำขนาดใหญ่เช่นเต่าทะเล และพะยูน รวมถึงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ อันได้แก่ ปลา กุ้ง ปู และหอยหลายชนิด และยังมีส่วนช่วยในการกรองและปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วย เพราะหญ้าทะเลมีระบบรากที่คอยยึดจับเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินได้เป็นอย่างดี
ในน่านน้ำไทย พบหญ้าทะเลรวม 12 ชนิดพันธุ์ จากจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 58 ชนิดพันธุ์ที่พบทั่วโลก ในทะเลฝั่งอันดามันพบหญ้าทะเล 11 ชนิด ขาดเพียงชนิดเดียวคือหญ้าตะกานน้ำเค็ม (Ruppia maritima) ซึ่งพบเฉพาะทางฝั่งอ่าวไทยเท่านั้น
หญ้ากุยช่ายทะเล Halodule uninervis |
หญ้ากุยช่ายเข็ม Halodule pinifolia |
http://www.iucnredlist.org/apps/redlist/details/173328/0 |
http://www.eol.org/pages/62639 |
หญ้าใบมะกรูด หรือ หญ้าอำพัน Halophila ovalis |
หญ้าเงาใบเล็ก Halophila minor |
www.habitatnews.nus.edu.sg |
http://www.flickr.com/photos/guampedia/3988397577/ |
หญ้าเงาแคระ Halophila beccarii |
หญ้าเงาใส Halophila decipiens |
http://wondercreation.blogspot.com/2011/05/chek-jawa-on-hot-scorching-morning.html |
http://www.wildsingapore.com/wildfacts/plants/seagrass/decipiens.htm |
หญ้าชะเงาใบมน Cymodocea rotundata |
หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย Cymodocea serrulata |
http://wondercreation.blogspot.com/2009/12/slow-and-easy-at-tanah-merah.html |
http://www.seagrasswatch.org/id_seagrass.html |
หญ้าคาทะเล Enhalus acoroides |
หญ้าชะเงาเต่า Thalassia hemprichii |
http://naturescouter.blogspot.com/2008/02/team-seagrass-p-semakau.html |
http://www.algaebase.org/search/species/detail/?species_id=21548 |
หญ้าต้นหอมทะเล Syringodium isoetifolium |
หญ้าตะกานน้ำเค็ม Ruppia maritima |
http://www.algaebase.org/search/species/detail/?species_id=21542 |
http://flora.nhm-wien.ac.at/Seiten-Arten/Ruppia-maritima.htm |
สามารถพบสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์อย่างเช่น เต่าทะเลบางชนิด และ พะยูน ได้ในพื้นที่หญ้าทะเลบางแห่ง สัตว์ทะเลทั้งสองชนิดนี้จะกินหญ้าทะเลเป็นอาหารโดยตรง ประชากรของเต่าทะเลและพะยูนกำลังลดลงเรื่อยๆ ซึ่งมักจะเสียชีวิตจากการติดเครื่องมือประมงบางชนิดเช่น อวนทับตลิ่ง อวนรุน อวนลอย และโป๊ะน้ำตื้นของชาวประมงโดยบังเอิญ
ในประเทศไทยพบหญ้าทะเลได้ในหลายพื้นที่ เช่น แหล่งน้ำกร่อย หรือปากแม่น้ำที่ติดป่าชายเลน ชายฝั่งน้ำตื้นที่มีพื้นทรายหรือทรายปนโคลน และที่ลึกติดกับแนวปะการัง สภาพแหล่งหญ้าทะเลโดยทั่วไปทางฝั่งทะเลอันดามันมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าทางฝั่งอ่าวไทย มีพื้นที่ทั้งหมด 35,290 ไร่
ฝั่งทะเลอันดามันพบหญ้าทะเลในพื้นที่ชายทะเลและเกาะต่างๆ ทุกจังหวัด ตั้งแต่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล โดยแหล่งหญ้าทะเลผืนใหญ่ที่สุดในน่านน้ำไทยคือ บริเวณเกาะตะลิบง จังหวัดตรัง
ส่วนทะเลฝั่งอ่าวไทยพบหญ้าทะเลทั่วไปตามจังหวัดชายฝั่งทะเล 13 จังหวัดและเกาะบางแห่ง ได้แก่ จังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส
แผนที่แสดงแหล่งหญ้าทะเลในประเทศไทย
ตารางสรุปสถานภาพแหล่งหญ้าทะเล ประจำปี 2549
ตารางสรุปสถานภาพปัจจุบันของแหล่งหญ้าทะเล ประจำปี 2558
จังหวัด /บริเวณที่พบ | พื้นที่ (ไร่) | พื้นที่ปกคลุม (%) | สถานภาพ | แนวโน้มเที่ยบกับในอดีต | สาเหตุความเสื่อมโทรม | ชนิดหญ้าทะเลที่พบ |
ตราด | ||||||
อ่าวธรรมชาติ |
250 |
40 |
+++ |
N |
ถูกคุกคามโดยมนุษย์ สาเหตุจากการประมงจากการวางอวนปู และขุดเหง้าหญ้าไปตากขายทำยาจีน |
หญ้าคาทะเล |
จันทบุรี | ||||||
อ่าวคุ้งกระเบน |
1,245 |
60 |
+++ |
N |
ถูกคุกคามโดยมนุษย์สาเหตุจากการประมงคราดหอยและ วางลอบปู |
หญ้ากุยช่ายทะเล หญ้าคาทะเล |
ระยอง | ||||||
อ่าวป้อม |
84 |
35 |
++ |
+ |
ตะกอนจากการขุดรอกร่องน้ำและเปลือกหอยนางรมที่ชาวบ้านมาเคาะหาหอยแล้วทิ้งไว้ และเปลี่ยนแปลแปลงตามฤดูการ |
หญ้ากุยช่ายทะเล
|
ร็อคการ์เด้น-เขา ฆ้อ |
53 |
25-30 |
++ |
N |
เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล |
|
วังแก้วรีสอร์ท |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
- |
เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล |
|
หาดทรายแก้ว |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
- |
เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล |
|
ปากน้ำประแส |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
- |
เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล |
|
ชลบุรี | ||||||
ท่าเทียบเรือจุก เสม็ด |
8 |
45 |
- |
- |
เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล |
หญ้ากุยช่ายเค็ม
|
อ่าวทุ่งโปรง |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
- |
เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล |
|
บางเสร่-หาดยาว |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
- |
เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล |
|
อ่าวเตยงาม |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
- |
เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล |
|
เพชรบุรี | ||||||
บางกราน้อย- บางการใหญ่ |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
- |
แหล่งหญ้าทะเลหายไปเนื่องจากสภาพพื้นทะเลเปลี่ยนจากการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นใต้น้ำ |
หญ้าตะกานน้ำเค็ม |
หาดเจ้าสำราญ* |
20 |
17 |
N |
|
||
ชุมพร | ||||||
ปากน้ำละแม |
2,800 |
45 |
++ |
N |
เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล |
หญ้าเงาใส |
สุราษฎร์ธานี | ||||||
อ่าวบ้านดอน (บางชนะ) |
1,950 |
70 |
+++ |
N |
เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล |
หญ้าใบพาย หญ้าคาทะเล หญ้าชะเงาเต่า หญ้าใบมะกรูด หญ้ากุยช่ายทะเล หญ้าชะเงาใบมน |
เกาะพงัน |
1,900 |
50-90 |
+++ |
N |
บางพื้นที่ได้รับผลกระทบจากตะกอนการพัฒนาชายฝั่ง |
|
นครศรีธรรมราช | ||||||
เกาะท่าไร |
95 |
37-42 |
++ |
N |
เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล |
หญ้ากุยช่ายเข็ม หญ้ากุยช่ายทะเล หญ้าคาทะเล หญ้าชะเงาเต่าหญ้าใบมะกรูด |
อ่าวเหล็ด* |
2.7 |
25 |
N |
|
- |
|
ระนอง | ||||||
อ่าวบางเบน |
880 |
22-36 |
N |
- |
อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงตามฤดูการ |
หญ้าใบพาย หญ้าใบมะกรูด หญ้าคาทะเล |
พังงา | ||||||
อ่าวทุ่งนางดำ |
2,426 |
30-62 |
++ |
+ |
- |
หญ้ากุยช่ายเข็ม หญ้ากุยช่ายทะเล หญ้าคาทะเล หญ้าเงาใส หญ้าชะเงาใบเลื่อย หญ้าชะเงาใบมน หญ้าต้นหอมทะเล หญ้าใบพาย หญ้าใบมะกรูด |
เกาะระ |
88 |
- |
N |
N |
- |
|
เกาะพระทอง |
2,162 |
26-45 |
++ |
N |
- |
|
ชายฝั่งคุระบุรี |
1,858 |
- |
N |
N |
- |
|
ภูเก็ต | ||||||
อ่าวป่าคลอก |
1,569 |
24 |
N |
+ |
- |
หญ้ากุยช่ายเข็ม หญ้ากุยช่ายทะเล หญ้าคาทะเล หญ้าเงาใบเล็ก หญ้าชะเงาเต่า หญ้าชะเงาใบเลื่อย หญ้าชะเงาใบมน หญ้าใบพาย หญ้าใบมะกรูด |
อ่าวตั้งเขน |
119 |
33 |
++ |
+ |
- |
|
กระบี่ | ||||||
แหลมไทร- คลองศลาม้า |
2,167 |
10 |
N |
N |
เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล |
หญ้าคาทะเล หญ้าใบมะกรูด หญ้าเงาใบเล็ก หญ้าเงาใบพาย |
ตรัง | ||||||
แหลมไทร |
796 |
10 |
N |
- |
อาจเป็นการเปลี่ยนแปลง ตามฤดูการ |
หญ้ากุยช่ายเข็ม หญ้ากุยช่ายทะเล หญ้าคาทะเล หญ้าเงาใส หญ้าเงาใบเล็ก หญ้าชะเงาเต่า หญ้าชะเงาใบเลื่อย หญ้าชะเงาใบมน หญ้าต้นหอมทะเล หญ้าใบพาย หญ้าใบมะกรูด |
เกาะตะลิบงและใกล้เคียง |
13,773 |
10-48 |
N |
- |
อาจเป็นการเปลี่ยนแปลง ตามฤดูการ |
|
เกาะสุกร |
83 |
5 |
- |
- |
น้ำขุน ตะกอนจากการ เดินเรือเข้าออกของชาว บ้านในพื้นที่ |
|
สตูล | ||||||
บ้านปากบารา |
4 |
25 |
- |
- |
การขุดรอกร่องน้ำในพื้นที่ ทำให้สภาพพื้นทะเล เปลี่ยนไปไม่เหมาะสมต่อ การเจริญของหญ้าทะเล |
หญ้าใมกรูด หญ้ากุยช่ายทะเล หญ้ากุยช่ายเข็ม หญ้าคาทะเล หญ้าต้นหอมทะเล หญ้าชะเงาใบมน หญ้าชะเงาเต่า
|
เกาะลิดี |
170 |
60 |
+++ |
N |
- |
|
เกาะตันหยงอุมา |
787 |
10 |
N |
- |
พื้นทะเลเปลี่ยนแปลง ตามสภาพธรรมชาติ |
หมายเหตุ : *แหล่งหญ้าทะเลใหม่
ตารางสัญลักษณ์สถานภาพและแนวโน้มเที่บนอดีตหญ้าทะเล
ระดับ |
สถานภาพ |
ระดับ |
แนวโน้มเที่ยบกับอดีต |
+++ |
สมบูรณ์มาก, ค่อนข้างสมบูรณ์ |
+ |
สมบูรณ์ขึ้น |
++ |
สมบูรณ์ปานกลาง |
- |
เสื่อมโทรมลง |
- |
เสื่อมโทรม, ค่อนข้างเสื่อมโทรม |
N |
ไม่เปลี่ยนแปลง |
N |
สมบูรณ์ตามธรรมชาติ |
(ดัดแปลงเพิ่มเติมจากฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง)
ระดับความอุดมสมบูรณ์ของหญ้าทะเลใน พ.ศ. 2555 กับ พ.ศ. 2558
เกณฑ์การประเมินพ.ศ. 2555 | การปกคลุม (ร้อยละ) | เกณฑ์การประเมินพ.ศ. 2558 | |
พ.ศ. 2555 | พ.ศ. 2558 | ||
สมบูรณ์ดี | 64.15 | 14.01 | สมบูรณ์ดีมาก |
32.61 | สมบูรณ์ดี | ||
สมบูรณ์ปานกลาง | 26.98 | 20.29 | สมบูรณ์ปานกลาง |
สมบูรณ์น้อย | 9.10 | 30.78 | คงสภาพตามธรรมชาติ |
2.08 | เสื่อมโทรมเพราะ ถูกรบกวน |
หมายเหตุ :
เกณฑ์การประเมิน พ.ศ. 2555
- สมบูรณ์ดี ปกคลุมร้อยละ 51 - 100
- สมบูรณ์ปานกลาง ปกคลุมร้อยละ 26-50
- สมบูรณ์น้อย ปกคลุมน้อยกว่าร้อยละ 25
เกณฑ์การประเมิน พ.ศ. 2558
- สมบูรณ์ดีมาก ปกคลุมมากกว่าร้อยละ 75 - สมบูรณ์ดี ปกคลุมร้อยละ 51-75
- สมบูรณ์ปานกลาง ปกคลุมร้อยละ 26-5 - คงสภาพตามธรรมชาติ ปกคลุมน้อยกว่าร้อยละ 25
- เสื่อมโทรมเพราะถูกรบกวน ปกคลุมน้อยกว่าร้อยละ 25 เพราะถูกรบกวนจากกิจกรรมมนุษย์
สาเหตุความเสื่อมโทรมของทรัพยากรแหล่งหญ้าทะเล
สาเหตุจากธรรมชาติ
- เป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ช่วงปลายฤดูร้อนหญ้าทะเลส่วนเหนือพื้นจะหายไป เหลือแต่รากและส่วนใต้ดิน ส่วนใบจะแตกยอดใหม่ในช่วงหมดมรสุมตะวันออก และเจริญเติบโตเด็มที่ในช่วงปลายฤดูมรสุมตะวันตก
- คลื่นมรสุมรุนแรง ทำให้มีการเคลื่อนย้ายของแนวสันทรายและตะกอนธรรมชาติทับถมแนวหญ้าทะเล
- ผลกระทบจากปรากฏการณ์น้ำทะเลอุณหภูมิสูง เช่น ในปี 2553
สาเหตุจากมนุษย์
- การพัฒนาชายฝั่งทุกรูปแบบที่ทำให้มีตะกอนในน้ำทะเลเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว การสร้างสะพานที่จอดเรือ
- การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม บ้านเรือน และการทำนากุ้ง ทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม
- การทำประมงผิดกฎหมายในพื้นที่หญ้าทะเล เช่น การใช้อวนลากและอวนรุน
กรณีศึกษา
ชุมชนบ้านบางจัน ตำบลหลอยูง จังหวัดพังงา มีจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล หมู่บ้านดังกล่าวไม่เคยมีหญ้าทะเล แต่ชุมชนเขาอยากมี เพราะมันสอดคล้องกับวิถีชีวิตของเขาด้วยโดยส่วนใหญ่หากินทำอวนปูเป็นหลัก หมู่บ้านนี้พื้นทะเลเป็นดินโคลน ทำให้สภาพทรัพยากรในหมู่บ้านนี้ แทบจะไม่มีสัตว์น้ำ เขาต้องแล่นเรือออกไปหาที่หน้าทะเลของหมู่บ้านข้างเคียง ชื่อบ้านเจ้าขรัว ซึ่งมีหญ้าทะเลมาก มีกุ้ง มีปู มากเลย ทำให้ชาวบ้านต้องการมีหญ้าทะเลหน้าหมู่บ้าน เพื่อจะหากินในทะเลหน้าหมู่บ้านได้ ชาวบ้านจึงปลูกหญ้าทะเลเพื่อเป็นแหล่งอาศัยของปู โดยวิธีง่ายๆ คือการทดลองย้ายปลูกหญ้าทะเลแบบเร่งด่วน และปรากฏว่าเกิดความอุดมสมบูรณ์ตามมาจริง มีกุ้ง หอย ปู ปลาเพิ่มขึ้น แต่พอมาเจอสึนามิ ก็ทำให้หญ้าทะเลที่ชาวบ้านปลูกไว้เสียหาย พอสมควรและส่วนหนึ่งก็เกิดจากอวนรุนด้วย (ที่มา : www.thaingo.org)
องค์กรที่เกี่ยวข้องหญ้าทะเล
- คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล
- สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
- กรมอุทยาน สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
- กรมประมง
- สมาคมหยาดฝน
- องค์กรความร่วมมือเพื่อการพื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน
- เครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน
- มูลนิธิรักษ์ไทย
- โครงการความมั่นคงทางด้านอาหารของชุมชนประมงชายฝั่งอ่าวพังงา
- มูลนิธิกองทุนไทย
- หน่วยงานระหว่างประเทศได้แก่ UNDP และ WWF
ที่มา:
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน. 2552. แนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรแหล่งหญ้าทะเล. [ออนไลน์]http://km.dmcr.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=111:2009-05-06-09-26-40&catid=91:2009-02-16-08-36-41&Itemid=28.
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. "รายงานการสำรวจและประเมินสถานภาพและศักยภาพทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง : ปะการังและหญ้าทะเล ปี 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dmcr.go.th/detailLib/2249/. สืบค้น 10 มีนาคม 2561