กฎหมายเกี่ยวกับการพาณิชยนาวี
2.1) พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456
(กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือในน่านน้ำไทยและอาณาเขตต่อเนื่อง)
2.2) พระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481
(การจดทะเบียนเป็นเรือไทย)
2.3) พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494
(การท่าเรือฯ มีอำนาจในการสร้างท่าเรือ โดยใช้อำนาจรัฐมนตรีในการเวนคืนที่ดินซึ่งรวมถึงที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง)
2.4) พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. 2522
(ป้องกันเรือเกิดอุบัติเหตุอันนำมาซึ่งความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมได้)
2.5) พระราชบัญญัติป้องกันการกระทำบางอย่างในการขนส่งสินค้าขาออกทางเรือ พ.ศ. 2511
2.6) พระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ. 2521
(ควบคุมกิจการพาณิชยนาวี)
2.7) พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
(การท่าเรือฯ ใช้อำนาจเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายฉบับนี้)
2.8) พระราชบัญญัติการกักเรือ พ.ศ. 2534
(เพื่อใช้สิทธิเรียกร้องต่อเรือที่ถูกกัก)
2.9) พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534
2.10) พระราชบัญญัติการจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล พ.ศ. 2537
(จำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล รวมถึงสิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดที่เกิดจากการดำเนินงานของเรือ)
2.11) พระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2537
(องค์กรที่มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการขนส่งสินค้าทางเรือ)
2.12) พระราชบัญญัติการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปจากภยันตรายในการเดินเรือ พ.ศ. 2547
(ความเสียหายรวมถึงความเสียหายจากมลภาวะ เฉพาะค่าใช้จ่ายที่ตามหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการพาณิชยนาวีระหว่างประเทศซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปให้นำมาเฉลี่ยได้)
2.13) พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548
(รวมถึงการขนส่งทางน้ำ)
2.14) พระราชบัญญัติความรับผิดทางแพ่งและค่าเสียหายจากเรือโดนกัน พ.ศ. 2548
2.15) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58
2.16) พระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ.2550