สถานการณ์ป่าชายเลน 2504-2547
จากการสำรวจพื้นที่ป่านชายเลนของประเทศไทยในปี 2504 พบว่ามีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 2,299,375 ไร่ หรือร้อยละ 0.72 ของพื้นที่ประเทศ ในระยะ 25 ปีต่อมาพื้นที่ป่าชายเลนได้ลดลงอย่างรวดเร็ว จากการสำรวจเมื่อ พ.ศ.2529 ปรากฏว่ามีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 1,227,674 ไร่ หรือลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง ต่อมาป่าชายเลนยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มอัตราการบุกรุกเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยในปี 2536 พื้นที่ป่าชายเลนคงเหลือเพียง 1,054,266 ไร่ หรือร้อยละ 0.33 ของพื้นที่ประเทศ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่ถูกทำลาย 1,245,109 ไร่ หรือร้อยละ 54.15 เมื่อเทียบกับปี 2504
ในช่วงหลังจากปี 2536 สถานะการณ์ป่าชายเลนเริ่มดีขึ้น จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.2539 ปรากฏว่ามีพื้นที่ป่าชายเลนเหลือเพียงประมาณ 1,047,390 ไร่ พื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีมากทางภาคใต้ประมาณ 934,220 ไร่ หรือ 89.2 เปอร์เซ็นต์
ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นเนื่องจากได้มีนโยบายการฟื้นฟูป่าชายเลน เช่น การปลูกป่าทดแทนและการลดการบุกรุกทำลายป่ามีผลทำให้ในปี 2543 พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น 2,528 ตารางกิโลเมตร และเพิ่มเป็น 2,785 ตารางกิโลเมตร ในปี 2547 โดยมีพื้นที่เพิ่มขึ้นมากกว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (ปี 2545–2549) ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าควรมีป่าชายเลนทั้งประเทศประมาณ 2,000 ตารางกิโลเมตร (สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2550. ตารางเนื้อที่ป่าไม้จากการแปลภาพดาวเทียม จำแนกตามชนิดของป่า ภูมิภาค และจังหวัดในปี 2547. ตารางสถิติจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ. แหล่งที่มา: http:// www.nso.go.th, 29 สิงหาคม 2550.)
พื้นที่ป่าชายเลนที่ลดจำนวนลงมีสาเหตุจากการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ทั้งโดยการบุกรุกและลักลอบตัดไม้ รวมทั้งการเข้าทำประโยชน์โดยได้รับอนุญาตเพื่อประกอบกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ
1) การทำเหมืองแร่
2) การสร้างท่าเทียบเรือ
3) การสร้างแหล่งชุมชน และก่อสร้างสาธารณูปโภค
4) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
5) การจัดเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวชายทะเล
หากเทียบอัตราการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนรายจังหวัดในช่วงปี 2518 - 2536 พบว่าจังหวัดชลบุรีมีอัตราลดลงเฉลี่ยต่อปีมากที่สุดถึงร้อยละ 5.42 เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
ตารางพื้นที่ป่าชายเลนของประเทศไทย (Mangrove Forest Area) ในปี พ.ศ. 2504 – 2547
ปี พ.ศ. |
พื้นที่ป่าชายเลน (ไร่) |
||
ตร.กม. |
ไร่ |
ร้อยละของพื้นที่ประเทศ |
|
2504 |
3,679 |
2,299,375 |
0.72 |
2518 |
3,127 |
1,954,375 |
0.61 |
2522 |
2,873 |
1,795,625 |
0.56 |
2529 |
1,964 |
1,227,675 |
0.38 |
2534 |
1,736 |
1,085,050 |
0.34 |
2536 |
1,687 |
1,054,266 |
0.33 |
2539 |
1,676 |
1,047,390 |
0.33 |
2541 |
1,676 |
1,047,244 |
0.33 |
2543 |
2,452 |
1,532,400 |
0.48 |
2547 |
2,658 |
1,661,306 |
0.52 |
ที่มา : ทะเลไทย. การแพร่กระจายป่าชายเลนในประเทศไทย. ดัดแปลงจาก past.talaythai.com/Education/42620260e/42620260e.php3
ตารางอัตราลดลงของพื้นที่ป่าชายเลน ระหว่างปี 2504 - 2539
ช่วงระยะเวลา | อัตราลดลง (ไร่) | อัตราลดลงเฉลี่ยรายปี (ไร่) |
2504 - 2518 (14 ปี) | 345,000 | 24,643 |
2518 - 2522 (4 ปี) | 158,750 | 39,688 |
2522 - 2529 (7 ปี) | 567,950 | 81,136 |
2529 - 2534 (5 ปี) | 142,625 | 28,525 |
2534 - 2536 (2 ปี) | 30,784 | 15,392 |
2536 - 2539 (3 ปี) | 6,876 | 2,292 |
2504 - 2539 (35 ปี) | 1,251,985 | 35,771 |
ที่มา : ทะเลไทย. การแพร่กระจายป่าชายเลนในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก past.talaythai.com/Education/42620260e/42620260e.php3
ตารางพื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทย ปี 2543 และ 2552
จังหวัด |
ฝั่งทะเล |
พื้นที่ป่าชายเลน (ไร่) |
เปลี่ยนแปลง(ไร่) |
%เปลี่ยนแปลง |
|
2543 | 2552 | ||||
ตราด | อ่าวไทย | 60,081.24 | 61,974.19 | 1,892.95 | 3.15 |
จันทบุรี | อ่าวไทย | 77,456.23 | 75,428.91 | -2,027.32 | -2.62 |
ระยอง | อ่าวไทย | 12,279.54 | 11,283.57 | -995.97 | -8.11 |
ชลบุรี | อ่าวไทย | 4,861.90 | 5,554.41 | 692.51 | 14.24 |
ฉะเชิงเทรา | อ่าวไทย | 10,476.13 | 7,309.34 | -3,166.79 | -30.23 |
สมุทรปราการ | อ่าวไทย | 6,936.48 | 12,524.17 | 5,587.69 | 80.56 |
กรุงเทพมหานคร | อ่าวไทย | 4,138.30 | 3,351.79 | -786.51 | -19.01 |
สมุทรสาตร | อ่าวไทย | 18,590.06 | 25,257.22 | 6,667.16 | 35.86 |
สมุทรสงคราม | อ่าวไทย | 14,773.72 | 14,272.75 | -500.97 | -3.39 |
เพชรบุรี | อ่าวไทย | 20,463.39 | 18,568.75 | -1,894.64 | -9.26 |
ประจวบคีรีขันธ์ | อ่าวไทย | 3,121.88 | 1,708.58 | -1,413.30 | -45.27 |
ชุมพร | อ่าวไทย | 45,291.80 | 32,240.11 | -13,051.69 | -28.82 |
สุราษฎร์ธานี | อ่าวไทย | 46,980.59 | 46,574.20 | -406.39 | -0.87 |
นครศรีธรรมราช | อ่าวไทย | 71,022.09 | 73,549.60 | 2,527.51 | 3.56 |
พัทลุง | อ่าวไทย | 698.60 | 399.98 | -298.62 | -42.75 |
สงขลา | อ่าวไทย | 21,910.29 | 7,991.95 | -13,918.34 | -63.52 |
ปัตตานี | อ่าวไทย | 26,990.47 | 21,993.68 | -4,996.79 | -18.51 |
นราธิวาส | อ่าวไทย | 184.49 | 184.49 | 100.00 | |
รวมฝั่งอ่าวไทย | 446,072.71 | 420,167.69 | -25,905.02 | -5.81 | |
ระนอง | อันดามัน | 170,334.80 | 154,448.34 | -15,886.46 | -9.33 |
พังงา | อันดามัน | 263,983.37 | 275,316.68 | 11,333.31 | 4.29 |
ภูเก็ต | อันดามัน | 11,848.72 | 12,327.42 | 478.70 | 4.04 |
กระบี่ | อันดามัน | 221,863.40 | 218,185.74 | -3,677.66 | -1.66 |
ตรัง | อันดามัน | 228,191.01 | 220,975.74 | -7,215.27 | -3.16 |
สตูล | อันดามัน | 237,399.80 | 223,638.95 | -13,760.85 | -5.80 |
รวมฝั่งอันดามัน | 1,133,621.10 | 1,104,892.87 | -28,728.23 | -2.53 | |
รวมในประเทศไทยสองฝั่งทะเล | 1,579,693.81 | 1,525,060.56 | -54,633.25 | -3.46 |
ที่มา : ดัดแปลงจากตารางแสดงการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลนตารางแสดงการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลน. ฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเล. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. http://www.dmcr.go.th/marinecenter/mangrove/mangrove_report.html
ที่มา
กลุ่มระบบงานและฐานข้อมูล กองการอนุญาต. กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. เข้าถึงได้จาก http://www.forest.go.th/permission/mangrove.html.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. เข้าถึงได้จาก http://www.deqp.go.th/coastline/plan/.
มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง สถานภาพปัจจุบันของป่าชายเลน และแผนการจัดการป่าชายเลนของประเทศ. เข้าถึงได้จาก http://www.ryt9.com/s/cabt/203716/