.

สื่อออนไลน์

Search this site

ลงทะเบียน

MKH Update

สถิติการเข้าชม



พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระปฏิบัติต่ออากาศยานที่กระทำผิดกฎหมาย พ.ศ. 2553


ฉบับเต็ม  คลิกที่นี่


         มาตรา 10  เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจดังต่อไปนี้

         (1) สั่งให้อากาศยานบินตามเส้นทางบินที่กำหนดในแผนการบิน หรือบินไปยังเขตแดนหรือบินให้พ้นเขตห้าม เขตกำกัดการบินหรือเขตอันตราย หรือบินไปลงยังสนามบิน หรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน หรือสั่งให้อากาศยานกระทำประการอื่นตามที่จำเป็น

         (2) สกัดกั้นอากาศยานตามมาตรา 11

         (3) ทำลายอากาศยานจากภาคพื้นตามมาตรา 13


         มาตรา 11  ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารนำอากาศยานขึ้นสกัดกั้นอากาศยานใดได้ เมื่อมีเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้

         (1) ไม่สามารถตรวจและพิสูจน์ฝ่ายอากาศยานนั้นจากภาคพื้นได้

         (2) เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่า อากาศยานนั้นฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ กฎหมายอื่น หรืออนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ เช่น

             (ก) การปฏิบัติตามแผนการบินและตามกฎจราจรทางอากาศ เป็นต้นว่า การใช้สถานที่ขึ้นลงของอากาศยาน การบินตามเส้นทางบิน การบินเข้าหรือผ่านเขตห้าม เขตกำกัดการบินหรือเขตอันตราย

             (ข) การบินเข้ามาในหรือออกนอกราชอาณาจักร หรือบินขึ้นลงในราชอาณาจักรหรือบินผ่านราชอาณาจักร

             (ค) การบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน หรือการทิ้งร่มอากาศ

             (ง) การพายุทธภัณฑ์ไปกับอากาศยาน หรือการใช้เครื่องถ่ายภาพหรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลจากอากาศยาน

         (3) เมื่ออากาศยานนั้นมีการกระทำอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรืออาจเป็นภัยต่อสาธารณะ

         ในการนำอากาศยานขึ้นสกัดกั้นตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารใช้วิธีติดต่อสื่อสารทางวิทยุหรือกรรมวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ หากไม่สามารถใช้วิธีดังกล่าวได้ ให้ใช้ทัศนสัญญาณตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมร่วมกันกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

         กระทรวงกลาโหมอาจกำหนดให้การกระทำใดของอากาศยานเป็นการกระทำอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรืออาจเป็นภัยต่อสาธารณะได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา


          มาตรา 13 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารนำอากาศยานขึ้นสกัดกั้นแล้ว แต่ไม่อาจสกัดกั้นอากาศยานนั้นได้ หรือไม่อาจนำอากาศยานขึ้นสกัดกั้นได้ทัน หากอากาศยานนั้นมีการกระทำอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรืออาจเป็นภัยต่อสาธารณะ ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจใช้อาวุธจากภาคพื้นสู่อากาศเพื่อทำลายอากาศยานนั้นได้ โดยให้นำความในมาตรา 12 (2) มาใช้บังคับ


          มาตรา 15  ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจปฏิบัติเกี่ยวกับอากาศยานและผู้ควบคุมอากาศยานและบุคคลอื่นที่อยู่ในอากาศยาน ที่กระทำความผิดหรือสงสัยว่าจะกระทำความผิด ดังต่อไปนี้

          (1) ตรวจ ค้น หรือกักอากาศยาน

          (2) ยึดอากาศยานและสิ่งของซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือสิ่งของที่จะใช้หรือได้ใช้ในการกระทำความผิด

          (3) จับ ควบคุม หรือสืบสวนสอบสวนเบื้องต้น ผู้ควบคุมอากาศยานและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง

          (4) สั่งผู้ควบคุมอากาศยานหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องให้เคลื่อนย้ายอากาศยาน หรือให้กระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร

          การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติร่วมกันกำหนด


          มาตรา 26  ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารที่ให้เคลื่อนย้ายอากาศยานหรือกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 15 (4) โดยไม่มีเหตุอันสมควรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ควบคุมอากาศยาน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ





bottom

top

Latest News

Popular


bottom